ข้อมูลทั่วไปของสถานีอนามัยในพื้นที่ตำบลหนองกรด
1. สถานีอนามัยบ้านสันติธรรม
1.1 ประวัติความเป็นมา

สถานีอนามัยบ้านสันติธรรมสร้างเมื่อปี พ.ศ.2519 โดยงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 1/1 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ โดยเจ้าอาวาสวัดสันติธรรมเป็นผู้ยกให้
          ปี พ.ศ.2522 ได้เงินงบประมาณช่วยเหลืออุทกภัย เทพื้นคอนกรีตชั้นล่างของสถานีอนามัย
          ปี พ.ศ.2523 ประชาชนตำบลหนองกรดได้บริจาคเงินสร้างรั้วสถานีอนามัย 10,000 บาท
          ปี พ.ศ. 2528 ส.ส.ดิเรก สกุณาวงศ์ มอบเงิน 30,000 บาท เพื่อทาสีอนามัยใหม่และทำบันไดคอนกรีตด้านหน้า-ด้านหลังสถานีอนามัย
          ปี พ.ศ.2529 โครงการพัฒนาชุมชนมอบเงิน 30,000 บาท ให้ต่อเติมห้องคลอดพร้อมตีฝ้าเพดานในอาคารสถานีอนามัย
          ปี พ.ศ.2531 ส.ส.นายแพทย์ประสิทธิ์ พิฑูรกิจจา มอบเงิน 20,000 บาท ต่อเติมห้องพัก
ชั้นล่างของสถานีอนามัย
          ปี พ.ศ.2532 ส.ส.นายแพทย์ประสิทธิ์ พิฑูรกิจจา มอบเต็นท์ผ้าใบจำนวน 3 หลัง
          ปี พ.ศ.2533 ส.ส.นายแพทย์ประสิทธิ์ พิฑูรกิจจา มอบเงิน 5,000 บาท เพื่อซื้อ
เครื่องทำน้ำเย็นจำนวน 1 เครื่อง
          ปี พ.ศ.2540 ส.ส.ภิญโญ นิโรจน์ มอบเงิน (งบพัฒนาจังหวัด) 340,000 บาท เพื่อต่อเติมชั้นล่างของอาคารสถานีอนามัย
          ปี พ.ศ.2543 ส.ส.ภิญโญ นิโรจน์ เป็นผู้ประสานงานงบประมาณสนับสนุนการสร้างสถานีอนามัยใหม่เพื่อทดแทนสถานีอนามัยเดิมเป็นจำนวนเงิน 2,000,000 บาท
          ปี พ.ศ.2544 ต่อเติมอาคารชั้นล่างของสถานีอนามัย เพื่อเป็นห้องรักษาพยาบาลและห้องปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ งบประมาณ 300,000 บาท
จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สถานีอนามัยบ้านสันติธรรมได้รับความ ร่วมมือจากภาคเอกชนโดยตลอด เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การบริการสุขภาพดีถ้วนหน้าต่อไป

1.2 ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
          สถานีอนามัยบ้านสันติธรรม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 1/1 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
          ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านแก่งและตำบลหนองกระโดน
          ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลนากลางและตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลวัดไทรและตำบลนครสวรรค์ตก
          ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลาดยาว
ระยะทาง
          ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครสวรรค์ 13 กิโลเมตร
พื้นที่ในเขตรับผิดชอบ
          มีเขตรับผิดชอบทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ได้แก่
          หมู่ที่ 1 บ้านทัพชุมพล
          หมู่ที่ 2 บ้านดอนประดู่
          หมู่ที่ 3 บ้านสันติธรรม
          หมู่ที่ 4 บ้านดอนวัด
          หมู่ที่ 6 บ้านดอนใหญ่
          หมู่ที่ 10 บ้านหนองตะโก
          หมู่ที่ 12 บ้านหนองเขนง
          หมู่ที่ 16 บ้านหนองกระทุ่ม

ประชากร
          ชาย 2,660 คน
          หญิง 3,064 คน
          รวม 5,724 คน

สาธารณูปโภค
          มีประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 วัดสันติธรรม และหมู่ที่ 1 บ้านทัพชุมพล
      
