การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ได้สูญหายไป หรือ เปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือลักษณะของสปีชีส์เดิม
                เกิดจากสาเหตุสำคัญคือ
                1.การสูญเสียพื้นที่ป่ารวมถึงพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืชในป่า สัตว์ป่า รวมถึงการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และของดินด้วย ในปัจจุบันเชื่อกันว่าพื้นที่ป่าของไทยเหลือไม่ถึงร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ เป็นผลทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ รวมถึงสัตว์ป่าของไทยลดลงเป็นอย่างมาก
                2.การเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้เราใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำกัด จึงเป็นผลทำให้ทรัพยากรต่างๆ ของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งทรัพยากรความหลากหลายก็ลดลงด้วย เช่น ประเทศไทยมีช้างป่าเหลืออยู่เพียง 1975-2300 เชือก ประชากรควายป่าเหลืออยู่เพียง 50-70 ตัว เสือโคร่งเหลืออยู่ประมาณ 250-500 ตัว กูปรี และ ละมั่งในปัจจุบันไม่พบในธรรมชาติแล้ว รวมทั้งพืชป่า เช่น กล้วยไม้รองเท้านารีปีกแมลงปอก็ใกล้สูญพันธุ์ และ หายากขึ้นทุกที
                3.การทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรวม เช่น สภาวะดินเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย และการสะสมความเป็นพิษให้กับธรรมชาติก็เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำลายแหล่งที่อยู่ ก่อให้เกิดโรคระบาดอันเป็นผลให้วิธีชีวิตของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามรถดำเนินชีวิตตามปกติได้
                4.การขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทำให้ไม่สามรถป้องกันและแก้ไขการสูญเสียความหลากหลายได้


                5.อาจมีสาเหตุชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามารุกราน (alien species) ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พืชพันธุ์หรือสัตว์ในท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงไป จนอาจไม่เหลือลักษณะเดิมของสปีชีส์นั้นๆ ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายได้ เช่น ปลากดเกราะ ผักตบชวา ไมยราพยักษ์ เป็นต้น

 

        

          ตัวอย่างชนิดพันธุ์ต่างถิ่น - ปลากดเกราะ

ที่มา:หนังสือ mini ชีววิทยา สำนักพิมพ์ พศ.พัฒนา 
ที่มาภาพ : rakbankerd.com
             webboard.siamza.com