:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ความหมายของนาฎศิลป์ไทย
ความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงนาฎศิลป์พื้นเมือง
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคอีสาน
การแสดงนาฎศิลป์พื้นบ้านภาคใต้
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
  การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยหลักใหญ่จำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ จังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานยกเว้น 3 จังหวัดในกลุ่มอีสานใต้ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ กลุ่มอีสานเหนือมีการแสดงพื้นเมือง เช่น เซิ้งบั้งไฟ หมอลำ เป็นต้น กลุ่มอีสานใต้มีการแสดงพื้นเมือง คือ เรือมอันเร กันตรึม กโน้บติงตอง เป็นต้น ศิลละปะการแสดงพื้นเมืองภาคอีสานมี 2 ชนิด คือ
1.การแสดงชุดฟ้อนภูไท เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวภูไท ซึ่งมีเชื้อสายสืบต่อกันมาช้านานในดินแดนทางภาคอีสานของประเทศไทย เช่น จังหวัดสกลนคร นครพนม และเลย ผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงล้วนๆ ใส่เสื้อแขนยาวสีดำขลิบแดง นุ่งผ้าถุงสีดำ เชิงผ้ามีลวดลายขลิบด้วยผ้าสีแดง สวมเครื่องประดับสร้อยคอ ต่างหูสีเงิน เกล้าผมมวยสูง ผูกด้วยผ้าสีแดง สวมเล็บยาวปลายเล็บเป็นพู่สีแดง ลีลาในการแสดงจะอ่อนช้อยนุ่มนวล การฟ้อนภูไทจะฟ้อนในโอกาสที่มีงานบุญ เช่น บุญมหาชาติ หรือในโอกาสงานรื่นเริงของวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ
2.การแสดงชุดเรือมอันเร เรือมอันเรหรือกระทบสาก มีชื่อเสียงในกลุ่มวัฒนธรรมไทย-เขมร เริ่มเล่นตามลานบ้าน หลังจากตำข้าวเสร็จจะมีหนุ่มมาแสดงความสามารถเอาสากมากระทบแล้วกระโดดข้ามสากเข้า-ออก ต่อมานิยมเล่นในเทศกาลตรุษต่างๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ เป็นต้น ผู้แสดงทั้งหญิงและชาย มีผู้กระทบสากเป็นชาย 2 คน อยู่คนละข้าง การแต่งกายหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน สวมเสื้อแขนสามส่วนหรือแขนยาว คล้องผ้าเฉียงบ่า ส่วนชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าคล้องไหล่และผ้าคาดพุง
การแสดงเรือมอันเรจะเริ่มต้นตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
จังหวะถวายครู เป็นจังหวะเริ่มมีจังหวะเร็วผู้เต้นเข้าสาก
จังหวะเจิงมุย เป็นจังหวะช้า ผู้เต้นเข้าสากขาเดียว
จังหวะเจิงปริ เป็นจังหวะเร็ว ผู้เต้นจะเต้นและรำเข้าสากสองขา
จังหวะมะลบโดง (ร่มมะพร้าว) เป็นจังหวะช้า เน้นการรำที่อ่อนช้อยสวยงาม
ต่อจากนี้จะเป็นจังหวะเร็ว เต้นท่าพลิกแพลง เป็นท่ากายกรรมและเป็นจังหวะช้า อำลา ผู้เต้นถือพานดอกไม้หรือขันน้ำประพรมผู้ชม

 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์