:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ความหมายของนาฎศิลป์ไทย
ความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคอีสาน
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคใต้
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
  การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่คนในท้องถิ่นได้รับการฝึกฝนอบรมให้เคารพกติกาของสังคมที่มีบทบาทต่อความเชื่อ พิธีกรรม เช่น หนังตะลุง โนรา และด้วยเหตุที่ภาคใต้มีวัฒนธรรมมุสลิมซึ่งไม่นิยมให้สตรีเข้าสังคมสุภาพบุรุษในระยะแรกๆ การแสดงจึงจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มสตรี ต่อมารับวัฒนธรรมตะวันตก จึงแสดงร่วมกันระหว่างชายและหญิง เช่น การเต้นรองเง็ง ชัมแปง ชายและหญิงก็ยังต่างคนต่างเต้น โดยไม่จับคู่เต้นรำแบบตะวันตก
นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้มีมากมายหลายชนิด ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะนาฏศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น ซึ่งได้แก่ โนรา และตารีกีปัส
1.การแสดงชุดโนรา มโนราหรือบางแห่งชอบเรียกกันสั้นๆว่า “โนรา” จัดเป็นศิลปะการแสดงที่สำคัญที่สุดของภาคใต้ เป็นศิลปะชั้นสูงที่สืบต่อกันมาหลายร้อยปี แต่เดิมผู้แสดงเป็นชายล้วนมีตัวสำคัญ 3 ตัว คือ ตัวพระ ตัวนาง และตัวตลก ซึ่งแสดงเป็นตัวอื่นๆตลอดจนสัตว์พาหนะได้ด้วย ภายหลังจึงมีผู้หญิงเข้าร่วมการแสดง นิยมแสดงเรื่องพระสุธนกับนางมโนห์รา โดยตัดเอาเฉพาะบางตอนลีลาการแสดงมีท่วงท่าที่อ่อนช้อยมากต้องได้รับการฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอจึงจะรำได้ การแสดงเน้นที่ท่าการรำมากกว่าเนื้อเรื่อง
การแสดงในสมัยโบราณมีแต่ผู้ชายจึงไม่นิยมสวมเสื้อ ต่อมาภายหลังมีผู้หญิงเข้าแสดงด้วย จึงสวมเสื้อที่ปักด้วยลูกปัด วิจิตรงดงามมาก ตัวพระเอก (นายโรง) นุ่งผ้าทับสนับเพลา มีห้อยหน้า ห้อยข้าง เหมือนละครรำ แต่เพิ่มหางกินนรคาดที่เอว สวมเครื่องประดับกำไลต้นแขนข้อมือ สวมเล็บ สวมถุงเท้าสีขาว ศีรษะสวมเทริด การแสดง เริ่มด้วยโหมโรง เชิญครูแล้วจะรำบทครูสอนหรือท่าปฐมเป็นการรำตามบทร้อง ท่ารำเลียนแบบมาจากกินนร ท่ารำต่างๆ เช่น ล่อปี่ ตีทับ รำเทริด
2.การแสดงชุดตารีกีปัส การแสดงชุดตารีกีปัส เป็นลักษณะการแสดงที่อาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ การแสดงชุดนี้จัดเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ต่อมาอาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ ได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศมาเลเซียและได้ชมการแสดงของรัฐต่างๆหลายชุด จึงคิดฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดต่างๆขึ้น โดยเฉพาะชุดตารีกีปัส ต่อมาการแสดงชุดนี้ได้รับคัดเลือกให้แสดงในงานเปิดกีฬาเขตครั้งที่ 14 ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ พ.ศ.2524 การแสดงชุดตารีกีปัสจึงได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง
การแต่งการ แบบแสดงคู่ชาย-หญิง จะนิยมแต่งตามลักษณะของชนชั้นสูงชาวไทยมุสลิมเต็มยศ ซึ่งผู้ชายจะใส่เสื้อตือโละบลางอ มีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมหรือคอตั้งแบบจีนแขนกว้างยาวจรดข้อมือ ผ่าอกครึ่งติดกระดุม 2 เม็ด สวมกางเกงขายาวคล้ายกางเกงจีน นุ่งผ้านุ่งยกเงิน-ยกทอง หรือผ้าซอทับกางเกงสั้นเหนือเข่าเล็กน้อย คาดเข็มขัดทับผ้าซอแกะ สวมหมวกแขก ซึ่งเป็นหมวกที่ทำด้วยผ้าเนื้อดีสีดำ ลักษณะคล้ายหมวกหนีบ ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อบันดง ซึ่งเป็นเนื้อเข้ารูปแขนยาว ตัวเสื้อยาวคลุมสะโพก ผ้าที่นิยมใช้ตัดเสื้อกันมากคือผ้าลูกไม้ ผ้ากำมะหยี่ ผ้าต่วน และผ้าชีฟอง ผ้านุ่งใช้ผ้าปาเต๊ะนุ่งสั้นแค่เข่า ผมเกล้ามวยติดดอกไม้ใส่เครื่องประดับสร้อยคอ ต่างหู เอกลักษณ์การแต่งกายชุดนี้ คือ การนุ่งผ้าของผู้ชายและผู้หญิงซึ่งจะทำจีบทบกัน ในผู้ชายเน้นความแปลกและใหม่ ส่วนในผู้หญิงเน้นให้ความสะดวกในการร่ายรำที่จะต้องยักย้ายส่ายสะโพกให้เข้ากับจังหวะเพลงที่สนุกสนานเร้าใจ
การแสดงและโอกาสที่ใช้แสดง ถ้าผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ลีลาท่ารำ เป็นการยักย้ายส่ายสะโพกให้เข้ากับจังหวะดนตรี มีการแปรแถวอย่างสวยงาม การแสดงตารีกีปัสได้รับความนิยมมากในหมู่ชาวไทยมุสลิมโดยทั่วไปในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงใช้ในโอกาสต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานแต่งงาน งานฮารีรายอ งานมาโซะยาวี (พิธีเข้าสุหนัต) และงานเทศกาลต่างๆ


 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์