สถิติชีพ
          จำนวนเด็กเกิดมีชีพ 23 คน อัตราเกิด 3.47 ต่อประชากรพันคน
          จำนวนคนตาย 11 คน อัตราตาย 1.66 ต่อประชากรพันคน
          จำนวนคนเพิ่ม 12 คน อัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ 0.18
          ที่มา : จากข้อมูลการสำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2547

อัตราป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
          โรค จำนวน ( ราย ) อัตราต่อแสนประชากร
          1. โรคไข้เลือดออก 6 90.64
          2. โรคอุจจาระร่วง 6 90.64
          3. โรคอาหารเป็นพิษ 3 45.32
          4. โรคอีสุกอีใส 2 30.21
          5. งูสวัด 1 15.10

สาเหตุการตายที่สำคัญ
          สาเหตุ จำนวน ( ราย ) อัตราต่อแสนประชากร
          1. โรคชรา 8 120.86
          2. โรคมะเร็ง 2 30.21
          3. โรคเบาหวาน 1 15.10

2. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านหนอ
2.1 ประวัตงเบนิความเป็นมา


สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านหนองเบน เดิมเป็นสำนักงานผดุงครรภ์           ตั้งอยู่ในบริเวณวัดศรีประชาสรรค์ (วัดเก่าหนองเบน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณของทางราชการให้สร้างสถานีอนามัยทดแทนหลังเก่า โดยย้ายมาตั้งในเขตหมู่ 15 ตำบลหนองกระโดน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 310 ตารางวา กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัดศรีประชาสรรค์ ครั้งแรกให้ชื่อสถานีอนามัยบ้านหนองกรด เปิดบริการให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2515 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนชื่อตามที่ตั้งของหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อว่า “สถานีอนามัยบ้านหนองเบน” สถานีอนามัยบ้านหนองเบนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนพ่อค้าและประชาชน โดยให้ความร่วมมือในการบริจาคเงินในการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ตลอดจนการจัดหาครุภัณฑ์และสนับสนุนในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของ สถานีอนามัยด้วยดีตลอดมา เพื่อให้การบริการประชาชนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ปี พ.ศ. 2529 สถานีอนามัยบ้านหนองเบน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานีอนามัยดีเด่นระดับอำเภอ ปี พ.ศ. 2532 สถานีอนามัยบ้านหนองเบน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานีอนามัยปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานในด้านบริการดีเด่นระดับจังหวัด ปี พ.ศ. 2535 สถานีอนามัยบ้านหนองเบน ได้งบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ 60 พรรษา ซึ่งทาง คณะกรรมการพัฒนาสถานีอนามัยได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่ เป็นเงิน 2,500,000 บาท ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเบน หมู่ที่ 7 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ทำพิธี วางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม 2535 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเมื่อ วันที่ 4 เมษายน 2536 และได้ทำพิธีเปิดป้ายสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ บ้านหนองเบน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2536

2.2 ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
          สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านหนองเบน ตั้งอยู่เลขที่ 762 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60240 โทรศัพท์ 056-296251 มีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ เป็นอาคารสถานีอนามัย 1 หลัง และบ้านพักเจ้าหน้าที่ 4 หลัง มีเขตรับผิดชอบ 2 ตำบล คือ ตำบลหนองกรด 6 หมู่บ้าน ตำบลหนองกระโดน 6 หมู่บ้าน และ 1 เทศบาล รวมพื้นที่รับผิดชอบ 58 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
          ทิศเหนือ ติดต่อบ้านหนองแมว หมู่ 10 ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
          ทิศใต้ ติดต่อบ้านสันติธรรม หมู่ 3 ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
          ทิศตะวันออก ติดต่อบ้านวังหยวก หมู่ 3 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
          ทิศตะวันตก ติดต่อบ้านหนองยาว หมู่ 1 ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

ระยะทาง
          ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครสวรรค์ 18 กิโลเมตร ถนนลาดยาง

พื้นที่ในเขตรับผิดชอบ
          มีเขตรับผิดชอบทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ได้แก่
          หมู่ที่ 5 บ้านหนองปรือ
          หมู่ที่ 7 บ้านหนองเบน
          หมู่ที่ 8 บ้านหนองโรง
          หมู่ที่ 11 บ้านถนนโค้ง
          หมู่ที่ 13 บ้านบ่อพยอม
          หมู่ที่ 17 บ้านดงสำราญ

