:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบโครงสร้างกระดูก
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบประสาท
ระบบย่อยอาหาร
ระบบอวัยวะรับสัมผัส
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

                                                                     ระบบย่อยอาหาร

การย่อยและการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้ว อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

   1. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร

ปาก  เป็นอวัยวะส่วนแรกของระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร
ลิ้น ทำหน้าที่ในการรับรสอาหารและคลุกเคล้าอาหารให้เป็นก้อนแล้วช่วยส่งทางเดินอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารส่วนถัดไปต่อมน้ำลาย สร้างน้ำลาย น้ำลายประกอบด้วยน้ำร้อยละ 97-99 เมือก น้ำย่อยอะไมเลส สำหรับย่อยแป้งและสารอื่นๆ อีกเล็กน้อยน้ำลายหลั่งออกมาวันละ 1,000-1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร pH อยู่ระหว่าง 6.2-7.4 ต่อมน้ำลายมี 3 คู่คือ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น ต่อน้ำลายใต่ขากรรไกร ต่อมน้ำลายข้างกกหู

ที่มาของภาพ  www.thaigoodview.com

คอหอย  หลังจากที่อาหารถูกเคี้ยว และผสมกับน้ำลายจนอ่อนนิ่มแล้วอาหาร็พร้อมที่จะถูกกลืนโดยลิ้นจะดันก้อนอาหารไปทางด้านหลังให้ลงสู่ช่องคอ
หลอดอาหาร  ไม่มีหน้าต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย แต่การย่อยอาหารยังมีอยู่เนื่องจากน้ำย่อยอะไมเลสจากน้ำลาย เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่หลอดอาหารจะทำให้เกิดการหดตัวของผนังกล้ามเนื้อหลอดอาหารให้หดตัวติดต่อกันเป็นลูกคลื่น ซึ่งเรียกว่า เพอริสทัลซิส ไล่ให้อาหารตกลงสู่กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร   กระเพาะอาหารของคนอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลมกระเพาะอาหารแบ่งออก เป็น 4 ส่วน คือ ส่วนของคาร์เดีย คือกระเพาะอาหารส่วนที่อยู่ติดกับหลอดอาหาร ส่วนที่อยู่เหนือช่องที่เปิดเข้ากระเพาะอาหารอยู่ทางส่วนบนคือ ฟันดัส ส่วนที่อยู่ติดกับลำไส้เล็กส่วนต้นคือ ไพลอรัส ส่วนที่อยู่ตรงกลางซึ่งเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือตัวกระเพาะชั้นมิวโคซา บริเวณตัวกระเพาะของกระเพาะอาหารจะมีความหนามากที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นนูนขึ้นไปตามความยาวของกระเพาะอาหาร ซึ่งเรียกว่ารูกี้ ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของกระเพาะอาหารทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างสารและย่อยอาหารเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้กระเพาะสามาถเพิ่มและขยายขนาดขณะรับประทานอาหารได้ถึง 1,000 – 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร กระเพาะเมื่อไม่ได้บรรจุอาหาร มีปริมาณพียง 50 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น
ในปกติจะหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารวันละประมาณ 3 ลิตร โดยน้ำย่อยของกระเพาะอาหารเป็นน้ำใสๆ มีน้ำประมาณร้อยละ 99.4 มีความถ่วงจำเพาะ 1.000 – 1.003
pH ประมาณ 1.2 – 1.7 มีความเป็นกรดสูงมาก

  1. Pepsinogen  ย่อยสาพวกโปรตีนให้เป็นเพปโทนและโพรทีโอส
  2. Prorennin    เปลี่ยนโปรตีนในนมโดยรวมกับแคลเซียมให้เป็นนมที่ตกตะกอน การที่นมตกตะกอนมีลักษณะเป็นลิ่มๆ นี้ จะทำให้มีเวลาอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้นและเพปซินจะได้ย่อยได้มากขึ้น
  3. Lipase   ทำงานได้ดีเมื่อ pH ประมาณ 8 ซึ่งเป็นเบสอ่อนๆ แต่ไม่ถูกทำลายด้วยกรด ดังนั้นเมื่อไขมันและลิเพสผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กจึงทำการย่อยได้

ที่มาของภาพ  www.school.obec.go.th

ลำไส้เล็ก เป็นส่วยที่ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมสารอาหารมากที่สุด ลำไส้เล็กมี
ลักษณะคล้ายท่อยาว ยาวประมาณ 7 เมตร และมีความกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร
ลำไส้ใหญ่  ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.50 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
   Caecum ทำหน้าที่รับกากาอาหารจากลำไส้เล็ก ที่ซีกัมมีส่วนของไส้ติ่งยื่นออกมา
   Colon  มีหน้าที่ในการดูดซึมน้ำและพวกวิตามินบี 12 ที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่สร้างสร้างขึ้นและขับลำไส้ใหญ่เข้าสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนต่อไป
   Rectum  เมื่อกากาอาหาถูกส่งเข้าสู่ไส้ตรงจะทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายขึ้น เพราะความดันในไส้ตรงเพิ่มขึ้นเป็นผลให้กล้ามเนื้อหูรูดที่ทวารหนักอันใน ซึ่งทำงานนอกเหนือจิตใจเปิดออก แต่กล้ามเนื้อหูรูดที่ทวารหนักอันนอกเปิดออกเมื่อร่างกายต้องการ ซึ่งจะทำให้กเดการถ่ายอุจจาะออกทางทวาหนักต่อไป

   2. อวัยวะช่วยย่อยอาหาร ประกอบด้วย

ตับ
- ตับเป็นต่อมขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่ใต้กะบังลม ทำหน้าที่หลายประการคือ
- สร้างพลาสมาโปรตีน
- เก็บสะสมกลูโคส ในรูปของไกลโคเจน
- สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีและปล่อยเข้าสู่ดูโอดีนัม
- สร้างกลูโคสและไกลโคเจน จากไขมันและโปรตีน
- สร้างแอมโมเนีย
- ช่วยกำจัดสารพิษ บางชนิดที่เข้าส่างกาย
ตับอ่อน
- ตับอ่อนมีรูปร่างคล้ายใบไม้อยู่บริเวณส่วนใต้ของกระเพาะอาหารมีหน้าที่ดังนี้
- สร้างน้ำย่อยจากตับอ่อน ทำหน้าที่ย่อยอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
- สร้างฮอร์โมนที่ตับอ่อนที่ต่อมไร้ท่อ สร้างฮอร์โมนอินซูลิน และฮอร์โมนกลูคากอน ช่วย-  ---- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์