สถานที่สำคัญ

          เมืองชากังราวหรือกำแพงเพชรในปัจจุบัน ในอดีตเป็นเมืองร่วมสมัยเดียวกับ เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก พิจิตร มีโบราณสถานที่สำคัญปรากฎอยู่มากมายในพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง นอกจากนี้แล้วเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่ง “มรดกไทย”แล้ว องค์ดารศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยังได้รับการขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งนี้ไว้ในบัญชี “ มรดกโลก”
นอกจากนี้แล้วกำแพงเพชรยังมีอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสน- เขาสนามเพียง 1 แห่ง
กำแพงเพชรแบ่งโบราณสถานออกเป็น 4กลุ่มดังนี้

      โบราณสถานกลุ่มที่ 1 บริเวณภายในกำแพงเมืองประกอบไปด้วยโบราณที่สำคัญ 14 แห่ง ที่สำคัญดังนี้
          1.วัดพระแก้ว  เป็นพระอารามหลวงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางใจเมืองใกล้ๆกับบริเวณที่สันนิฐานว่าเป็นพระราชวังเช่นเดียวกับวัดที่พระบรมธาตุที่สุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญที่พระนครศรีอยุธยา แผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผ้าขนานไปกับกำแพงเมือง กำแพงวัด และสิ่งปลูกสร้างในบริเวณวัดเป็นศิลาแลงแทบทั้งหมดตรงกลางพื้นที่วัดมีเจดีย์ปะธานองค์ใหญ่ องค์เจดีย์เป็นรูปทรงลังกา ฐานเป็นสี่เหลี่ยมและมีซุ้มคูหาโดยรอบองค์เจดีย์ แต่ปัจจุบันชำรุดไปหมดแล้วแต่ได้รับการขุดแต่งได้พบฐานเจดีย์แบบต่างๆรวมกันได้ 35 ฐาน วิหารใหญ่เล็ก 8วิหาร ซึงแสดงความยิ่งใหญ่และความสำคัญของวัดว่าอาจเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์มาก่อน
          2.วัดพระธาตุ   เป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วที่อยู่ในกำแพงเมือง รูปทรงแบบพม่า มีเจดีย์ที่ก่อด้วยศิลาแลงปนอิฐ ฐานทรงสี่เหลี่ยมกว้าง 15 เมตร ล้อมรอบด้วนระเบียงคด วัดนี้มีการขุดแต่งและบูรณะแล้วพบว่ามีลักษณะคล้ายวัดสระศรีที่เมืองสุโขทัยเก่าแต่ลัษณะเจดีย์เป็ยแบบกำแพงเพชร
          3.สระมน  ตั้งอยู่ทางเหนือของวัดพระแก้ว มีกำแพงดินรูปสี่เหลี่ยมอยู่เกือบติดกำแพงเมืองด้านเหนือ ภายในกำแพงมีคูดินคันดินล้อม 3ด้าน ตรงกลางขุดเป็นสระมน เป็นสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ 16เมตร เข้าใจว่าบริเวรสระมนนี้เคยเป็นวังมาก่อน
          4. ศาลพระอิศวร  อยู่ด้านหลังของศาลของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเทวสถานที่สำคัญ มีเทวรูปสำคัญอยู่หลายองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทวรูปสำริดซึ่งมีจารึกว่า “ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช”ให้สร้างเทวรูปนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2053 ศาลนี้มีลัษณะฐานเป็นสี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งปัจจุบันองค์จริงประดิษฐานเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร
          5. ป้อม คูเมือง กำแพงเมือง  ในอดีตนั้นเป็นเมืองหน้าด่าน ซึงต้องรับข้าศึกเสมอ จึงมีการสร้างป้อมค่ายคูประตูเมือง เพื่อตั้งรับข้าศึกหลังจากนั้นได้มีการซ่อมแนวกำแพงและป้อมต่างๆ ให้คงสภาพสมบูรณ์มั่นคง จากคันดินกลายเป็นกำแพงศิลา มีป้อมประจำมุมเมือง ประตูเมืองเป็นแบบยุโรป

