:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ความหมายของนาฎศิลป์ไทย
ความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคอีสาน
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคใต้
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง
ศิลปะการแสดงหรือการละเล่นพื้นเมืองของภาคกลางมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะเล่นกันในหน้าเทศกาลบ้าง เล่นกันทั่วๆไปบ้าง บางประเภทเป็นการร้องโต้ตอบกัน บางประเภทก็ร้องดำเนินเรื่องเรื่อยไปจนจบ เช่น เพลงเรือ เพลงหน้าใย นิยมเล่นกันในเทศกาลกฐิน ผ้าป่า เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงชักดาบ และเพลงเต้นกำรำเคียว นิยมเล่นในฤดูเกี่ยวข้าว เพลงเหย่ย เพลงพวงมาลัย เพลงระบำบ้านไร่ นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์ เพลงปรบไก่ เพลงเทพทอง เพลงระบำบ้านนา เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงฉ่อย ไม่จำกัดเวลา ในที่นี้จะกล่าวถึงศิลปะการแสดงหรือการละเล่นพื้นเมืองบางชนิดเพื่อจะได้ทราบไว้เป็นแนวทางการศึกษา ดังนี้
1.การแสดงชุดรำเถิดเทิง-เทิ่งบองกลองยาว มีเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานว่า เป็นการละเล่นของทหารพม่าที่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาคนไทยนำมาปรับปรุงให้มีท่ารำ และการแต่งกายแบบไทย
รำกลองยาวนี้บางที่เรียกว่า “เทิ่งบอง” ตามเสียงกลองที่ตี เป็นการละเล่นที่สนุกสนานของชาวภาคกลาง ปรับปรุงท่ารำให้งดงาม การแสดงฝ่ายชายจะสะพายกลองยาวรำคู่กับฝ่ายหญิง ในการร่ายรำมีการตีกลองยาวสลับกันไป จะมีผู้ตีเครื่องประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และกองยาว เพื่อให้เกิดความสนุกยิ่งขึ้น นิยมเล่นในงานประเพณีต่างๆ
2.การแสดงชุดเต้นกำรำเคียว เต้นกำรำเคียวเป็นเพลงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ กรมศิลปากรส่งศิลปินไทยไปฝึกหัดการเต้นกำรำเคียวจากชาวบ้านสระทะเลตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ.2504 โดยมีอาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งทำนองเพลงประกอบการแสดง
การแสดง ผู้แสดงมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มือถือเคียวและรวงข้าว แสดงท่าตามบทร้อง ซึ่งมี 11 บท คือ บทมา บทไป บทเดิน บทรำ บทร่อน บทบิน บทยัก บทย่อง บทย่าง บทแถ และบทถอง

 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์