ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่น สามารถสังเกตเห็นได้ชัด เนื่องจากสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมีขนาดหรือรูปร่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการเจริญเติบโตอย่างชัดเจน ในปัจจุบันมีสัตว์มากมายหลายล้านสปีชีย์ บางชนิดก็ให้ประโยชน์และบางชนิดก็ให้โทษต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และมนุษย์

สัตว์มีลักษณะสำคัญ ได้แก่
1. ประกอบด้วยเซลล์ประเภทยูคารีโอตเซลล์ (Eucaryotic Cell) เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญภายในเซลล์
2. ประกอบด้วยเซลล์จำนวนหลายเซลล์ รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) หรือเป็นอวัยวะ (organ) ต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งได้
3. ไม่มีผนังเซลล์ และไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นจึงไม่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงเรียกว่า Heterotrophic organism (Heterotroph)
4. ดำรงชีพโดยการเป็นผู้บริโภค คือ ต้องอาศัยสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น โดยการกิน อาจจะกินพืช กินสัตว์ หรือกินทั้งพืชและสัตว์
5. สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว หรือเคลื่อนทีช้า หรือบางชนิดก็ไม่เคลื่อนที่เลย เช่นปะการัง,ฟองน้ำ เป็นต้น
6. สัตว์ส่วนมากจะมีระบบประสาท ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานประสานกัน หรือใช้รับความรู้สึก เมื่อมีสิ่งใดมาสัมผัส จึงสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้
7. สัตว์ส่วนมากจะมีโครงร่างแข็ง (Skeleton) เพื่อเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ และทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในได้ด้วย เช่น ปู กุ้ง หอย เป็นต้น
8. เนื้อเยื่อ และระบบต่าง ๆ จะซับซ้อนกว่าพืชมากและทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง
9. หลังจากสืบพันธุ์หรือมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจะมีระยะตัวอ่อน (Embryo) พักหนึ่ง

เกณฑ์เฉพาะในการจำแนกสัตว์
1. พิจารณาจากรูปแบบของสมมาตร
1.1 Asymemetry ไม่สมมาตร คือไม่สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนที่เหมือนกันได้ เช่น อมีบา
1.2 Bilateral symmetry คือ สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนที่เท่า ๆ กันได้
1.3 Radial symmetry สมมาตรในแนวรัศมี คือ สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนให้มีลักษณะเหมือนกันได้หลายแนว โดยตัดผ่านจุดศูนย์กลางตามแนวรัศมี เช่น ฟองน้ำบางชนิด แมงกะพรุน และดาวทะเล
1.4 Sperical หรือ Universal symmetry สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนที่เหมือนกันได้ทุกระนาบโดยผ่านจุดศูนย์กลางเช่นกัน ได้แก่ Volvox

2. พิจารณาจากจำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ (Germ layer)
2.1 Diploblastica จะมีเนื้อเยื่อเพียงสองชั้นคือ เนื้อเยื่อชั้นนอก(ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน(endoderm)
2.2 Triploblastica จะมีเนื้อเยื่อ สามชั้น คือ มีเนื้อเยื่อชั้นกลางเพิ่มเข้ามาคือ Mesoderm ได้แก่ สัตว์จำพวกหนอนตัวแบนขึ้นไป

3. พิจารณาจากช่องว่างภายในลำตัว (coelom)
3.1 Acoelomate animal คือสัตว์ที่ไม่มีช่องว่างภายในลำตัวเช่น หนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes)
3.2 Psudocoelomate animal (Psudocoelom) คือสัตว์ที่มีช่องว่างแบบเทียม จะมีช่องว่างที่อยู่ระหว่าง เนื้อเยื่อชั้นนอกกับชั้นกลาง หรือเนื้อเยื่อชั้นกลางกับชั้นใน เช่น หนอนตัวกลม (Phylum Nemathehelminthes)
3.3 Eucoelomate animal (True coelom) คือสัตว์ที่มีช่องว่างภายในลำตัวแบบแท้ เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลางแยกตัวออกไปเป็นช่อง เช่น ไส้เดือนดิน และสัตว์ชั้นสูง เป็นต้น

