:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบโครงสร้างกระดูก
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบประสาท
ระบบย่อยอาหาร
ระบบอวัยวะรับสัมผัส
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

ระบบกล้ามเนื้อ

                กล้ามเนื้อ เป็นตัวที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยทำงานร่วมกับระบบกระดูก กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
    

      1. กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อชนิดนี้ มีลักษณะสำคัญคือเส้นใยมีลายตามขวาง มัดกล้ามเนื้อ ยึดเกาะอยู่กับกระดูก การทำงาน อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่นกล้ามเนื้อที่แขน ขา หน้า และลำคอ เป็นต้น  เมื่อศึกษาโครงสร้างโดยละเอียดของกล้ามเนื้อพบว่าประกอบด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อ จำนวนมากมาย แต่บะเส้นใยจะพบว่า เส้นหรือแถบที่จากและทึบสลับกันไปโดยตลอด แต่ละแถบมีชื่อเฉพาะไป คือ A band , H band , I band , Z line ระหว่าง Z line หรือเส้น z เรียกว่า ซาร์โคเมียร์ ทำหน้าที่ในการหดตัว เมื่อซาร์โคเมียร์หลายๆซาร์โคเมียร์ หดตัวก็เป็นผลให้มัดกล้ามเนื้อมัดนั้นหดตัวขึ้น มัดกล้ามเนื้อเกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อแต่ละเซลล์รวมกันเข้าโดยเยื่อหุ้ม เยื่อนี้เรียกว่า เอ็นโดไมเซียม กลุ่มเซลล์ที่อยู่ภายในเยื่อเอนโดไมเซียมรวมเข้าด้วยกัน โดยมีเยื่อหุ้มเรียกเยื่อหุ้มนี้ว่า เพริไมเซียม เกิดเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ขึ้นแล้วแต่ละมัดภายในเพริไมเซียมจะรวมกันเป็นมัดใหญ่โดยมีเยื่อเอพิไมเซียมหุ้มอีกชั้นหนึ่ง และยังช่วยยึดให้มัดกล้ามเนื้อยึดติดกับกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ด้วย   

 ที่มาของภาพ www.tonpam.files.wordpress.com

         เยื่อหุ้มเอพิไมเซียมที่อยู่ปลายมัดกล้ามเนื้อเป็นเอ็นที่เรียกว่าเทนดอนทำหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูกเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวได้เอ็นบางตำแหน่งจะแบนเป็นแผ่นเรียกว่าพังผืดที่เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อระดับต่างๆนี้จะเป็นทางผ่านของเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้ออีกด้วย ภายในเส้นใยกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อประกอบด้วย โปรตีนสำคัญ 2 ชนิด คือแอกทิน และไมโอซิน เรียงตัวกันเป็นเส้นใยเรียกว่า ไมโคฟิลาเมนต์ A band เกิดจากโปรตีนชนิดไมโอซิน แถบนี้จะเป็นสีเข้มส่วน I band เกิดจากโปรตีนชนิด แอกทิน แถบจะเป็นสีจางกว่า เซลล์กล้ามเนื้อมีท่อล้อมอบอยู่มากดรียกว่าซาโคพลาสมิกเรทิคิวลัม ท่อนี้มีทั้งตามยาวและตามขวางของเซลล์กล้ามเนื้อเรียกท่อนี้ว่า ทีทิวบ์ ซึ่งทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อรวมทั้งมีพวกไอออนของสารเช่น   ช่วยในการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ การอธิบายการหดกล้ามเนื้ออธิบายโดยโมเดล อินเตอร์ดิจิเตติ่งฟิลาเมนต์ โดยที่ใยกล้ามเนื้อแต่ละใย มีการเรียงตัวของโปรตีนแอกทินและไมโอซินเหลื่อมซ้อนกันโปรตีนไมโอซินมีส่วนที่ยื่นออกมาด้านข้าง มีลักษณะเหมือนใบพายเรียกว่า ครอสบริดจ์ ส่วนโปรตีนแอกทินไม่มี เมื่อกล้ามเนื้ออยู่ในสภายพักครอสบริดสจ์ของโปรตีนไมโอซินจะไม่ติดกับโปรตีนแอกทิน การทำงานของกล้ามเนื้อจึงเป็นการหดตัวโดยขณะที่หดตัวจะเกิดแรงดึงที่ปลายมัดกล้ามเนื้อทำให้อวัยวะที่อยู่ปลายมัดกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวตามได้ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่การเคลื่อนไหวต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นคู่ๆและจะทำงานตรงกันข้ามคือกล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว กล้ามเนื้อที่กดตัวและทำให้ส่วนของร่างกายงอเข้าด้านใน เรียกว่า กล้ามเนื้อเฟกเซอร์ ทำให้มีข้อมืองอเข้าด้านใน กล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่งคือกล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์เมื่อหดตัวแล้วทำให้ส่วนของร่างกายเหยียดออกไปทั้งกล้ามเนื้อเฟลกเชอร์และกล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์จะทำงานร่วมกันเสมอ และการทำงานจะเป็นลักษณะตรงกันข้ามซึ่งเรียกการทำงานแบบนี้ว่าแอนทาโกนิซึม

     ที่มาของภาพ  www.server.thaigoodview.com

     2. กล้ามเนื้อเรียบ เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลายตามขวางเซลล์กล้ามเนื้อมีรูปร่างเป็นรูปกระสวย กล้ามเนื้อเรียบทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ
     

     3. กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจมีลายคล้ายกล้ามเนื้อลาย การทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักสุดเนื่องจากต้องทำงานไปตลอดชีวิตของเจ้าของไม่มีกาหยุดเลย

 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์