5.Phylum Annilida


      มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) ลำตัวกลมยาว เป็นข้อปล้องทั้งภายในและภายนอก (Metameric, True segmentation) โดยมีผนังเซปตัม (Septum) กั้นภายใน มีรยางค์ยื่นออกจากร่างกาย เช่น ไส้เดือนดินมี setae (เดือย) แม่เพรียงมี parapodium มีช่องว่างในลำตัวแบบแท้จริง (True coelom) มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry มีผิวหนังเปียกชื้น มีคิวติเคิล (Cuticle) ปกคลุม มีต่อมสร้างเมือก ทำให้ตัวลื่น และแลกเปลี่ยนก๊าซทางผิวหนัง เป็น พวกแรกที่มีระบบหมุนเวียนเลือดและเป็นแบบวงจรปิด (Close Circulatory System) มีหัวใจเทียม (Psudoheart) เลือดมีสีแดง โดยมีสารฮีโมโกลบินอยู่ในน้ำเลือด เม็ดเลือดไม่มีสี มีรูปร่างคล้ายอมีบา มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) มีระบบประสาทเจริญดี มีวงแหวนประสาทบริเวณคอหอย ด้านบนมีปมประสาท 2 พู ทำหน้าที่เป็นสมอง มีเส้นประสาทใหญ่อยู่ทางด้านท้องยาวตลอดตัว (Ventral nerve cord) ระบบขับถ่าย มีอวัยวะเฉพาะ ทำหน้าที่ขับถ่าย เรียก เนฟริเดียม (Nephridium) ประกอบด้วยท่อขดไปมา ปลายเป็นปากแตรเปิด ส่วนมากมี 2 เพศในตัวเดียว (Monoecious) ยกเว้นพวกแม่เพรียงและหนอนทะเล (เป็นพวกหนอนตัวกลม)



6.Phylum Mollusca


      มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) มีช่องว่างในลำตัวแบบแท้จริง (True coelom) มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry ลำตัวนิ่ม มีเยื่อบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเรียกว่า แมนเทิล (Mantle) สามารถหลั่งสารออกมาเป็นเปลือกแข็ง(Shell)ห่อหุ้มลำตัวได้ ส่วนของ ร่างกายประกอบด้วยหัวทางด้านหน้า กล้ามเนื้อลำตัวทางด้านบน (Visceral mass) และมีกล้ามเนื้อที่ท้องใช้แทนขา (Foot) ใช้ในการคลานหรือเปลี่ยนแปลงเป็นหนวดช่วยจับเหยื่อ มีระบบหมุนเวียนเลือดและเป็นแบบวงจรเปิด (Open Circulatory System) มีHaemoceol เป็นช่องว่างให้เลือดไหลผ่านเซลล์ได้ ส่วนใหญ่เลือดมีสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสี เพราะในน้ำเลือดมีสาร Haemocyanin อยู่ บางชนิดมีสีแดงเพราะมีสาร Haemoglobin อยู่ หัวใจมี3ห้อง บน1ห้อง ล่าง2ห้อง ระบบการหายใจ ถ้าอยู่บนบกใช้ปอดหรือแมนเทิลที่ผิวหนัง ถ้าอยู่ในน้ำใช้เหงือก มีอวัยวะขับถ่ายคือไต (Kidney) ระบบประสาทมีปมประสาท 3 คู่ มีเส้นประสาทเชื่อมกันทั้งทางยาวและทางขวาง มีอวัยวะรับสัมผัสในการดมกลิ่น รับรส มีอวัยวะรับความรู้สึกในการทรงตัวเรียก Statocyst มีเพศแยกกัน มีการสืบพันธุ์โดยการปฏิสนธิ การเคลื่อนที่อาศัยระบบน้ำผ่าน โดยดูดเข้าแล้วพ่นออกที่ท่อ Siphon เช่น หมึก หอยเม่น หอยมือเสือ



7.Phylum Echinodermata


       มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) มีช่องว่างในลำตัวขนาดใหญ่ บุด้วยซีเลีย ไม่มีปล้อง ขณะเป็นตัวอ่อนมีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry เมื่อโตเต็มที่จะมีสมมาตรแบบ Radial symmetry มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) มีปากอยู่ทางด้านท้อง ผิวลำตัวมีลักษณะขรุขระ ภายในมีโครงร่างแข็ง อาจจะเป็นสารประเภทหินปูน ลำตัวแบ่งเป็นแฉก4ถึง5แฉก หรือทวีคูณของ5 ไม่มีส่วนหัวชัดเจน ระบบหมุนเวียนเลือดแยกเป็นแฉก ๆ คล้ายรัศมี ไม่มีเลือด แต่มีของเหลวคล้ายน้ำเหลือง (Coelomic fluid) ทำหน้าที่ไหลเวียนโดยการโบกของซีเลียภายในเยื่อบุผิวในช่องลำตัว ระบบประสาทมีประสาทวงแหวน (Nerve ring) รอบ ๆ ปากและมีประสาทแยกออกไปตามแฉก เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเป็นร่างแห จะกระจายอยู่ทั่วตัว ระบบขับถ่ายไม่มีไต มีเซลล์อมีโบไซต์ ในของเหลวในช่องลำตัว ทำหน้าที่กินของเสีย แล้วขับออกไปข้างนอก การเคลื่อนที่ใช้ระบบหมุนเวียนนำส่งไปยังท่อขา (Tube feet) ที่ยืดหดได้ตามแรงดันน้ำ การแลกเปลี่ยนก๊าซ ใช้เหงือกที่เป็นถุงบาง ๆ ยกเว้นปลิงทะเลที่มีอวัยวะคล้ายต้นไม้อยู่ภายในตัวติดกับทวารหนัก มีอวัยวะแยกเพศกันแต่ละตัว ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย สืบพันธุ์แบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ เช่น ดาวทะเล ปลิงทะเล

8.Phylum Arthropoda
     มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) มีช่องว่างในลำตัวแบบแท้จริง (True coelom) ลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆชัดเจน คือ หัว (Head), อก(Thorax) และท้อง (Abdomen) หรือหัวเชื่อมกับอก (Cephalothorax)เช่น กุ้ง หรืออกเชื่อมกับท้อง มีรยางค์หรือขาต่อกันเป็นข้อ ๆ (Jointed-leg animal) ร่างกายมีเปลือกแข็งหุ้มภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคติน (Chitin) ซึ่งสร้างโดยเซลล์ผิว (Epidermis) การหายใจ พวกที่อาศัยในน้ำใช้เหงือก (Gill) อาศัยอยู่บนบกใช้ท่อลม (Trachea) เช่นแมลง หรือแผงปอด (Book lung) เช่น แมงมุม อวัยวะที่ใช้กำจัดของเสียคือ ต่อมเขียว (Green gland) หรือ Coxal gland เช่น กุ้ง และท่อมัลฟีเกียน (Mulpigian tubules) ในพวกแมลงต่าง ๆ ระบบประสาทมีเส้นประสาทด้านท้อง 1 คู่ (Ventral nerve cord) เห็นแยกกันชัดเจน และมีสมอง (Brain) มีระบบหมุนเวียนเลือดและเป็นแบบวงจรเปิด (Open Circulatory System) มีHaemoceol เป็นช่องว่างให้เลือดไหลผ่านเซลล์ได้ ส่วนใหญ่เลือดมีสีฟ้าอ่อนหรือสีน้ำเงิน เพราะในน้ำเลือดมีสาร Haemocyanin (เป็นสารประเภทคอบเปอร์) อยู่ การเจริญเติบโต มีการลอกคราบ (Molting) เป็นระยะ ๆ จนถึงตัวโตเต็มวัย บางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อการเจริญเติบโต (Metamorphosis) บางพวกมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศพิเศษ (Parthenogensis) โดยจะมีตัวอ่อนที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิเกิดขึ้น เช่น มด ผึ้ง ต่อ อวัยวะรับสัมผัสมีความเจริญดี มีหนวดและขนไว้รับสัมผัส สารเคมีต่าง ๆ เช่น สารฟีโรโมนจากตัวผู้ มีตาประกอบ (Compound eye) รับแสงและอากาศ

สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น6 Class ได้แก่
1. Class Crusatacea

ส่วนมากจะอยู่ในน้ำ มีตาประกอบ มีหนวด 2คู่ มีขา 5คู่ หรือมากกว่า รยางค์เป็น2แขนง ส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) มีส่วนท้องเรียก แอบโดเมน (Abdomen) ส่วนมากหายใจด้วยเหงือก มีอวัยวะขับถ่ายคือ ต่อมเขียว (Green gland) สัตว์ในคลาสนี้เช่น กุ้งน้ำจืด กุ้งทะเล ปู กั้ง ไรน้ำ ฯลฯ
2. Class Merostoma

มีส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) มีขา 5 คู่ ไม่มีหนวด ได้แก่ แมงดาทะเล แมงดาถ้วย แมงดาจาน
3. Class Archnida

ส่วนมากจะอยู่บนบก สัตว์ในคลาสนี้ไม่มีหนวด มีขา4 คู่ ส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) และส่วนท้องแอบโดเมน (Abdomen) แยกออกหายใจทางช่องลม (Trachea) หรือแผงปอด (Book lung) หรือทั้งสองอย่าง สัตว์ในคลาสนี้แยกเพศกัน ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง บึ้ง เห็บ ฯลฯ
4. Class Insecta

เป็นคลาสที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด ประมาณ 1ล้าน 5 แสนชนิด ได้แก่พวกแมลงต่าง ๆ สัตว์ในคลาสนี้มีหนวด 1 คู่ มีขา 3 คู่ ไม่มีปีกหรือมีปีก 1-2 คู่ มีตาประกอบ มีส่วนของลำตัวแยกออกชัดเจนเป็น 3 ส่วน มีท่อลมเป็นอวัยวะหายใจ มีท่อมัลฟีเกียน (Mulpigian tubules) ไว้ขับถ่าย มีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็น 4แบบ ได้แก่ ตัวสามง่าม, ยุง, แมลงวัน, ผีเสื้อ, แมลงปอ, แมลงสาบ, ปลวก, มด, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน ฯลฯ
5. Class Diplopoda สัตว์ในคลาสนี้เรียกว่า มิลลิบิด มีขาจำนวนมาก ลำตัวค่อนข้างกลม ยาว ประกอบด้วยส่วนหัว และส่วนอกสั้น ๆ ประกอบด้วยปล้องประมาณ 25 ถึง กว่า100 ปล้อง ไม่มีต่อมพิษ มีหนวด 1 คู่ มีขาปล้องละ 2คู่ มีตาเดี่ยว ได้แก่ กิ้งกือ กระสุนพระอินทร์
6. Class Chilopoda สัตว์ในคลาสนี้เรียกว่า เซนติบิด มีขาจำนวนมาก ประมาณปล้องละ 1 คู่ ลำตัวประกอบด้วยส่วนหัว และลำตัวยาวของอกติดกับท้อง มีประมาณ 15 ถึง 173ปล้อง และปล้องที่หัวมีรยางค์ที่มีพิษอยู่ 1 คู่ มีหนวด 1 คู่ มีตาเดี่ยว เรียกว่า โอเซลลัส (Ocelles) หายใจทางท่อลม ได้แก่ ตะขาบ