ประชากร
          ชาย 6,538 คน
          หญิง 6,984 คน
          รวม 13,522 คน

2.3 สถานะสุขภาพของประชาชน
สถิติชีพ
          จำนวนเด็กเกิดมีชีพ 113 คน อัตราเกิด 8.35 ต่อประชากรพันคน
          จำนวนคนตาย 39 คน อัตราตาย 2.88 ต่อประชากรพันคน
          จำนวนคนเพิ่ม 74 คน อัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ 0.54
ที่มา : จากข้อมูลการสำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2547

อัตราป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
โรค จำนวน ( ราย ) อัตราต่อแสนประชากร
          1. อุจจาระร่วง 106 783.91
          2. ไข้เลือดออก 26 192.28
          3. อีสุกอีใส 3 22.19
          4. อาหารเป็นพิษ 2 14.79
          5. ตาแดง 4 29.58

สาเหตุการตายที่สำคัญ
          สาเหตุ จำนวน ( ราย ) อัตราต่อพันประชากร
          1. อุบัติเหตุทางจราจร 4 0.29
          2. เส้นเลือดในสมองแตก 2 0.14
          3. มะเร็ง 2 0.14
          4. ฆ่าตัวตาย 1 0.07
          5. อื่นๆ 30

3. สถานีอนามัยบ้านศรีอุทุมพร
3.1 ประวัติความเป็นมา

สถานีอนามัยบ้านศรีอุทุมพร เป็นสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับการยกฐานะจาก           สำนักงานผดุงครรภ์บ้านศรีอุทุมพร เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสถานีอนามัยบ้านศรีอุทุมพร แต่ยังคงใช้อาคารเดิมจนกระทั่งปี พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารทดแทน และดำเนินการก่อสร้าง สถานีอนามัยเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กใต้ถุนสูง พร้อมทั้งบ้านพักระดับ 1-3 จำนวน 1 หลัง เปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการบริจาคที่ดินจาก นายนำ-นางหนู เหล่าเขตกิจ เนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน คิดเป็นเงิน 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) และได้รับความกรุณาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดศรีอุทุมพร ดำเนินการถมดิน คิดเป็นเนื้อที่ 4,800 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นจำนวนเงิน 144,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันบาทถ้วน) ที่ดินนี้ตั้งอยู่ที่บ้านศรีอุทุมพร เลขที่ 98/4 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักหลังที่ 2 เป็นเงิน 130,000 บาท ปี พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน ฝ.33 เป็นเงิน 65,000 บาท ปี พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ นายภิญโญ นิโรจน์ ทำถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทางเข้าและออกเป็นเงิน 60,000 บาท ปี พ.ศ. 2538 ได้รับการบริจาคสร้างรั้วคอนกรีต-เหล็กดัดโดยหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ และประชาชนในหมู่บ้าน เป็นเงิน 50,000 บาท ปี พ.ศ. 2539 สถานีอนามัยบ้านศรีอุทุมพร ได้เป็นสถานีอนามัยดีเด่นระดับอำเภอ

3.2 ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
          สถานีอนามัยบ้านศรีอุทุมพรตั้งอยู่เลขที่ 98/4 หมู่ที่ 9 บ้านศรีอุทุมพร ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ 60240 เนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ 2 งาน มีบ้านพักเจ้าหน้าที่จำนวน 2 หลัง โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
          ทิศเหนือ ติดต่อสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ หนองเบน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์
          ทิศใต้ ติดต่อตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ และ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
          ทิศตะวันออก ติดต่อหมู่ที่ 8 บ้านหนองโรง ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์
          ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

ระยะทาง
          ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครสวรรค์ 22 กิโลเมตรสภาพถนนลาดยางตลอดสายการคมนาคมสะดวกโดยทางรถยนต์
พื้นที่ในเขตรับผิดชอบ
          มีเขตรับผิดชอบทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่
          หมู่ที่ 9 บ้านศรีอุทุมพร
          หมู่ที่ 14 บ้านวังเลา – หินก้อน
          หมู่ที่ 15 บ้านผาแดง

