จัดหมวดหมู่ในสิ่งมีชีวิต
1) ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต
  1.ลักษณะภายนอก โครงสร้างภายในร่างกาย เป็นลักษณะการแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ ต้องใช้ลักษณะอื่นประกอบ     ลักษณะโครงสร้างแบ่งเป็น 2 ชนิด                                                                                                                           1.ลักษณะโครงสร้างที่ต่างกัน มีจุดกำเนิดต่างกัน มีหน้าที่อย่างเดียวกัน เรียกว่า แอแนโลกัส ออร์แกน (analogous organ) เช่น ปีกนก กับ ปีกผีเสื้อ                                                                                                                                                2.ลักษณะอวัยวะที่รากฐานต้นกำเนิดเหมือนกัน แต่อาจทำหน้าที่แตกต่างกัน หรือเหมือนกัน เรียกว่า ฮอมอโลกัส ออร์แกน (Homologous organ) เช่น ขาหน้า ม้า วัว ควาย


  2.แบบแผนการเจริญเติบโต และโครงสร้างใดที่เกิดในระยะตัวอ่อน ถ้าตัวอ่อนในสิ่งมีชีวิตใดมีลักษณะคล้ายคลึงกันย่อมมีความสัมพันธ์ในสายวิวัฒนาการ


  3.ซากดึกดำบรรพ์ อาศัยหลักของวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตใดมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันย่อมมีซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินต่างๆคล้ายคลึงกัน และ อาจทำให้ทราบบรรพบุรุษของสัตว์ชนิดนั้นด้วย เช่น อาร์คีออฟเทอริกซ์ บรรพบุรุษของนกโบราณ ทำให้ทราบว่านกมีวิวัฒนาการจากสัตว์เลื้อยคลาน


  4.โครงสร้างเซลล์และออร์แกเนลล์ เป็นการศึกษาในระดับเซลล์ และ ส่วนประกอบของเซลล์ที่ต่างกันในแต่ละสิ่งมีชีวิต


  5.สรีรวิทยา และ การสังเคราะห์สารเคมี ระบบสรรีระของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกว่าสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายน้อยกว่า เช่น ฮอร์โมนคนกับลิงจะคล้ายคลึงมากกว่า ฮฮร์โมนคนกับแกะ


  6.ลักษณะทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงกันย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน เช่น ลักษณะจีนกับจำนวนโครโมโซม


2) ลำดับขั้นในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
ลำดับขั้นในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต (Taxonomic category) มีการจัดลำดับตั้งแต่ใหญ่สุดไปเล็กสุดดังนี้
                อาณาจักร (Kingdom)
                        ไฟลัม (Phylum) ในพืชมักใช้ดิวิชัน (Division)
                                                ชั้น (Class)
                                                อันดับ (Order)
                                                            วงศ์ (Family)
                                                                        สกุล (Genus)
                                                                                    สปีชีส์ (Species)
                แต่ละชั้นอาจมีระดับในการแบ่งย่อยๆ แทรกอยู่อีกก็ได้ โดยใช้คำว่า ซับ (Sub) แทรกอยู่ด้านล่าง เช่น ซับคลาส ซึ่งเล็กกว่าคลาส แต่ใหญ่กว่าออร์เดอร์ หรือ คำว่า ซุปเปอร์ (Super) แทรกอยู่ด้านบน เช่น ซุปเปอร์ออเดอร์ ใหญ่กว่าออร์เดอร์ แต่เล็กกว่า คลาส กับ ซับคลาส
                ตัวอย่างการจำแนกชั้นของคน

  Kingdom  Animalia
                Phylum  Chrodata
                                Subphylum  Vertebrata
                                                Class  Mammalia
                                                Subclass  Theria
                                                                Order  Primate
                                                                                Superfamily  Homonidea
                                                                                                Family  Homonidae
                                                                                                                Genus  Homo
                                                                                                                         Species  sapiens                           

 ที่มา:หนังสือ mini ชีววิทยา สำนักพิมพ์ พศ.พัฒนา

ที่มาภาพ : oknation.net
            http://www.biogang.com/bio104.html
            premiumtv10.affordableinternetthostingforyou.com
            healthinfoispower.wordpress.com