นกการเวก (เทพปกรณัม)


           ปักษาวายุภักษ
์ หรือ นกการเวกนั้น เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคด
ีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่ามีเสียงไพเราะยิ่งนัก
สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินเสียงนกกรวิคแล้วจะต้องหยุดฟังนอกจากนี้
ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม
แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะ
และเหมือนเสียงนกการเวก ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว
้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร
แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลม
เป็นอาหารจึงตั้งชื่อว่า วายุภักษ์ ก็มีเช่นกัน ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้
          ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าตราปักษาวายุภักษ์ เป็นตราของพระยาราชภักดีฯ เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ต่อมาเมื่อโปรดให้ตั้งกระทรวงพระคลังฯและใช้ตราพระสุริยมณฑลแล้ว ตราปักษาวายุภักษ์ก็เลิกใช้ แต่นำเอามาใช้เป็นเครื่องหมายกระทรวงการคลัง นกวายุภักษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ "ถ้าแปลตามคำก็ว่า นกกินลม ข้อยากในนกนี้เกิดขึ้นในที่ประชุมเสนาบดี สั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนผูกตรากระทรวงต่างๆเป็นลายข้อมือเสื้อเครื่องแบบ หากเป็นตราเก่าซึ่งมีตราประจำกระทรวงอยู่แล้ว จะเอามาใช้ได้ให้ใช้ตราเก่า ที่เป็นกระทรวงใหม่ไม่มีตรามาแต่เดิมจึงคิดผูกขึ้นใหม่ โดยคำสั่งอย่างนี้กระทรวงใดก็ไม่ยากเท่ากระทรวงคลัง ซึ่งเดิมพระยาราชภักดีฯทำการในหน้าที่ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง คือตรานกวายุภักษ์

          รูปนกวายุภักษ์ในตรานั้นก็เป็นนกแบบสัตว์ หิมพานต์ เหมือนกับนกอินทรีย์ ฉะนั้นไม่ทรงเชื่อว่าถูก จึงได้ทรงรำลึกต่อไป ก็ทรงรำลึกได้ว่า มี ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีความว่า ทรงพระมาลาปักขนนกวายุภักษ์ ก็ทรงค้นหาพบในหมาย ท้ายหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุ ความทรงจำของกรมหลวง นริทรเทวี เมื่อมีคำปรากฏเช่นนั้น นกวายุภักษ์ก็คือ นกการเวก เพราะพระมาลาทุกชนิดที่ปักขนนกอมใช้ขนนกการเวกอย่างเดียว
เป็นปกติเมื่อทรงดำริปรับนกวายุภักษ์กับนกการเวกเข้ากัน ก็เห็นลงกันได้โดยมีทางเราพูดกันว่านกการเวกนั้นมีปกติอยู่ในเมฆ บนฟ้ากินลมเป็นภักษาหารตามที่ว่าพิสดารเช่นนั้นก็เพราะนกชนิด นั้นในเมืองเราไม่มีและที่ว่ากินลม ก็เพราะในเมฆไม่มีอะไร นอกจากลมจึงให้กินลมเป็นอาหารแต่เมื่อปกติของมันอยู่ในเมฆแล้ว ก็ไฉนเล่ามนุษย์จึงได้ขนมันมาปักหมวกเชื่อว่าเพราะเหตุที่น่าสงสัย เช่นนั้นเองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตรัสสั่งไปต่างประเทศที่ส่งขนนกชนิดนั้นเข้ามา ให้ส่งตัวนกเข้ามาถวาย จึงได้ตัวจริงเป็นนกยัดไส้มีขนติดบริบูรณ์เข้ามาก็เป็นนกที่เรียกตาม ภาษาอังกฤษ 'Paradise Birdซึ่งที่เรียกเป็นภาษา อังกฤษเช่นนี้ว่า
แปลมาจากภาษาแขกความก็ว่าเป็นนกฟ้าเราคงได้ฟังแขก เขาว่า
จึงละเมอตามไปมื่อได้นกยัดไส้เข้ามาแล้วจึง ทรงจัดเอาขึ้น
เกาะคอนมีด้าม ให้เด็กถือนำพระยานุมาศในงาน สมเด็จเจ้าฟ้าโสกันต์
ตามที่ได้พยานมาว่า เป็นนกอยู่ในแผ่นดิน ไม่ใช่นกอยู่ในฟ้าเช่นนั้น
ใครจะเชื่อกันหรือไม่ก็หาทราบไม่ แม้ราชสีห์เมื่อได้ตัวจริงมาบอกใครว่า นี่แหละราชสีห์ก็ ม่มีใครเชื่อด้วย ไม่เหมือนกับที่เราปั้นเขียนกัน
ตามที่เราปั้น เขียนกันนั้น ขาดสิ่งสำคัญที่ไม่มีสร้อยคอ อันจะพึงสมชื่อว่า ไกรสร หรือ ไกรสรสีห์ หรือ ไกรสรราชสีห์

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/นกการเวก_(เทพปกรณัม)

 
 
   
         
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์