สิ่งมีชีวิตที่มีคนรู้จักแล้วจะมีตั้งชื่อให้เพื่อใช้ในการอ้างถึง ชื่อของสิ่งมีชีวิตมีสองชนิดคือ
1.ชื่อสามัญ (Common name) คือ ชื่อที่เรียกกันทั่วๆ ไป ในการให้ชื่อาจให้ชื่อตามลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เช่น ต้นแปรงขวด ปากกาทะเล ว่านหางจระเข้ แมลงปีกแข็ง หรือ อาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิดเช่น ผักตบชวา มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังตั้งตามถิ่นที่อยู่ เช่น ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล หรือ ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น หอยมุก วัวเนื้อ วัวนม
2.ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) เป็นชื่อที่กำเนิดขึ้นตามหลักสากลและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน ลินเนียส เป็นผู้เริ่มใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นคนแรก โดยกำหนดให้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นชื่อสองชื่อ ชื่อแรกเป็นชื่อสกุล ส่วนชื่อที่สองเป็นชื่อสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ การเรียกชื่อประกอบด้วยสองชื่อ เรียกว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม (Binomial nomenclature) ซึ่งจัดเป็นชื่อวิทยาศาสตร์
                หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
                1.ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นภาษาละติน หรือ รากศัพท์ที่มาจากภาษาละติน เพราะ ภาษละติน เป็นภาษาที่ตายแล้ว (เลิกใช้แล้ว) ความหมายจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก
                2.ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องประกอบด้วยสองชื่อ ชื่อแรกเป็นชื่อสกุล และ ชื่อที่สองเป็นชื่อสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
                3.การเขียนชื่อสกุลอักษรตัวแรกต้องเป็นตัวใหญ่เสมอ ส่วนอักษรตัวแรกของสปีชีส์เป็นตัวเล็กธรรมดา
                4.การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ต้องให้มีลักษณะแตกต่างจากอักษรอื่น เช่น เขียนเป็นตัวเอน ตัวหนา หรือ ขีดเส้นใต้ชื่อทั้งสอง โดยชื่อที่ขีดเส้นทั้งสองไม่ติดต่อกัน
                5.ถ้าทราบผู้ตั้งชื่อ จะลงชื่อย่อผู้ตั้งตามหลังชื่อวิทยาศาสตร์ เช่น ต้นหางนกยูงไทย มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Casalpinis pucharima (Linn.) คำ Linn. เป็นชื่อย่อของ Linnaes
                6.สิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจมีชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งชื่อ ก็ให้ใช้ชื่อที่ตั้งก่อนเป็นชื่อถูกต้อง ส่วนชื่ออื่นๆ ให้เป็นชื่อพ้อง (Synnonym)
                ชื่อวิทยาศาสตร์มักจะบอกลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
เช่น         

-บอกชื่อ สถานที่ค้นพบ  

                                                                                                                                         

ไส้เดือนดิน (Lumbricus terrestis)  terrestis หมายถึง อาศัยอยู่บนบกอยู่ในดิน

-บอกลักษณะ

                                                                                                                                                                      

มะยม (Phyllantus acidus) คำว่า acidus หมายถึง รสเปรี้ยว


-บอกผู้ตั้งชื่อ หรือให้เกรียติผู้ใดผู้หนึ่ง                                                                                                       

ปลาบู่มหิดล (Mahidolia mystasina) คำว่า Mahidollia เป็นชื่อของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  

ที่มา:หนังสือ mini ชีววิทยา สำนักพิมพ์ พศ.พัฒนา
ที่มาภาพ : jadenarong.multiply.com
                  vcharkarn.com
                   igetweb.com
                   asstudio.org