4. พิจารณาจากการแบ่งส่วนลำตัวเป็นข้อปล้อง (Segmentation)
4.1 Non metameric คือแบ่งเป็นข้อปล้องเฉพาะภายนอก เกิดที่ลำตัวเท่านั้น ไม่ได้เกิดตลอดทั้งตัว เช่น พยาธิตัวตืด,หนอนตัวกลม, เอคไคโนเดิร์ม และมอลลัสกา
4.2 Metameric คือแบ่งเป็นข้อปล้องอย่างแท้จริง โดยเกิดตลอดลำตัว เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง เนื้อเยื่อชั้นอื่นจึงเกิดข้อปล้องไปด้วย เช่น ไส้เดือนดิน กุ้ง ปู และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

5. พิจารณาจากการมีระบบเลือด
5.1 สัตว์ที่ยังไม่มีระบบเลือด เช่น ฟองน้ำ,ซีเลนเทอเรต, หนอนตัวแบนและ หนอนตัวกลม
5.2 สัตว์ที่มีระบบเลือดแบบวงจรเปิด เช่น อาร์โทรพอด, มอลลัสก์ และปลาดาว เป็นต้น
5.3 สัตว์ที่มีระบบเลือดแบบวงจรปิด เช่น ไส้เดือนดิน และสัตว์ชั้นสูง

6. พิจารณาจากลักษณะทางเดินอาหาร
6.1 ทางเดินอาหารแบบไม่แท้จริง (Channel network) เป็นเพียงช่องว่างแบบร่างแห เป็นเพียงทางผ่านของน้ำจากภายนอกเข้าสู่ลำตัว เช่น ฟองน้ำ
6.2 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract) มีลักษณะคล้ายถุง มีช่องเปิดช่องเดียว เป็นทางเข้าและออกของอาหาร เช่นพวกซีเลนเทอเรต และหนอนตัวแบน
6.3 ทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete digestive tract)เป็นท่อกลวง มีท่อเปิด 2ทาง เป็นทางเข้า และทางออกคนละทางกัน ได้แก่ หนอนตัวกลม, ไส้เดือนดิน, แมลง, มอลลัสก์, สัตว์ชั้นสูง

7. พิจารณาจากแกนพยุงร่างกาย หรือโนโตคอร์ต (Notochord) แล้วจึงกลายเป็นกระดูกสันหลังหรือไม่

8. พิจารณาจากแบบแผนการเจริญเติบโตจากตัวอ่อนว่ามี ช่องเหงือก (Gill slit) หรือไม่


แบ่งออกเป็น 9ไฟลัม ดังนี้

1.Phylum Porifera


         สัตว์ในไฟลัมนี้ได้แก่ สัตว์จำพวกฟองน้ำ (Sponge) มีลักษณะสำคัญคือ ร่างกายสามารถแบ่งได้แบบ Radial symmetry หรือ Asymmetry ก็ได้ มีลำตัวพรุน (Incurrent pore) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิด โดยแบ่งกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่มีการประสานงานกันระหว่างเซลล์ ลำตัวมีช่องเล็ก ๆ รอบตัวเรียก (Ostia) เพื่อให้น้ำหรืออาหารไหลเข้าไปในลำตัวได้ และตอนบนมีช่องเปิดให้น้ำออก (Ostia) ผนังลำตัวประกอบด้วยเซลล์รวมกันเป็นสองชั้น เซลล์ข้างในมีแฟลกเจลลัม (Flagellum) ทำหน้าที่พัดน้ำ และมีเซลล์พิเศษที่ทำหน้าที่ดูดอาหารเข้าไปและย่อยอาหารคือ Choanocyte (Collar cell) ตรงกลางมีของเหลวคล้ายวุ้นเรียก Amebocyte ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่ไม่เคลื่อนที่ (Sessile Animal)จะเกาะติดกับโขดหินหรือของแข็งใต้น้ำ บางชนิดมีโครงร่างแข็งเรียก spicule บางชนิดอ่อนนุ่มเรียก spongin


