สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีจำนวนอยู่มากมาย แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน มีทั้งที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ในน้ำ น้ำเค็ม ในอากาศ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้รู้จักสิ่งมีชีวิตประมาณ 2 ล้านชนิด  นอกจากนี้ยังมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ อยู่เสมอจึงต้องจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ คือ วิชาอนุกรมวิธาน (Taxonomy) มีส่วนประกอบสำคัญสองส่วน คือ
        1.การจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ (Classification)
        2.การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต (Nomenclature)   
   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ความหลากหลายของสปีชีส์ (Specific diversity) และ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันยังมีความแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ซึ่งเป็นความแตกต่างทางพันธุกรรม เรียกว่า ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) ซึ่งจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ของบริเวณต่างๆ กัน ของโลก เรียกว่า ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological diversity) ซึ่งความหลากหลายที่ได้กล่าวมาทั้งสามประการเป็นองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological diversity)

   ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก เพราะเป็นประเทศในเขตร้อนซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ นักวิชาการทั้งหลายเชื่อว่า บริเวณป่าเขตร้อนชื้นซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ทั้งพืชพรรณ สัตว์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตไม่น้อยกว่า 3 ล้านชนิด อาจกล่าวได้ว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเรื่องอัศจรรย์เป็นอย่างมาก

ที่มา : หนังสือ mini ชีววิทยา สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา                                                                                                                   ที่มาภาพ : local.brooking.k12.sd.us/biolog…here.htm
                   school.net.th