. . . . . . [  วิธีการปลูกว่านหางจระเข้  ] . . . . . .                                              . . . . . . [   วิธีดูแลรักษาว่านหางจระเข้  ] . . . . . .

. . . . . . [  วิธีการดูแลรักษาไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันมากนัก ถึงแม้ว่า ว่านหางจระเข้ปลูกง่ายก็จริงแต่จะปลูกให้งามหรือให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นยากพอตัว  ] . . . . . .                                              . . . . . . [   ถ้าจะนำว่านหางจระเข้ไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องดูแลรักษาดังนี้  ] . . . . . .

ข้อมูลแก้ไขล่าสุดวันศุกร์, 28 กันยายน 2544

 

แก้ไขข้อมูลใหม่สุดวัน อาทิตย์, 23 ธันวาคม 2544

ว่านหางจระเข้ (Aloe) Aloe barbadensis Mill LILICEAE
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ตำรายาไทย

ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย มีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่า วุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้มีน้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรัง ตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี

วิธีใช้

ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

 

BackHome Next

 


วิธีปลูกว่านหางจระเข้

       ถึงแม้ว่านหางจระเข้เป็นต้นไม้ทนแล้งตายยากก็จริง แต่การปลูกให้งามนั้นออกจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับต้นไม้ ดังนั้นท่านที่มือใหม่ควรจะมีความรู้เหล่านี้ก่อนปลูก เพื่อที่จะได้ต้นวว่านงอกงามสมใจ

การเตรียมดิน

  • ว่านหางจระเข้ชอบดินร่วนซุย ถ้าดินเหนียวมากให้ผสมใบไม้แห้งผุ และทรายลงไป ดินควรใส่ปุ๋ยด้วย ให้ใช้คอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ กทม. ๒ ไม้ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
  • ก่อนนำดินมาผสมต้องย่อยดินเป็นก่อนเล็กที่สุดเสียก่อน เอาดินมา ๓ ส่วน ผสมใบไม้แห้งผุที่ย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ๒ ส่วน ผสมปุ๋ย ๑ ส่วน ผสมทราย ๐.๕ ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน จะได้ดินร่วนซุยที่เหมาะกับว่านหางจระเข้

       ปลูกลงดินหรือปลูกในกระถางดี

  • ว่านหางจระเข้ปลูกในกระถางก็งามได้ มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกระถางทรงลึกและใบใหญ่ ขนาดปากกว้าง ๑ ฟุตขึ้นไป แต่ถ้าปลูกลงดินจะโตได้เร็วกว่า

 

       สถานที่ปลูก

  • แสงแดด
    ว่านหางจระเข้ไม้ชอบแดดจัด ควรให้ว่านได้ถูกแดดตั้งแต่ตอนเช้าถึงสิบเอ็ดโมงเช้า และได้ร่มตั้งแต่นั้นจนถึงเย็น หรือปลูกในที่ร่มรำไรตลอดวันก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ถูกแดดตอนเที่ยงและตอนบ่าย
  • ระดับพื้นที่
    บริเวณที่ปลูกว่านหางจระเข้ไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำกว่าบริเวณที่อยู่รอบๆ ควรสูงกว่าหรืออย่างน้อยก็เสมือนบริเวณที่อยู่รอบๆ เพราะว่านหางจระเข้ไม่ชอบบริเวณพื้นที่มีน้ำขัง ชอบดินที่ระบายน้ำดี
  • น้ำค้าง
    ไม่ควรปลูกใต้ชายคาหรือบริเวณที่น้ำค้างลงไม่ถึง

การเลือกต้นปลูก

  • ต้นว่านหางจระเข้ยิ่งโตยิ่งปลูกง่าย ถ้าต้นเล็กเกินไปจะปลูกยาก ต้นที่นำมาปลูกได้ควรมีใบที่ยาวที่สุดประมาณ ๑ ฝ่ามือขึ้นไปหรือมีใบ ๘–๑๐ ใบแล้ว


 


วิธีดูและรักษาว่านหางจระเข้

การลงดินหรือลงกระถาง

  • ถ้าต้นว่านหางจระเข้มีลำต้นยาวมาก ควรตัดลำต้นให้สั้นลงให้เหลือลำตันเพียง 2 - 3 นิ้ว ลำต้นที่ ถูกตัดนี้จะงอกรากใหม่อย่างรวดเร็ว
  • การลงดินอย่าลงลึกไปหรือตื้นไป คืออย่าลึกจนเวลาลดน้ำดินไปกลบยอดได้ หรืออย่าตื้นจนต้นโยกเยกเวลารดน้ำ

การรดน้ำ

  • หน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ ถ้าหน้าแล้งควรลดวันละ 1 - 2 ครั้ง ให้ดินชุ่มชื้ออยู่เสมอ แต่ต้องระวังอย่ารดจนดินแฉะเกินไป

