เพื่อให้เข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน อาจแบ่งฮอร์โมนออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
          1. กลุ่มที่ละลายน้ำ
              กลุ่มที่ละลายน้ำได้ดีเพราะว่ามีโครงสร้างทางเคมีที่ชอบน้ำได้แก่
                 - ฮอร์โมนประเภทโปรตีน เช่น โกรทฮอร์โมน โพรแลกทิน อินซูลิน กลูคากอน แคลซิโทนิน พาราไทรอยด์ฮอร์โมน
                 - ไกลโคโปรตีน เช่น เอฟเอสเอช(FSH),แอลเอช(LH) และทีเอสเอช (TSH)
                 - เปปไทด์ เช่น ออกซิโทซิน เอดีเอช(ADH), จีเอ็นอาร์เอช(GnRH),ทีอาร์เอช(TRH) และ เอ็มเอสเอช(MSH)
                 - เอมีนฮอร์โมน เช่น อิพิเนฟริน นอร์อิพิเนฟริน
              กลุ่มนี้ ไม่สามารถแพร่เข้าไปในเยื่อหุ้มเซลล์ได้ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานผ่านตัวสื่อสัญญาณ ตัวที่สอง กระตุ้นให้มีการออกฤทธิ์ในเซลล์อีกที

              2.กลุ่มที่ละลายในไขมัน
              เป็นกลุ่มสเตรอยด์ ได้แก่ โพรเจสเทอโรน อีสโทรเจน คอร์ติซอล แอลโดสเตอโรน เนื่องจากละลายในไขมันได้ดี จึงแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ที่มีส่วนประกอบเป็นไขมันได้