ตารางธรณีกาล

ยุคทางธรณีวิทยา


      มหายุคพรีแคมเบรียน(4,560 - 545 ล้านปีที่ผ่านมา) เริ่มขึ้นตั้งแต่โลกกำเนิดถือขึ้นมา การเย็นตัวของโลก การเกิดทะเล และบรรยากาศ สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นพวกพืชและสัตว์ชั้นต่ำ สัตว์ที่พบทั้งหมดอยู่ในน้ำทะเล สัตว์พวกนี้มีโครงสร้างแบบง่าย ๆ และเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือสัตว์ที่มีลำตัวอ่อน สัตว์พวกนี้อาจมีขนาดเล็กและไม่มีส่วนโครงร่างแข็งให้เก็บรักษา อาจมีรูปร่างคล้าย ๆ กับระยะตัวอ่อนของสัตว์ทะเลในปัจจุบัน สัตว์เซลล์เดียวพวกโปรโตซัวและฟองน้ำ มหายุคนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ
1. พรีอาร์เชียน (4,560-3,800 ล้านปีที่ผ่านมา) เป็นยุคที่โลกเพิ่งเกิดขึ้นมา อุณหภูมิสูงมาก
2. อาร์เชียน (3,800 - 2,500 ล้านปีที่ผ่านมา) เป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น คือ โปรคาริโอต ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์อย่างง่าย ๆ ไม่มีอาณาเขตของนิวเคลียสที่ชัดเจน สารพันธุกรรมในเซลล์จึงอยู่ทั่วไปในเซลล์ การสืบพันธุ์เป็นแบบไม่อาศัยเพศ ที่สร้างลูกหลานที่มีชุดสารพันธุกรรมเหมือนกับพ่อแม่
3. โพรโทโซอิก (2,500 - 545 ล้านปีที่ผ่านมา) เป็นช่วงที่มีการกำเนิดและวิวัฒนาการของ ยูคาริโอตหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ขนาดใหญ่กว่า พวกโปรคาริโอต ประมาณ 1,000 เท่า มีนิวเคลียสที่เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีโครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า ออร์แกเนลล์ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะเช่น การหายใจ การสังเคราะห์แสง พืชสีเขียวมี คลอโรพลาสต์ ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์สารอาหารได้

     มหายุคพาลีโอโซอิก  (545 - 248 ล้านปีที่ผ่านมา)  เป็นช่วงที่มีสิ่งมีชีวิตโบราณเกิดขึ้นและพบอยู่ในหินชั้น มีการเกิดทวีปและโครงสร้างธรณีวิทยาแบบกระทะหงาย ซากดึกดำบรรพ์ประจำมหายุคนี้คือไทโลไบต์ตอนปลายของมหายุคมีสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายปลาและพวกสัตว์เลื้อยคลานเริ่มเกิดขึ้น สำหรับพืชนั้นไม่มีซากดึกดำบรรพ์เหลือให้ศึกษามากนัก มหายุคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ยุคคือ
1.แคมเบรียน (545 - 495 ล้านปีที่ผ่านมา) พบซากดึกดำบรรพ์พวกสาหร่าย, อาร์โทพอด, ไทโลไบต์, ฟองน้ำ, โคลีเอนเทอเรต, หนอนทะเล, กลุ่มหอยฝาเดียว , หอยสองฝา, หอยฝาเดียวชนิดที่มีขนาดเล็กมาก สัตว์ประจำยุคนี้คือไทโลไบต์ ที่มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ แบคคีโอพอด
2. ออร์โดวิเชียน (495 - 443 ล้านปีที่ผ่านมา) เริ่มพบสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายปลา, สัตว์ปะการัง, ปลาดาว, และพวกที่มีลักษณะคล้ายปะการัง ไทโลไบต์ ที่พบในยุคนี้ มีลักษณะแตกต่างไปจากพวกที่พบอยู่ในยุคแคมเบรียนซากดึกดำบรรพ์ประจำยุคคือแกรปโทไลต์
3. ไซรูเลียน (443 - 417 ล้านปีที่ผ่านมา) สัตว์ที่พบเป็นพวกเดียวกับยุคก่อน แต่ทว่าเป็นตระกูลหรือเชื้อสายใหม่ มีสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายแมงป่อง อาศัยอยู่ในทะเลสาบหรือปากน้ำเรียกว่า แมงป่องทะเล ปลาที่มีเหงือกด้านล่าง, สัตว์หายใจในอากาศเช่น แมงป่อง กิ้งกือ และมีชีวิตอยู่บนบก พืชที่พบเป็นพวกมอสหรือ ลิลอปซิดา
