มะเขือเทศราชินีมีอีกชื่อหนึ่งว่า “มะเขือเทศเชอร์รี่” เพราะว่ามีผลขนาดเล็ก เมื่อสุกก็จะมีสีและขนาดลูกคล้ายลูกเชอรร์รี่ เดิมมะเขือเทศราชินีเป็นเพียงผลไม้ป่าเท่านั้นเดิมมีผลสีเหลือง พบมากในประเทศแถบลาตินอเมริกา เช่น โบลิเวีย และเปรู ต่อมาได้มีผู้นำมาปลูในแม็กซิโก   หลังจากนั้นมะเขือเทศก็ได้ถูกส่งไปขายแถบยุโรปภายหลัง  คริสโตเฟอร์  โคลัมบัส   ได้ค้นพบทวีปอเมริกา ชาวอิตาลีเป็นชาติแรกๆ ที่ได้ลิ้มลองรสชาติของมะเขือเทศ จนมีคนเรียกมะเขือเทศว่า แอปเปิลทอง เพราะสีเหลืองทองของมัน     
        แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน ก็เกิดการกลายพันธุ์ของมะเขือเทศทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ จนปรากฏพันธุ์สีแดงขึ้นมาและมะเขือเทศราชินีนั้นก็เป็นหนึ่งในผลผลิตจากการเปลี่ยนแปลง
ทางธรรมชาติในคราวนั้น
        ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศอันดับต้นๆ ในการบริโภคมะเขือเทศ ผู้ที่นำมาปลูกคนแรกคือ นายโธมัส เจฟเฟอร์สัน ในปีค.ศ. 1781 แต่ว่าในยุคนั้นคนส่วนมาก ไม่กล้ากินเพราะมีความเชื่อว่ามันมีพิษ จนกระทั่งล่วงถึงปีค.ศ. 1933 ถึงได้เริ่มนิยมกินกันมากขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีการรับประทานมะเขือเทศต่อปีต่อคนเป้นจำนวนมาก โดยส่วนมากนั้นจะเป็นเด็กหนุ่มที่มีอายุระหว่าง 12-19 ปี สำหรับผู้สูงวัยนั้นนิยมการกินมะเขือเทศสดและน้ำมะเขือเทศ
       ในเมืองไทยนั้นการรับประทานมะเขือเทศราชินีก็เป็นที่นิยมกันมากขึ้นอาจจะเป็นเพราะการเข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรมของอาหารฝรั่งนานาชนิด ซึ่งมักจะใช้มะเขือเทศราชินีเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งในสังคมของคนไทยก็นิยมกินผักในทุกมื้ออาหารอยู่แล้ว

้่คุณค่าทางอาหารชของมะเขือเทศราชินี
        1.ในมะเขือเทศราชินีนั้นมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราในช่องปาก
        2.ในมะเขือเทศราชินีนั้นมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดริ้วรอย ทำให้บริเวณผิวพรรณต่างๆเต่งตึง
        3. มะเขือเทศราชินีนั้นมีวิตามิน A สูงจึงช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี
        4.ในมะเขือเทศราชินีนั้นยังเชื่อกันว่า มีส่วนช่วยในระบบปัสสาวะ และยังสามารถช่วยในเรื่องความดันเลือดสูง
        5.การกินมะเขือเทศราชินีนั้น ช่วยให้อัตราเสี่ยงในการเกิดโรค เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
และ “มะเร็งต่อมลูกหมาก” น้อยลง
         ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยืนยันแล้วว่า สารที่อยู่ในมะเขือเทศชนิดต่างๆ โดยเฉพาะมะเขือเทศราชินี มีส่วนช่วยยับยั้งการก่อตัวของมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งได้มีการตีพิมพ์งานวิจัยนั้ในสหรัฐอเมริกา ในปีพ.ศ. 2545-2546
        สารทั้งสองชนิดนี้ นอกจากจะต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อมะเร็งแล้ว ยังมีส่วนที่ช่วยให้ยาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับมะเร็งและหลอดเลือดทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยลดความเสียหายจากไขมันไม่ดีที่มีในระบบหลอดเลือดอีกด้วย ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้พบมากที่สุดในมะเขือทเศราชินี        


ที่มาภาพ : 1.http://ads.vegetweb.com
                2.http://surgecosmetic.com

ที่มาข้อมูล : ธีรวุฒิ ปัญญา. กองทัพผลไม้ปราบมะเร็ง. บริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ, 2553. 176 หน้า

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42