ประชากร
          ชาย 1,226 คน
          หญิง 1,334 คน
          รวม 2,560 คน

การคมนาคมและสาธารณูปโภค
          ถนนในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง ถนนลาดยางเชื่อมต่อกัน สามารถติดต่อกันได้โดยการเดิน รถจักรยานสองล้อ จักรยานยนต์ รถยนต์มายังสถานีอนามัยและโรงพยาบาลประจำจังหวัด
          - ในหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน
          - มีประปาหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
          - มีโทรศัพท์ใช้ในหมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 14
          - มีโทรศัพท์สาธารณะในหมู่ที่ 9
          - มีห้องสมุดประชาชนในหมู่ที่ 9

3.3 สถานะสุขภาพของประชาชน
สถิติชีพ
          จำนวนเด็กเกิดมีชีพ 25 คน อัตราเกิด 9.76 ต่อประชากรพันคน จำนวนคนตาย 24 คน อัตราตาย 9.38 ต่อประชากรพันคน จำนวนคนเพิ่ม 1 คน อัตราเพิ่มธรรมชาติร้อยละ 0.04 ที่มา : จากข้อมูลการสำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2547

อัตราป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
          โรค จำนวน ( ราย ) อัตราต่อแสนประชากร
          1. อุจจาระร่วง 12 468.75
          2. อาหารเป็นพิษ 4 156.25
          3. อีสุกอีใส 1 39.06

สาเหตุการตายที่สำคัญ
          สาเหตุ จำนวน ( ราย ) อัตราต่อแสนประชากร
          1. ชราภาพ 9 351.56
          2. โรคหัวใจและหลอดเลือด 6 234.38
          3. มะเร็ง 3 117.19
          4. โรคเอดส์ 1 39.06
          5. อุบัติเหตุ 1 39.06

ที่มา : จากมรณบัตร

ข้อมูลศูนย์เด็กวัยก่อนเรียนบ้านศรีอุทุมพร

ชื่อ ศูนย์เด็กวัยก่อนเรียนบ้านศรีอุทุมพร
          สถานที่ตั้ง บ้านศรีอุทุมพร หมู่ที่ 9 ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนเด็กที่อยู่ในความดูแลของศูนย์เด็กวัยก่อนเรียนบ้านศรีอุทุมพร ปัจจุบันมีเด็กที่อยู่ในความดูแลของศูนย์เด็กวัยก่อนเรียนบ้านศรีอุทุมพร จำนวน 26 คน ระเบียบการของศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนบ้านศรีอุทุมพร
          1. เด็ก จะรับนักเรียนระดับอนุบาล อายุ 3 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 6 ปี
          2. การดำเนินงาน นอกจากเรื่องสุขภาพอนามัยแล้ว จะเน้นในเรื่องการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานในการที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาต่อไปโดยใช้ระยะเวลา 3 ปี
          3. วันและเวลาเปิดทำการ ศูนย์ ฯ จะเปิดทำการสัปดาห์ละ 5 วัน ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 07.15-15.00 น.

แนวทางการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ปี 2547

เป้าหมาย
          1.ศูนย์เด็กเล็กสมัครเข้าโครงการ อย่างน้อยร้อยละ 50
          2.สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่น ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กทุกตำบล ตัวชี้วัดการดำเนินงาน ศูนย์เด็กเล็กผ่านเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ อย่างน้อยร้อยละ 50

ขั้นตอนการดำเนินงาน
          1.สำรวจข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น จำนวนศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน
          2.ประเมินตนเองโดยใช้แบบประเมินตนเองเพื่อขอรับรองมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
          3.ค้นหาปัญหาและความต้องการพัฒนา โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
          4.ประสานงานองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง
          5.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบงานต่างๆ
          6.จัดทำแผนพัฒนาศูนย์เด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วม
          7.จัดประชุมผู้นำชุมชนและผู้ปกครองเด็กและชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
          8.ประเมินผลการดำเนินงานด้วยตนเอง
          9.คณะกรรมการดำเนินงานระดับอำเภอประเมินรับรองศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตามแบบประเมิน
หมายเหตุ แบบประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ปี 2547 ของกรมอนามัย

   
     
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์