2.Phylum Coelenterata


       ประกอบด้วยผนังลำตัว 2 ชั้น เรียกว่า Diploblastica มีชั้นนอก (ectoderm) มีชั้นใน (endoderm) มีเยื่อกั้นกลางเรียก Mesoglea กินทางปากถ่ายทางปาก ตรงกลางมีช่อง gastrovascular cavity ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหาร แลกเปลี่ยนก๊าซ และหายใจ จึงจัดได้ว่าเป็นพวกแรกที่มีระบบทางเดินอาหารแต่ไม่สมบูรณ์ไม่มีระบบหายใจ ทางเดินอาหาร ขับถ่าย หมุนเวียนเลือด มีรูปร่างแบบ radial symmetry มีประสาทแบบ Nerve Net ร่างแหประสาท มีtentacle รอบปาก โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ มีเซลล์พิเศษ (Cninoblast) ภายในมีเข็มพิษ (nematocyte) สำหรับป้องกันตัวหรือล่าเหยื่อ มีทั้งการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ บางชนิดสืบพันธุ์สลับ (Metagenesis) เช่น Obelia บางชนิดเป็นกระเทย เช่น Hydra สัตว์จำพวกนี้ได้แก่ ไฮดรา, แมงกะพรุน, กัลปังหา, ปะการังต่าง ๆ, ดอกไม้ทะเล (sea anemone), โอบีเลีย, ปากกาทะเล


3.Phylum Plathyhelminthes


       มีเนื้อเยื่อ 3ชั้น (Triploblastica animal) เป็นพวกแรก ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว (Acoelomate) ลำตัวแบนด้านบนด้านล่าง ยกเว้นใบไม้ในเลือดที่มีลำตัวกลม ไม่มีข้อหรือปล้องที่แท้จริง (non metameric) มีสมมาตรแบบBilateral symmetry มีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract) ยกเว้นพยาธิตัวตืดไม่มีระบบทางเดินอาหาร ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด ไม่มีอวัยวะหายใจ โดยพวกปรสิตจะสามารถหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ส่วนพวกที่อิสระสามารถหายใจทางผิวหนังได้ เป็นพวกแรกที่มีระบบขับถ่าย และระบบประสาท โดยมีอวัยวะกขับถ่ายคือ เฟลมเซลล์ (Flame cell) แทรกอยู่ตามร่างกายทั่วไป และมีปมประสาทแบบเส้นประสาท ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระบบประสาท ปมประสาทขนาดใหญ่อยู่ด้านบน คล้ายสมองแตกแขนงไปทางด้านข้างของร่างกาย มีกล้ามเนื้อทางตามยาวและตามขวาง สลับกันหดตัวเรียก Antagonism โดยเป็นสัตว์พวกแรกที่มีระบบ Antagonism ระบบสืบพันธุ์เจริญดีมาก มี2เพศในตัวเดียวกันเรียกว่าเป็นกระเทย (Hernaphrodite) สามารถผสมพันธุ์กันเองในตัวเดียวกัน และผสมพันธุ์ข้ามตัว ในพยาธิตัวตืด ในพยาธิตัวตืด การเพิ่มจำนวนข้อปล้อง จัดว่าเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

4.Phylum Nemathelminthes


         มีเนื้อเยื่อ 3ชั้น (Triploblastica animal) ลำตัวกลม ยาว เรียวหัว-ท้าย ไม่มีข้อปล้อง (non metameric) ไม่มีรยางค์ ผิวลำตัวปกคลุมด้วยสารคิวติน (Cuticle) เพื่อป้องกันน้ำย่อยจาก Host มีสมมาตรแบบ Bilateral symmetry มีช่องว่างในลำตัวแบบไม่แท้จริง (Psudocoelom) ยังไม่มีระบบเลือด ไม่มีระบบหายใจ พวกที่เป็นปาราสิตจะหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน พวกที่อิสระก็จะหายใจทางผิวหนัง มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ระบบขับถ่ายประกอบด้วยต่อมเรนต์ (renettle gland) ท่อขับถ่ายทางด้านข้างลำตัว (Lateral excretory canal) ไม่มีเฟลมเซลล์ มีปมประสาทใหญ่ จัดเป็นสมอง มีลักษณะเป็นวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอย ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ทางด้านท้อง (Ventral nerve cord) และด้านหลัง (Dorsal nerve cord) ตลอดลำตัว มีกล้ามเนื้อเฉพาะตามยาวเท่านั้น จึงได้แต่เคลื่อนตัวไปมา เป็นพวกแยกเพศ (Dioecious) ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ เช่น พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือนตัวกลม          

<<<อาณาจักรพืช อาณาจักรสัตว์ (หน้า2)>>>

ที่มา:www.trueplookpanya.com/

ที่มาภาพ:thaigoodview.com
            siamscubadiving.com
            skazone.fix.gs
            chaiwbi.com
            vet-zone.com