ฤดูปลูก

  • ควรปลุกใต้ฤดูฝน คือ ในดินพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน ต้นว่านหางจระเข้จะโตเร็วและไม่ต้องเสียเวลารดน้ำมาก
  • ในหน้าแล้งก็ปลูกได้แต่ต้องหมั่นรดน้ำในดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ซึ่งเสียเวลารดน้ำมากและต้นว่านหางจระเข้โตเร็วไม่เท่าฤดูฝน

การบำรุงรักษา

  • หมั่นพรวนดิน เนื่องจากว่านหางจระเข้ชอบดินร่วน ดังนั้นถ้าหากเห็นว่าดินเริ่มแข็งจับเป็นก้อนน้ำซึมผ่านไม่ดี หรือมีน้ำขังให้พรวนดินให้ร่วน
  • คอยกลบโคนต้น เมื่อต้นว่าหางจระเข้โตขึ้นเรื่อย ๆ จะมีลำต้นยืดยาวขึ้นมาเหนือพื้นดินให้คอยเอา ดินกลบต้นเสมอกลบจนดินอยู่ตืดชิดกับใบล่างสุด
  • ถอนต้นเล็ก ๆ ทิ้ง ว่านหางจระเข้แตกต้นใหม่ได้เร็วมากจึงต้องหมั่นถอนต้นใหม่ทิ้งเสมอเพราะ ต้นใหม่จะแย่งอาหารจากต้นแม่แต่อย่าถอนหมด เหลือไว้ขยายพันธุ์บ้าง
  • ใส่ปุ๋ยปีละ1-2ครั้ง
  • เปลี่ยนกระถางหรือปลูกใหม่ ถ้าปลูกในกระถางเมื่อครบปีแล้วควรเปลี่ยนดินใหม่ ต้นว่านหางจระเข้ที่ปลูกลงดิน ถ้าลำต้นอยู่พ้นจากดินมากไป ก็ตัดให้ลำต้นเหลือสั้นลงแล้วปลูกใหม่ ลำต้นที่ถูกตัดจะงอกรากใหม่


 


การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้

การขยายพันธุ์

  • ต้นใหม่ที่งอกจากต้นแม่จะโตเร็วกว่าต้นใหม่ที่แยกมาปลูกต่างหาก ดังนั้นจึงควรจะค่อยให้ต้นใหม่โตมากๆ เสียก่อนจึงค่อยแยกปลูกต้นแม่หนึ่งต้น
  • ควรเก็บพันธุ์ไม่เกิดสองต้น เพราะถ้ามีลูกมากไป ลูกจะแย้งอาหารกันเองทำให้โตช้า
  • ลูกว่านหางจระเข้ที่เก็บไว้ขยายพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ใกล้กัน ควรจะอยู่ตรงข้ามกัน

ลักษณะต้นไม้ที่เลี้ยงดูไม่ดี

  • ใบเน่าและลำต้นเน่า แสดงว่าน้ำขังมากหรือปุ๋ยมากเกิดไป
  • ใบแบนราบลงแสดงว่ารากเริ่มเน่าหรือต้นมีรากน้อยเกินไป
  • บออกสีน้ำตาลอมแดงเป็นเพราะถูกแดดมากเกินไป
  • โตช้าเพราะขาดปุ๋ยดินแข็งไม่ร่วน ขาดน้ำค้าง ถูกต้นไม้อื่นแย่งอาหารถูกแดดมากเกินไปและขาดน้ำ

ศัตรูพืช

  • ว่านหางจระเข้มีศัตรูน้อยมาก เช่นกัน เท่าที่เคยพบมี
    1. เพลี้ยกินใบ ทำให้ใบมีจุดขาว
    2. หอยทาก ใบว่านหางจระเข้ที่หอยทากกินจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหมือนถูกไฟเผา

การตัดมาใช้

  • เมื่อจะตัดใบจากลำต้นไหนก็ควรจะตัดต้นนั้นต้นเดียวไปเลื่อยๆ จนหมดแล้วจึงตัดต้นใหม่ไม่ควรตัดต้นนั้นทีต้นนี้ทีเพราะว่านหางจระเข้ที่ถูกตัดไปจะโตช้าและทำให้ลำต้นยืดยาวพ้นดินมากเกินไปทำให้ต้นว่านล้มได้ การตัดควรตัดใบล่างสุดก่อนเพราะเป็นใบแก่ที่สุดมีสรรพคุณดีที่สุด


 

   
 

[Home] [ประวัติของว่าน] [วิธีปลูกว่าน] [การนำว่านมาใช้] [การใช้รักษาโรค] [ข้อควรระวัง] [พิษจากว่าน] [ผลิตภันฑ์ว่าน] [ส่งเสริมชุมชน] [คณะผู้จัดทำ]