4.ดีโวเนียน (417 - 354 ล้านปีที่ผ่านมา) ในยุคนี้มีสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายปลาเพิ่มมากขึ้น พืชบกและสัตว์เลื้อยคลานโบราณ ปลาที่พบเช่นปลาไม่มีกราม, ปลาตัวแบน ๆ, ฉลาม, และปลากระดูก, เริ่มเกิดสัตว์ต้นตระกูลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งชอบอากาศร้อนชื้น นอกจากนี้ยังพบแมงมุม, กิ้งกือ, และแมลง พืชบกที่พบเป็นพวกไม่มีรากและเป็นหมู่ บางชนิดมีลักษณะคล้ายเขาควาย จำนวนของ ไทโลไบต์ ลดลงอย่างมาก สัตว์ประจำยุคนี้คือปลา
5.คาร์บอนิเฟอรัส(354-290 ล้านปีที่ผ่านมา) ซึ่งเป็นยุคที่กินเวลายาวนานมาก จะแบ่งย่อยออกเป็น 2 สมัย คือ คาร์บอนิเฟอรัสล่าง กับ คาร์บอนิเฟอรัสบน
- คาร์บอนิเฟอรัสล่าง อากาศอบอุ่นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของปะการังและพวก แบรคิโอพอต มาก สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดหินปูนมาก เริ่มมีการพบสัตว์ประเภทมีกระดูกสันหลัง, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, และสัตว์บกอื่น ๆ มีพืชกระจายทั่วไปตามบริเวณที่เป็นบึง หนองน้ำและทะเลสาบ พืชเหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งถ่านหินที่สำคัญ สัตว์ประจำยุคนี้คือ ครินอยด์ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่น ปะการัง, หอยสองฝา, และ หอยฝาเดียว
- คาร์บอนิเฟอรัสบน มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลหลายครั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหนอง บึงหรือแอ่งต่ำ มีพืชบกจำนวนมาก เช่นต้นเฟินขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของอินทรียวัตถุที่ทำให้เกิดชั้นถ่านหินทั่วไป ต้นไม้ที่พบมากคือ ไม้มีเกล็ด เฟินมีเม็ด ต้นไม้เหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งถ่านหินและน้ำมันที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน) แมลงเริ่มมีหลายชนิดและมีปริมาณมากขึ้น จนในยุคนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคของแมลงสาบ นอกจากนี้ยังมีแมงมุม, แมงป่อง, กิ้งกือ, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีการวิวัฒนาการมากขึ้น จนสามารถจะอยู่บนบกและในน้ำได้นาน ๆ
6. เพอร์เมียน (290 - 248 ล้านปีที่ผ่านมา) ป่าไม้ยังคงเกิดต่อไปและมีการทับถมเช่นเดียวกับยุคก่อน พื้นที่ในยุค คาร์บอนิเฟอรัส ถูกยกตัวสูงขึ้น ตอนปลายยุคเกิดยุคน้ำแข็งขึ้น ทำให้ไม้มีเกล็ดและเฟินมีเมล็ดสูญพันธุ์ไป ไม้สนมีปริมาณเพิ่มขึ้น ในแม่น้ำและบึงมีปลาหลายชนิด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน ตามริมฝั่งพบสัตว์เลื้อยคลานที่มีความว่องไวมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบซากไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน เริ่มมีแมลงปีกแข็งเกิดขึ้น สิ้นสุดยุคนี้เกิดธารน้ำแข็งปกคลุมทั่วโลก พืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป เช่น ไทโลไบต์ ฯลฯ         

   มหายุคมีโซโซอิก (248 - 65 ล้านปีที่ผ่านมา) มีอากาศอบอุ่นสบาย ได้ชื่อว่าเป็นมหายุคของสัตว์เลื้อยคลาน สิ่งมีชีวิตมีการวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น ซากดึกดำบรรพ์ประจำมหายุคคือ แอมโมไนต์ ซึ่งมีมากในทะเล มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เริ่มมีนก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม, ไม้ดอกและแมลงใหม่ ๆ การเพิ่มปริมาณของไม้ดอกเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเพิ่มจำนวนของแมลงซึ่งช่วยในการผสมเกสร สัตว์มีกระดูกสันหลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะไดโนเสาร์ และสัตว์เลื้อยคลานในทะเล แต่สูญพันธุ์หมดเมื่อสิ้นมหายุค สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคคือ
