ข้อมูลแก้ไขล่าสุดวันศุกร์, 28 กันยายน 2544

   

BackHome Next

 


ความเป็นพิษ

สำหรับ วุ้น และ น้ำเมือก ของว่านหางจระเข้นี้ยังไม่มีรายงานการทดลองว่ามีพิษแต่อย่างใด แต่สำหรับ ยาง และลำต้นนั้นอาจเป็นพิษได้ดังรายงานการทดลองต่อไปนี้คือ

ทำให้เป็นไข้และปวดตามข้อ

ปี 2456 ประเทศฮังการี พบว่าเมื่อฉีดสาร อะโลอิน ที่ได้จากยางของว่านหางจระเข้ให้กับสุนัข จะทำให้มันเป็นไข้อยู่นาน 1 วัน และเมื่อทดลองฉีดให้กับสัตว์ปีกทุกวันๆ จะทำให้ร่างกายมันสร้างกรดยูริกเพิ่มขึ้นมากจากปกติถึง 3 เท่าตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นโรคปวดตามข้อได้

เพิ่มการหลั่งกรดในกรเพราะอาหาร

ปี 2512 ที่รัสเซีย มีการทดลองฉีดสารสกัดจากว่านหางจระเข้ให้กับสุนัขทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 20 วัน ปรากฏว่าทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อหยุดให้ยาการหลั่งกรดก็กลับสู่สภาพเดิมภายใน 2-3 วัน

ทำให้เป็นมะเร็งในจมูก

ปี 2498 อังกฤษ พบว่าลำต้นว่านหางจระเข้ (ไม่ใช่ใบ) มีสารชนิดหนึ่งชื่อ เบนโซไพริน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้คนเป็นมะเร็งในจมูก ดังสังเกตได้ว่า ชาวอาฟริกาใต้ที่ชอบนัดยานัตถุ์ที่บดจากลำต้นว่านหางจระเข้จะเป็นโรคมะเร็งในจมูกกันมาก

ใช้แล้วปวดมากขึ้น

มีคนเคยใช้ว่านหางจระเข้แล้วเกิดอาการปวดมากขึ้น คือท้าวถูกตะขามกัด ในตอนแรกใช้น้ำส้มสายชูทาอาการดีขึ้นเล็นน้อย จึงหันมาใช้ว่านหางจระเข้ พอเอาวุ้นแปะลงไปรู้สึกปวดขึ้นมาทันที เท้าบวมขึ้น ปวดทั้งขาและปวดหัวด้วย ปวดจนทนไม่ไหวจนต้องเข้าโรงพยาบาล


ข้อควรระวัง

ยาง และ ยาดำ ที่ได้จาดยางว่านหางจระเข้ ห้ามใช้กินสำหรับคนที่กำลังมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เป็นริดสีดวงทวารหรือหญิงมีครรภ์ และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมลูก เพราะอาจทำให้แท้งลูกและทำให้ลูกที่กินนมแม่ท้องเสีย

ส่วนวุ้นและน้ำเมือกว่านหางจระเข้ห้ามให้คนที่แพ้ยาต่างๆ ง่าย หรือร่างกายขาดความต้านทานยาต่างๆ เพราะกินว่านหางจระเข้เข้าไปแล้วอาจเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง

     
 

[Home] [ประวัติของว่าน] [วิธีปลูกว่าน] [การนำว่านมาใช้] [การใช้รักษาโรค] [ข้อควรระวัง] [พิษจากว่าน] [ผลิตภันฑ์ว่าน] [ส่งเสริมชุมชน] [คณะผู้จัดทำ]