หน้าแรก
ปลาตะเพียน
ปลาตะพัด
ปลาซิว
ปลาช่อน
ปลาแขยง
ปลาเสือ
ปลากะโห้
สรุป
คณะผู้จัดทำ
เว็บไซต์ครูผู้สอน

 

 

ปลาตะเพียน

 

 

           ถ้ากล่าวถึง  “ปลาตะเพียน”   คนไทยทุกคนย่อมจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี  เพราะเป็นสัตว์น้ำที่นำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนูจนกล่าวได้ว่าเป็นปลาคู่ครัวไทยเลยทีเดียว


 ลักษณะจำเพาะ

          ปลาตะเพียน  เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี  ลักษณะลำตัวอ้วนป้อม  ส่วนหัวเล็กเรียว  เกล็ดใหญ่  ปากเล็ก  จะมีลักษณะที่แตกต่างจากพวกเดียวกันคือ  มีก้านครีบอ่อนของครีบก้นอยู่ ๖ ก้าน  ส่วนชนิดอื่นมี ๕ ก้าน  สีของลำตัวเป็นสีเขียวอมฟ้า  ด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา  ท้องสีขาว  สีลำตัวดูซีดๆไม่สดใสนักตามลำตัวมีเส้นประสีดำพาดยาวตลอดลำตัว  ครีบก้นสีเหลืองปนส้ม  ครีบหลังสูงมีก้านครีบแข็งแฉกกลางเล็กน้อย  ครีบท้องมี ๑ คู่  และครีบก้นมีก้านครีบแข็งมีแฉกคล้ายครีบหลัง  ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ปราดเปรียว  ว่ายน้ำรวดเร็ว  และกระโดดได้สูงมาก

การดำรงชีวิต

                         
            ปลาตะเพียนเป็นปลาที่รักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงนองจากเวลาสืบพันธุ์หรือวางไข่  มีความว่องไวปราดเปรียว  ชอบหลบซ่อนตามแม่น้ำ  ลำคลอง  หนอง  บึง  ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน  หรือน้ำนิ่ง  เป็นปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย  อาหารของปลาชนิดนี้คือ  เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว  สาหร่าย  ตะไคร่น้ำซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย  แพลงก์ตอน  และไรน้ำ

          ปลาตะเพียนมีฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่ค่อยแน่นอน  สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว  และมีไข่ปริมาณมาก  จึงทำให้มีอัตราการรอดชีวิตมากตามไปด้วย  เมื่อไข่ฟักแล้วปลาตะเพียนจะว่ายรวมกันเป็นฝูงใหญ่  และหากินรวมกัน

ถิ่นที่อยู่อาศัย

         

            ปลาตะเพียนสามารถพบได้ตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่งในภาคกลาง  ภาคเหนือ  และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  ไม่ค่อยพบทางภาคใต้


          ในวรรณคดีไทยได้กล่าวถึงปลาตะเพียนไว้หลายเรื่อง เช่น ในนิราศพระแท่นดงรัง บทประพันธ์ของสุนทรภู่ กล่าวว่าเมื่อไปถึงบ้านท่าเรือ  ท่านสุนทรภู่นำเรือเข้าที่จอดเรือเพื่อค้างคืน รุ่งขึ้นจะขึ้นเกวียนเดินทางไปพระแท่นดงรัง 

                ท่านได้กล่าวชมความงามของปลาตะเพียนไว้  ดังความว่า

 

                                    “จนแจ่มแจ้งแสงตะวันฉันอาหาร         

                                       โปรยให้ทานปลาคล่ำในน้ำไหล
                                        ปลาแก้มช้ำน้ำเงินงามประไพ                        

                                       มาใกล้ใกล้เกลื่อนกลาดดาษเดียร
                                      ทั้งซิวซ่าปลากระแหแลสลับ                            

                                       ดูกลอกกลับกลุ้มกลัดฉวัดเฉวียน
                                       โอ้น่ารักหนักหนาปลาตะเพียน                      

                                  เกล็ดเหมือนเขียนครีบหางกระจ่างตา
                                        ด้วยน้ำไหลใสสว่างอย่างกระจก                         

                                         เที่ยวหันหกเห็นถนัดตัวมัจฉา
                                         พอพวกพ้องของศิษย์พระบิดา                           

                                         มาวันทาขอถวายเกียนควายมี ฯ”

 

ที่มา: พิมพ์ครั้งที่  ๒
บริษัท  อักษรเจริญทัศน์ อจท.  จำกัด
142ถ. แพร่งสรรพศาสตร์  เขตพระนคร  กทม. 10200

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์