9.Phylum Chordata

           มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animal) มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) มีช่องว่างในลำตัวแบบแท้จริง (True coelom)
มีระบบหมุนเวียนเลือดและเป็นแบบวงจรปิด (Close Circulatory System) มี Notochord เป็นแกนพยุงร่างกายซึ่งอาจจะมีในระยะตัวอ่อนหรือตลอดชีวิตก็ได้ แล้วมีกระดูกสันหลังมาแทนที่คือ มีไขสันหลัง (Nerve cord หรือ Spinal cord) ซึ่งเป็นเส้นประสาทอยู่ในหลอดกลวงของกระดูกสันหลัง ดังนั้นไฟลัมนี้จึงเป็นพวก Endoskeloton มีโครงร่างแข็งอยู่ภายใน มีระบบประสาทอยู่ด้านหลัง (Dorsal) อยู่เหนือทางเดินอาหาร มีช่องเหงือก (Gill slit) เป็นคู่ ๆ อยู่บริเวณคอหอย จะเห็นได้ชัดในระยะเอมบริโอ ในระยะต่อมาจะมีส่วนที่มาปิดช่องเหงือก ยกเว้นพวกปลา จะยังคงเห็นช่องเหงือกอยู่ แต่ปลาส่วนใหญ่ก็มีแผ่นแก้มมาปิดแต่ก็ยังคงมีช่องเหงือกอยู่ มีหัวใจอยู่ทางด้านท้อง (Ventral)

สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่
1. พวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เรียกว่า Protochordata
1.1 Sub-Phylum Urochordata

มีลักษณะคือ ตัวอ่อนมี Notochord เป็นแกนของร่างกายอยู่บริเวณหาง และมีช่องเหงือก เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย ส่วนหางจะหลุดไป จึงไม่มี Notochord เหลืออยู่ ลักษณะที่สำคัญคือมีปลอกหุ้มอยู่รอบตัวเป็นสารจำพวกเซลลูโลส ได้แก่เพรียงลอย เพรียงหัวหอม เพรียงลาย
1.2 Sub-Phylum Cephalochordata

สัตว์จำพวกนี้มี Notochord ยาวตลอดลำตัว และยาวเลยไปถึงหัว และจะมีอยู่ตลอดชีวิต ได้แก่ แอมฟิออกซัส (Amphioxus)
2. พวกที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ Sub-Phylum Vetebrataมีลักษณะสำคัญดังนี้
เป็นสัตว์ชั้นสูงมีจำนวนมาก มี Notochord ในระยะเอมบริโอ ต่อมามีกระดูกสันหลังมาแทนที่ (ยกเว้นปลาปากกลม) มีรยางค์ 2คู่(ยกเว้นปลาปากกลม) มีเม็ดเลือดแดง มีช่องเหงือกบริเวณคอหอย ในระยะตัวอ่อนแต่เมื่เจริญเติบโตขึ้นช่องเหงือกจะปิด และมีปอดขึ้นมาแทน

สามารถแบ่งได้ 7 Class ดังนี้
1. Class Cyclostomata

หรือ Class Agnatha ได้แก่ ปลาปากกลม พวกนี้ไม่มีขากรรไกร ลำตัวยาวคล้ายปลาไหล ขอบบนของปากและปลาลิ้นมีฟันเล็ก ๆ แหลมคมมากมาย ลำตัวนิ่ม ไม่มีเกล็ด ไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีโนโตคอร์ดปรากฏอยู่ตลอดแม้ในระยะตัวเต็มวัย มีช่องเหงือก 7คู่ สำหรับหายใจ
2. Class Chondricthyes

ได้แก่ ปลากระดูกอ่อนทั้งหลาย มีช่องเหงือกเห็นชัดเจนจากภายนอก มีครีบคู่หรือครีบเดี่ยว มีเกล็ดลักษณะคล้ายจานยื่นออกมา ไม่มีกระเพาะลม มีปากอยู่ด้านท้อง มีการปฏิสนธิภายใน เป็นสัตว์เลือดเย็นเช่น ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาโรนัน ปลากระต่าย ปลาฉนาก
3. Class Osteicthyes

ด้แก่ปลากระดูกแข็งทั้งหลาย มีแผ่นแก้มปิดช่องเหงือกเอาไว้ มีเกล็ดบาง ๆ เรียงเหลื่อมกันคล้ายแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา กระดูกภายในเป็นกระดูกแข็ง มีกระเพาะลม ปากอยู่ปลายสุดทางหัว ส่วนใหญ่ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เป็นสัตว์เลือดเย็น มีหัวใจ 2 ห้อง ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาทู ปลาตะเพียน ม้าน้ำ ฯลฯ
4. Class Amphibia

ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มี 4 ขา มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บ ตัว อ่อนอยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ตัวเต็มวัยอยู่บนบกหายใจด้วยปอด มีหัวใจ 3 ห้อง ออกไข่ในน้ำ ผิวหนังไม่มีเกล็ด ผิวหนังเปียกชื้น มีต่อมเมือก ผสมพันธุ์ภายนอก มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อการเจริญเติบโตเป็นสัตว์เลือดเย็น ได้แก่ คางคก เขียด อึ่งอ่าง ปาด กบ งูดิน ซาลาแมนเดอร์
5. Class Reptilia

ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ในคลาสนี้เป็นสัตว์บก หรือวางไข่บนบก มี 4 ขา ปลายนิ้วมีเล็บ ผิวหนังมีเกล็ดแห้ง หายใจด้วยปอด มีอายุยืน มีหัวใจ 4ห้อง เป็นสัตว์เลือดเย็น มีวิวัฒนาการคือ มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ไข่มีเปลือกแข็งและเหนียว มีถุงแอลเลนทอยส์ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซขณะเจริญเติบโตในไข่ เช่น เต่า จระเข้ ตุ๊กแก จิ้งเหลน จิ้งจก งู กิ้งก่า ฯลฯ
6. Class Avis

ได้แก่ สัตว์ปีก เป็นสัตว์เลือดอุ่น ลำตัวมีขน (Feather) ปกคลุม ขามี 2ข้าง ปลานิ้วมีเล็บ ขาหน้าเปลี่ยนแปลงเป็นปีก กระดูกบางเป็นโพรง จึงมีน้ำหนักตัวเบา มีถุงลม () แทรกไปตามช่องว่างของลำตัว และตามโพรง ซึ่งทำให้มีอากาศมากพอที่จะหมุนเวียนใช้หายใจเวลาบิน มี หัวใจ 4 ห้อง ไข่มีเปลือก แข็งหุ้ม มีปริมาณไข่แดงมาก ไม่มีกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีต่อมเหงื่อ ไม่มีต่อมน้ำนม ปฏิสนธิภายใน ตัวเมียมีรังไข่ข้างเดียว เส้นประสาทสมองมี 12 คู่ เช่น นกประเภทต่าง ๆ ทั้งที่บินได้และบินไม่ได้
7. Class Mammnlia

ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราเรียกสัตว์พวกนี้ว่า แมมมอล (Mammal) เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (Hair) คลุมตัว มี 4 ขา มีต่อมเหงื่อ และต่อมน้ำนม มีกระดูกคอ 7ข้อ มีฟันฝังในขากรรไกร มีกล่องเสียง มีกระบังลม หายใจด้วยปอด หัวใจมี 4 ห้อง เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียส ลูกอ่อนเจริญภายในมดลูก สมองส่วนหน้าเจริญดี ได้แก่
-ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด ออกลูกเป็นไข่
-จิงโจ้ มีถุงหน้าท้อง
-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ที่ตัวอ่อนมีรก (Placenta) เช่น ลิงกัง ลิงแสม ลิงชิมแปนซี ชะนี เสือ แมว สุนัข สุกร สิงโต หมาใน หมี พังพอน โค กระบือ ช้าง ม้า มนุษย์ หนู ค้างคาว นางอาย ปลาวาฬ โลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล ฯลฯ


                                                                       <<<อาณาจักรสัตว์ (หน้า1) อาณาจักรมอเนอรา >>>

ที่มา:www.trueplookpanya.com/

ที่มาภาพ: http://chailan2008.ueuo.com/big39.html
             anrsi.rmutsv.ac.th
             phowiset.igetweb.com
             atcloud.com50011111014g11.blogspot.com
             israel.exteen.com
             okanation.net
             marinerthai.com
             writer.dek.d.com/Toin_Lina/write…pter%3D1
             ill.mahidol.ac.th
             variety.konmun.com
             feeding-fish.blogspot.com
             vcharkarn.com
             fable-108.blogspot.com
            www4.msu.ac.th