หน้าแรก
ปลาตะเพียน
ปลาตะพัด
ปลาซิว
ปลาช่อน
ปลาแขยง
ปลาเสือ
ปลากะโห้
สรุป
คณะผู้จัดทำ
เว็บไซต์ครูผู้สอน

 

 

ปลาช่อน

        

   ”ปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยหัวที่คล้ายงู ลำตัวอวบใหญ่ และรสชาติของเนื้อที่แสนอร่อย จึงถูกจัดเป็นเมนู คู่ครัวไทยหลายอย่าง เช่น แป๊ะซะปลาช่อน ปลาช่อนเผา เป็นต้น


ลักษณะจำเพาะ

 


           ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวอวบกลมยาวเรียวทรงกระบอก ท่อนห่างแบนข้างเล็กน้อยหัวแบนลง เกล็ดใหญ่ ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กๆ บนขากรรไกรทั้ง ๒ ข้าง ทุกครีบมีก้านครีบแข็งครีบหลังและครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง ครีบหางมนกลม ครีบต่างๆ มีจุดหรือริ้วสีน้ำตาลดำ ลำตัวส่วนหลังสีดำหรือน้ำตาลเทาท้องสีขาว ข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียงเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ จึงสามารถเลื่อนไหวไปบนบก และฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ


การดำรงชีวิต

 

           ปลาช่อนเป็นปลาที่มีพละกำลังมากสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งบนบกและในน้ำ เมื่อถึงหน้าแล้ง

           ปลาช่อนจะฝังตัวอยู่ในโคลนคล้ายกับการจำศีลของกบเพราะเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจและมีเกล็ดที่สามารถทนกับดินโคลนได้ดี จึงไม่ทำให้เกล็ดแห้งเวลาอยู่ในโคลน และจัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก
          ปลาช่อนจะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน และจะวางไข่เป็นกลุ่มจำนวนมากอยู่ในฟองที่สร้างขึ้นติดกับกอหญ้าหรือกิ่งไม้ ไข่พอฟักจะออกมาเป็นตัวขนาดเล็กสีแดง เรียกว่า “ลูกครอก”แม่ปลาจะดูแลลูกจนกว่าจะโตพอหากินเองได้ โดยจะว่ายนำลูกหากิน และป้องกันภัยให้ลูกพ้นจากปลาตัวอื่น หรือนักล่าอื่นๆด้วย อาหารของปลาชนิดนี้คือ ปลาขนาดเล็กต่างๆ กุ้ง และแมลงน้ำทุกชนิด

ถิ่นที่อยู่อาศัย

          ปลาช่อนเป็นปลาประจำถิ่นสามารถพบได้ทั่วไป มีถิ่นอาศัยแพร่กระจายตามแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั้งห้วย หนองคลอง บึง และตามแม่น้ำสายหลักต่างๆทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงตามบ่อหรือแหล่งน้ำนิ่งต่างๆเพราะเป็นปลาที่มีราคาดี และเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยมาก
                     ในวรรณคดีไทยกล่าวถึงปลาช่อนไว้หลายเรื่อง เช่นในบทชมปลาของสุนทรภู่ในโคลงนิราศสุพรรณตอนคณะของท่านสุนทรภู่ไปถึงบ้านด่าน เขตอำเภอสองพี่น้อง ปรากฏว่ามรปลาชุกชุมมาก และได้กล่าวถึงปลาช่อนไว้ด้วย ดังนี้

           “ปลาชุมกลุ้มเกลื่อนท้อง ธารา                      ลอยเล่นเห็นคนถลา หลบสิ้น
สลิดสลาดสลับปลา ช่อนดุก พลุกแฮ                        กระดี่กระดิกกระเดือกดิ้น กระโดดเหล้นเห็นตัว ฯ”

 

ที่มา: พิมพ์ครั้งที่  ๒
บริษัท  อักษรเจริญทัศน์ อจท.  จำกัด
142ถ. แพร่งสรรพศาสตร์  เขตพระนคร  กทม. 10200

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์