:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบโครงสร้างกระดูก
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบประสาท
ระบบย่อยอาหาร
ระบบอวัยวะรับสัมผัส
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

                                                                        ระบบทางเดินหายใจ

ที่มาของภาพ  www.ic-enzyme.com

        จมูกและปาก  ทั้งจมูกและปากจะต่อถึงคอหอยและหลอดลมคอได้ อากาศเมื่อเข้าสู่รูจมูกแล้วก็จะเข้าสู่โพรงจมูกที่โพรงจมูกมีขนเส้นเล็กๆ และต่อมน้ำมันช่วยในการกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนาช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้นและมีอุณภูมิสูงขึ้น เนื่องจากมีเส้นเลือดจำนวนมากที่อยู่ใต้เยื่อบุผิวของโพรงจมูกถ้าหากเป็นหวัดนานๆ เชื้อหวัดอาจทำให้ เยื่อบุโพรงอากาสบริเวณจมูกอักเสบ และทำให้ปวดศรีษะ ซึ่งเรียกว่าไซนัสขึ้นได้ ในจมูกมีบริเวณซึ่งเรียกว่า ออลแฟกทอรีแอเรียหรือบริเวณที่ทำหน้าที่รับกลิ่น
            คอหอย   เป็นบริเวณที่พบกันของช่องอากาศจากจมูก ช่องอาหารของปาก กล่องเสียงจากหลอดลมคอ หลอดอาหารและช่องจมูกจากหูคือหลอดยูสเมเชียน อากาศเมื่อคอหอยจะเข้าสู่กล่องเสียงที่กล่องเสียงมีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการปิดเปิดกล่องเสียงเรียกว่า เอพิกลอททิส ป้องกันไม่ให้อากาศตกสู่หลอดลมคอ ที่กล่องมีเยื่อเมือกที่มีใยเอ็นยืดหยุ่นได้เรียกว่า เส้นเสียง เมื่อลมผ่านกล่องเสียงทำให้เส้นเสียงสั่นและเกิดเป็นเสียงขึ้น

ที่มาของภาพ  www.school.obec.go.th

            หลอดลมคอ  เป็นท่อกลวงมีผนังแข็งและหนา เพราะประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนรูปเกือกม้าเรียงตัวกันเป็นหลอด ทำให้หลอดลมคอไม่แฟบและการที่กระดูดอ่อนของหลอดลมคอเป็นรูปเกือกม้าทำให้หลอดอาหาร ซึ่งอยู่ด้านหลังสามารถขยายขนาดได้เมื่อมีการกลืนอาหารผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหา หลอดลมคอของผู้ใหญ่ยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร โดยเริ่มจากกระดูกคอชิ้นที่ 6 จนถึงกระดูกอกชิ้นที่ 5 แล้วจึงแตกแขนงเป็นหลอดลมซ้ายขวาเข้าสู่ปอดซ้ายขวาอีกทีหนึ่ง หลอดลมคอส่วนต้นๆ มีต่อมไทรอยด์คลุมอยู่ทางด้านหน้า ทางด้านนอกของหลอดลมคอมีต่อมน้ำเหลืองกระจายอยู่เป็นกลุ่มๆ
        หลอดลม   เป็นส่วนที่แตกแขนงแยกออกจากหลอดลมคอ แบ่งออกเป็น 2 กิ่ง คือซ้ายและขวาโดยกิ่งซ้ายจะเข้าสู่ปอด และกิ่งขวาจะแยกเข้าปอดขวาพร้อมกับเส้นเลือดและเส้นประสาทซึ่งเข้าสู่ปอดทั้งสองข้างด้วย
        ถุงลมและถุงลมย่อย   ถุงลมเป็นช่องว่างที่มีถุงลมย่อยๆ หลายๆ ถุงมาเปิดเข้าที่ช่องว่างส่วนนี้ ส่วนถุงลมย่อยมีลักษณะเป็นถุงหกเหลี่ยมมีเซลล์พิเศษหลั่งสารพวกฟอสฟอลิพิดเรียกว่า เซอร์แฟกแทนต์ เข้าสู่ถุงลมย่อยเพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลมย่อยทำให้ไม่ติดกันเมื่อปอดแฟบเวลาหายใจออกผนังของถุงลมย่อยที่ติดกันจะรวมกัน เป็นอินเตอร์อัลวีโอลาร์เซปตัม ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายในโดยถุงลมย่อยแต่ละถุงจะมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงประมาณ 1,000 เส้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงมากที่สุดของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีรูซึ่งเป็นช่องว่างติดต่อระหว่างถุงลมย่อยทำให้อากาศภายในถุงลมย่อยมีแรงดันเท่ากันทั้งปอด ทั้งถุงลมและถุงลมย่อยเรียกรวมกันว่าถุงลมปอด ปอดทั้งสองข้างมีถุงลมปอดประมาณ 300 ล้านถุง แต่ละถุงมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.25 มิลลิเมตร คิดเป็นพื้นที่ผิวทั้งหมดของการแลกเปลี่ยนก๊าซของถุงลมปอดทั้งสองข้าง ประมาณ 90 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 40 เท่าของพื้นที่ผิวร่างกาย ซึ่งมีพื้นที่เทียบได้กับสนามเทนนิส 1 สนาม การที่ปอดยืดหยุ่นได้ดีและขยายตัวได้มาก ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากและรวดเร็วจนเป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าปอดของคนเป็นอวัยวะที่เหมาะสมที่สุดในการแลกเปลี่ยนก๊าซสำหรับการหายใจ

ที่มาของภาพ  www. school.obec.go.th

        ปอด  เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการหายใจ ปอดตั้งอยู่ภายในทรวงอก มีปริมาตรประมาณ 2 ใน 3 ของทรวงอก ปอดขวาจะสั้นกว่าปอดซ้าย เนื่องจากตับซึ่งอยู่ด้านล่างดันขึ้นมา ส่วนปอดซ้ายจะแคบกว่าปอดขวา เพราะมีหัวใจแทรกอยู่ ปอดมีเยื้อหุ้มปอด 2 ชั้น ชั้นนอกติดกับผนังช่องอกเรียกว่า พาเรียทอลพลิวรา ชั้นในติดกับผนังของปอดเรียกว่า วิสเซอรอลพลิวรา ระหว่างเยื่อทั้งสองชั้นมีของเหลวที่เรียกว่า พลิวรอลฟลูอิด เคลือบอยู่ การแฟบและขยายของปอดจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของอากาศที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจน และถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกตามที่ร่างกายต้องการ

 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์