1. ไทรแอสซิค (248 -206 ล้านปีที่ผ่านมา) เป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น มีบางบริเวณเป็นทะเลทราย สัตว์เลื้อยคลานมีการวิวัฒนาการสูงและพบเป็นปริมาณมาก มีโครงกระดูกแข็งแรง มีเปลือกหุ้มไข่ ไดโนเสาร์เริ่มปรากฏเป็นครั้งแรกเนื่องจากพบรอยเท้าเป็นจำนวนมากในหินยุคนี้ เริ่มมีการวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บางทฤษฏีกล่าวว่านกเริ่มเกิดขึ้นในยุคนี้ ในทะเลมีปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นมาก โดยเฉพาะ แอมโมไนต์ และ แกรโตรพอต
2. จูแรสซิค (206 - 142 ล้านปีที่ผ่านมา) เป็นยุคของไดโนเสาร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 พวกคือ
- ซัวโรพอต ที่มีคอยาว หางยาว เดินสี่ขา มีขนาดใหญ่ที่สุด
- สโตโกซอรัส มีแผงหลัง น้ำหนักประมาณ 10 ตันแต่มีสมองเล็กมาก
- เทโรพอต เป็นพวกกินเนื้อและเดินด้วยขาหลัง
เริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถบินได้ แต่มีขนาดเล็ก ในทะเลมี แอมโมไนต์ ที่มีขนาดใหญ่ แกรโตพอต, เพเลไซพอต, ปลาหมึก ฯลฯ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเกิดขึ้นในยุคนี้ และพบนกที่เก่าแก่ที่สุดคือ อาร์คีออพเทอริกซ์ พวกพืชมีการวิวัฒนาการมากขึ้น ซึ่งคล้ายกับพืชมีดอกและผลในยุคปัจจุบัน พืชที่พบมากคือขิง, สนและเฟิน จำนวนและพันธุ์ของแมลงเพิ่มมากขึ้น
3. ครีเทชียส (142 - 65 ล้านปีที่ผ่านมา) เป็นช่วงที่มีน้ำทะเลท่วมเข้าไปในส่วนของแผ่นดิน ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนที่หนามากทั้งส่วนบนแผ่นดินและในทะเล ตอนใกล้จะสิ้นยุคนี้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดภูเขาแอนดีส ร็อกกี้และภูเขาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย ในยุคนี้สัตว์ต่าง ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากแหล่งอาหารสมบูรณ์ พบไม้ใหญ่จำพวก วิลโล, โอ๊ค, แมคโนเลีย, เมเปิ้ล, บีช, ฮอลลี่ ฯลฯ ไดโนเสาร์แพร่กระจายไปทุกทวีป ในทะเลมีเต่ายักษ์ อาร์คีลอน พบซากดึกดำบรรพ์ของนก อาร์คีออฟเทอริกซ์ ที่มีชื่อเสียงมาก มีลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลานคือมีฟันแหลม ปล้องหาง และมีกรงเล็บที่ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบน้อยและยังไม่มีความสำคัญมากนัก ในทะเลยังมี แอมโมไนต์ แต่มีรูปร่างผิดแปลกไป ปลาที่มีก้างพบเห็นได้ทั่วไป           
พอสิ้นสุดยุค ไดโนเสาร์, สัตว์เลื้อยคลานในทะเล, แอมโมไนต์ และ เบเลมไนต์ได้สูญพันธุ์ไปหมด สาเหตุการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมาโดยตลอด มีการพบชั้นดินอายุ 65 ล้านปีที่ห่อหุ้มโลก มีความหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร พบว่ามีปริมาณของธาตุอิริเดียม มากกว่าชั้นอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ ซึ่งแร่ อิริเดียม พบยากมากบนเปลือกโลก แต่จะพบมากที่ใจกลางโลก และจากเทหวัตถุบนฟากฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สรุปว่า มีเหตุการณ์ 3 อย่างที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในปลายยุคคือ
1. การลดระดับของน้ำทะเล มีการขึ้นลงอย่างมาก และอย่างรวดเร็ว ภูมิอากาศที่เปลี่ยนและการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้นำมาซึ่งการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์
2. การพุ่งชนของอุกกาบาต และการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ
โดยเชื่อว่าเมื่อ 65 ล้านปี มีดาวหางหรือดาวพระเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก ที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ในประเทศเม็กซิโก เนื่องจากการค้นพบผลึกควอซ์ขนาดเล็ก จำนวนมาก ในบริเวณที่เป็นหลุมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18 กิโลเมตร ซึ่งผลของการชนโลกครั้งนั้น ทำให้เกิดความร้อนสูงอย่างฉับพลัน แล้วตามด้วยอากาศหนาวเย็นจัดถึงจุดเยือกแข็ง เนื่องจากฝุ่นละอองจากการชน ลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศทำให้บดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังผิวโลก เป็นระยะเวลานานหลายเดือน ทำให้พืชไม่สามารถดำรงชีพด้วยการสังเคราะห์แสงได้ ทำให้พืชตายลง เมื่อพืชตายลง ทำให้สัตว์ที่กินพืชขาดอาหาร มีผลทำให้สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป
3. การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟที่อินเดีย และในมหาสมุทรแปซิฟิค ทำให้เกิดเป็นที่ราบสูงเดคคาน การระเบิดของภูเขาไฟ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่สามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทำให้สูญพันธุ์ไป

     มหายุคซีโนโซอิก (65 ล้านปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหลายครั้ง ทำให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ไป ทวีปต่าง ๆ มีลักษณะคล้าย ๆ กับปัจจุบันนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอกแพร่กระจายไปทั่ว สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่สูญพันธุ์ไป พบนกและปลาที่มีลักษณะคล้ายในยุคปัจจุบัน ในทะเลยังพบ แกตโตรพอต และ เพเลคีพอต จำนวนมากแต่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเล็กน้อย เคเพลพอต และ แบรคิโอพอตลด ปริมาณลงมาก มหายุคนี้แบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ
1. เทอร์เทียรี (65 - 1.8 ล้านปีที่ผ่านมา) แบ่งออกเป็น 5 สมัยคือ
1.1. เพลีโอซีน เป็นช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินแมลง เกิดการเพิ่มจำนวนและวิวัฒนาการมาก เนื่องจากสมัยที่ไดโนเสาร์มีจำนวนมาก สัตว์เหล่านี้สามารถออกหาอาหารได้ในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น พบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่ลักษณะคล้ายลิง แต่หน้าคล้ายหมาป่า  และสัตว์ฟันแทะ แต่มีขนาดเล็ก นกเริ่มมีลักษณะคล้ายปัจจุบันมาก นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลาน เช่น จระเข้ เต่า
1.2. อีโอซีน พบต้นตระกูลของม้า โดยมี 4 เท้า มีเล็บ 4 อัน พบค้างคาว และสัตว์คล้ายปลาวาฬ ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย และเมดิเตอร์เรเนียน พบว่ามีการทับถมของสัตว์เซลล์เดียว ประเภท ฟอร่ามินิฟรีเรีย จำนวนมาก
1.3. โอลิโกซีน ภูมิอากาศอบอุ่น พบซากดึกดำบรรพ์ของ ลิงไม่มีหาง  ลิง สุนัข แมว พบมีป่าสนและ
1.4. ไมโอซีน
1.5. พลีโอซีน
2. ควอเทอนารี (1.8 ล้านปีัที่ผ่านมา-ปัจจุบัน) ปรากฏบรรพบุรุษมนุษย์โบราณ และมนูษย์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีีครอบครองโลก

ที่มา : www.houseofgems.info/knowledge2_th.php
ที่มาภาพ : www.arru.ac.th/web/ancient/ancient/index5_01.html                 
   www.dailygalaxy.com/my_weblog/20...net.html
  www.jeongmeyoon.com/aw_nhmuseum007.html
  www.oknation.net/blog/aw07-934/2.../entry-1
  www.oknation.net/blog/print.php%...%3D89941