เวชศาสตร์การกีฬาสำหรับวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล มีโอกาสการบาดเจ็บและเป็นอันตรายจากการกระแทกของแรงจากน้ำหนัก
ของตัวเอง และจากพื้นสนามเมื่อนักกีฬากระโดดกระแทกกับพื้น หรือจากเพื่อนในทีม
นอกจานั้นการที่มีการยืดกล้ามเนื้อที่มากเกินที่ร่างกายจะรับได้ การลงในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมของ
เท้านักกีฬา สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถป้องกัน และหากเกิดแล้วก็สามารถบำบัดให้กลับมาเล่นใหม่ได้ สิ่งต่างๆ
เหล่านี้เป็นเรื่องของเวชศาสตร์การกีฬาหรือทางการแพทย์ ที่นักกีฬาวอลเลย์บอลและผู้เกี่ยวข้องควรมีความรู้
และความเข้าใจเพื่อที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนเกิดหรือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
การบาดเจ็บและเป็นอันตรายในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลอาจเกิดได้จากอีกหลายๆ สาเหตุเช่นเดียว
กับนักกีฬาชนิดอื่นๆ รวมทั้งการบาดเจ็บจากลูกวอลเลย์บอลตีกระทบศีรษะ จมูกหรือบริเวณใบหน้า
อย่างต่อเนื่องและในหลายๆ ครั้ง ดังนั้นนักวอลเลย์บอลทุกคนมีโอกาสได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้การเล่น
วอลเลย์บอลเป็นเวลานานก็อาจนำไปสู่การบาดเจ็บได้อีกทางหนึ่ง การที่ร่างกายต้องทำงานหนักในการฝึกซ้อม
และแข่งขันเกินกว่าที่ร่างกายมนุษย์ปกติทำ ดังนั้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับนักวอลเลย์บอล
หลักการป้องกันการบาดเจ็บทางกีฬา จึงควรจะถูกนำมาเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อการป้องกันการบาด
เจ็บและเพื่อให้การแสดงความสามารถของนักวอลเลย์บอลบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี
ในหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์การกีฬาไม่ใช้แค่เรื่องของการบาด เจ็บ แต่เป็นเรื่อง
ของการนำหลักการทางการแพทย์มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพทางการกีฬา เช่น การป้องกันการบาดเจ็บทาง
การกีฬา การปฐมพยาบาล การดูแลหลังการบาดเจ็บ การฟื้นฟูสภาพ และการใช้สารกระตุ้นด้วย
การกระโดด การเหวี่ยง กระชากและมีความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลามากที่สุด จะพบมากที่สุด
ในกีฬาวอลเลย์บอล จึงเป็นกีฬาที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บและเป็นอันตรายต่อร่างกายสูงเช่นเดียวกับ
กีฬาชนิดอื่นๆ แม้จะไม่มีการประทะระหว่างนักกีฬา ฝ่ายตรงข้าม ท่านควรรู้ในหลักการเบื้องต้นของสา
เหตุการเกิดการบาดเจ็บ ควรรู้เรื่องของการป้องกันที่ทำได้ เช่น การอบอุ่นร่างกายที่เพียงพอและเหมาะสม
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง การรู้จักการปฐมพยาบาล ให้กับนักกีฬานับว่าเป็นเรื่องสำคัญ มีนักกีฬาหลายคน
ประเด็นที่สำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับหลักการทางเวชศาสตร์การกีฬาในเบื้องต้น เช่น
• การเตรียมความพร้อมของร่างกาย
• ป้องกันการบาดเจ็บในการเล่นวอลเลย์บอล
• การปฐมพยาบาลในการเล่นวอลเลย์บอล
• การฟื้นฟูสภาพจากการเล่นวอลเลย์บอล
ประเด็นดังกล่าวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งตามหลักการทางเวชศาสตร์การกีฬา ที่ท่านควรทราบและติดตาม
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาวอลเลย์บอลให้มากที่สุด ด้วยความปลอดภัย

ที่มา :
 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์