      โบราณสถานกลุ่มที่ 2 บริเวณเขตอรัญญิกด้านเหนือของกำแพงเมืองประกอบด้วยโบราณสถานขนาดใหญ่ 40 แห่ง ซึ่งมีวัดขนาดใหญ่ เช่น
          1. วัดป่ามืด  วัดนี้ยังไม่ได้รับการตกแต่งและบูรณะ สภาพทั่วไปยังเป็นป่าปกคลุมโบราณสถานอยู่ วัดนี้มีเจดีย์ทรงลังกา ด้านหน้าเป็นเจดีย์เรียงราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบ
          2. วัดพระนอน  เป็นวัดที่ได้รับการขุดและการตกแต่ง มีกำแพงศิลาแลงปักล้อมวัดไว้ทั้ง 4 ทิศ ด้านหน้าวัดตรงขวามือมีบ่อน้ำรูปทรงสี่เหลี่ยมมีห้องอาบน้ำและศาลาน้ำ ซึ่งมีฐานและเสาเป็นศิลาแลงขนาด 1 เมตร ยาว 1.1 เมตร สูง 6.4 เมตร ซึ่งเสานี้ตัดมาจากแหล่งกำเนิดทั้งแท่ง นับเป็นเสาศิลาแลงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เสาโบสถ์ทำด้วยศิลาแลงรูปแปดเหลี่ยมแท่งใหญ่ ใบเสมาที่หลงเหลืออยู่นั้นสลักเป็นรูปเทพนมและอื่นๆ ประกอบลวดลายงดงาม ด้านหลังโบสถ์มีวิหารพระนอนรูปสี่เหลี่ยม กว้าง 25 เมตร มีเสา 6 แถว 6 ห้อง ตรงกลางวิหารมีผนังศิลาแลงขนาดใหญ่ผนังเจาะเป็นลูกกรงยาวๆ เสาวิหารรูปสี่เหลี่ยมทั้งแท่ง มีความกว้าง 1 เมตรเศษ ยาว 4-5 เมตร จำนวน 12 ต้น มีน้ำหนักประมาณต้นละ 30 ตัน นับเป็นเสาขนาดใหญ่หาดูได้ยาก ด้านหลังพระนอนเป็นฐานพระนั่ง ต่อจากวิหารพระนอนมีเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลงใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง 20.50 เมตร ตอนบนเป็นฐานปัทม์บัวคว่ำและบัวปากระฆัง ตอนบนเป็นบัลลังก์ยอดหัก ด้านหลังเจดีย์นี้เป็นซุ้มพระ มีวิหารขนาดย่อมอยู่ข้างหน้า และมีฐานเจดีย์รายอีก 15 ฐาน นับว่าเป็นวัดใหญ่แห่งหนึ่ง
          3. วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน  วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัดทำด้วยศิลาแลงปักล้อม 4 ด้านทางเข้าปูด้วยศิลาแลง มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยม และมีทับหลังลูกกรงเตี้ย ด้านหลังพระวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระสี่อิริยาบท รอบมณฑปมีกำแพงแก้วเตี้ยๆปัจจุบันเหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2ข้าง เป็นมณฑปสี่หน้า ด้านหน้ามีพระพุทธรูปปางลีลา ด้านเหนือมีพระพุทธรูปนอนหันเศียรไปทางตะวันออก พระพุทธรูปปูนปั้นนี้ เป็นพุทธศิลป์แบบสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชรซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเท่านั้น
          4. วัดพระสิงค์  เป็นวัดที่สันนิฐานว่าใช้เวลาสร้างถึงสองสมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยากำแพงสร้างโดยศิลาแลงโดยรอบ ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อกรุด้วยศิลาแลง
           5. วัดช้างรอบ  เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่บนเนินสูงมีเจดีย์ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับด้วยช้างปูนปั้นแค่ 2 ขาหน้าอยู่รอบเจดีย์ หันศีรษะออกจากเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปต้นศรีมหาโพธิ์ กับมีรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่อยู่ในสภาพชำรุด ทางขึ้นไปบนฐานประทักษิณมีบันไดทั้งสี่ด้านตรงเชิงบันไดมีรูปสิงค์หักอยู่ที่ฐานเขียงแปดเหลี่ยมทรงลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จด้านหน้าหนึ่งห้อง ถัดไปเป็นสระสี่เหลี่ยมซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง ที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ยังได้พบดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปเทวดา และหน้ามนุษย์

 

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมปีที่5/2
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์