การละเล่นของภาค กลาง
ชื่อเพลง เหย่ย
จังหวัด กาญจนบุรี
วิธีการเล่น
ไม่จำกัดจำนวน ผู้เล่นยิ่งมากยิ่งสนุกสนาน โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชายกับหญิงแต่ละฝ่ายจะมีผู้ร้องประกอบด้วยพ่อเพลง แม่เพลง ลูกคู่ และผู้รำ เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มชวนฝ่ายหญิงให้เล่นเพลงเหย่ยกัน ฝ่ายหญิงรับคำชวนก็จะมายืนล้อมเป็นวงกับฝ่ายชาย แม่เพลงจะร้องโต้ตอบพ่อเพลงโดยมีลูกคู่รับทั้งสองฝ่าย เนื้อร้องส่วนใหญ่จะเป็นทำนองหยอกล้อ เกี้ยวพาราสี โดยมีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ กลองยาว รำมะนา ฉิ่ง กระบอกไม้ไผ่ ฯลฯ
โอกาสที่เล่น
นิยมเล่นในเทศกาลวันตรุษ สงกรานต์ งานนักขัตฤกษ์ งานมงคลต่างๆ และงานรื่นเริงของชาวบ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอพนมทวน เช่น บ้านทวน บ้านห้วยสะพาน บ้านทุ่งสมอ บ้านหนองปลิง บางครั้งก็จะเป็นการเล่นประกอบการเล่นพื้นเมืองอื่นๆ เช่น การเล่นลูกช่วงรำ ลูกช่วงขี้ข้า หรือประกอบการเล่นเหยี่ยวเฉี่ยวลูกไก่
คุณค่า
เป็นที่นิยมของจังหวัดกาญจนบุรีและเป็นการอนุรักษ์มรดกด้านวัฒนธรรมของไทยในท้องถิ่นอีกด้วย สร้างความเพลิดเพลิน


การละเล่นของภาคใต้
ชื่อ การแข่งขันว่าวประเพณี
จังหวัด สตูล
อุปกรณ์และวิธีเล่น
่ว่าวควายและว่าวชนิดต่างๆ การแข่งขันว่าวแบ่งเป็น ๓ ประเภท
1. ประเภทขึ้นสูงจะปล่อยว่าวให้ลอยขึ้นแล้วใช้เครื่องมือวัดการขึ้นสูงของว่าว
2. ประเภทเสียงดัง จะให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงเป็นผู้ตัดสิน
3. ประเภทสวยงามมีกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การตัดสิน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เดิมการเล่นว่าวนิยมเล่นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมากลายเป็นการแข่งขันที่มีผู้สนใจนิยมมาร่วมมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของสตูล
คุณค่า
ผู้ร่วมแข่งขันได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์ว่าและฝึกความอดทน การมีระเบียบวินัย และการแข่งขันยังให้ความบันเทิงแก่ผู้มาชม


การละเล่นของภาคเหนือ
ชื่อ  ค่าวเพลงซอดาววีไก่น้อย
จังหวัด แพร่
วิธีการเล่น
เป็นบทร้อง คำประพันธ์ร้อยกรองภาคเหนือประเภทหนึ่ง ที่เล่าถึงตำนานดาวลูกไก่ ในการขับร้องค่าวเพลงซอนี้ จะมีลูกคู่รับบทตอนจบ แต่ละบท ว่า อื่อ... แล้วทวนวรรคสุดท้าย จึงนิยมเรียกว่าซอเพลงอื่อ
ทำนองเพลงซอนี้คล้ายทำนองเพลงซอพระลอ มีเนื้อร้องดังนี้
ก่อยฟังยังก่อนเต๊อะเจ้า ตามเก้าเหง้าค่าวนี้ออกจากในธรรม
ตี่เปิ้นกล่าวไว้ข้าเจ้าได้จื่อได้จำ ก่อนไก่ออกจากในธรรมเป๋นระบำเพลงอื่อ
โอกาส
นิยมนำมาขับร้อง ในงานชุมนุมหรืองานฉลองงานประเพณีหรืองานบุญต่างๆ หรือขับร้องเพื่อเป็นการสอนลูกหลาน

คุณค่า
ผู้ร่วมแข่งขันได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์ว่าและฝึกความอดทน การมีระเบียบวินัย และการแข่งขันยังให้ความบันเทิงแก่ผู้มาชม


การละเล่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อ เส็งกลอง
จังหวัด มุกดาหาร
อุปกรณ์การเล่น
กลองเส็ง เป็นคำนาม หมายถึง กลองที่นำมาแข่งขัน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีหน้ากลอง ๑ ด้าน ทำด้วยหนังวัว ด้านล่างปล่อยกลวงทะลุตลอดตามยาว

วิธีการเล่น
เส็ง เป็นภาษาอีสานหมายถึง การแข่งขัน การประชันกัน "เส็งกลอง" เป็นคำกริยาหมายถึง การแข่งขันกลองหรือการแข่งขันการตีกลอง เส็งกลองเป็นการละเล่นของชาวอีสาน เริ่มขึ้นเมื่อไรนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ
การเส็งกลองมี ๒ ลักษณะ คือ การตีตั้งและตีนอน กลองที่จะนำมาตี ๑ ชุด ประกอบด้วย กลอง ๒ ใบ ผู้ตีกลอง ๑ คน จะใช้ไม้ตี ๒ อัน การตีชุดหนึ่ง ๆ จะใช้ผู้ตีหลายคนตีให้เกิดเสียงดังที่สุด กลองใบไหนเกิดเสียงดังที่สุดคนนั้นจะชนะ

โอกาสที่เล่น
ชาวอีสานนิยมเส็งกลองในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น บุญผะเหวด บุญผ้าป่า บุญกฐิน หรืองานรื่นเริงอื่น ๆ

คุณค่า
ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกายแสดงถึงความมีพละกำลังของผู้เล่น ได้แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการส่งเสริมความมั่นคงในสังคม

   
     
   
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความระเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียน นวมินทราชูทิศ มัชฌิม สพท. นครสวรรค์ เขต 1
การแข่งขันการสร้างเว็บไซด์ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคเหนือ ปี 2551 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง