:: หน้าแรก ::
บทคัดย่อ
แบบทดสอบก่อนเรียน
ลักษณะของดอกทานตะวัน
การเจริญเติบโตของดอก
ผลเเละเมล็ด
ลักษณะภายนอกราก
โครงสร้างภายในราก
โครงสร้างภายในลำต้น
ลักษณะภายนอกใบ
โครงสร้างภายในใบ
ผลิตภัณฑ์จากทานตะวัน
แบบทดสอบหลังเรียน
ครูที่ปรึกษา
คณะผู้จัดทำ
 

โครงสร้างภายในของรากทานตะวัน

                                                                        ที่มาภาพ จากการศึกษารายวิชาชีววิทยา

                 โครงสร้างภายในภาคตัดขวางของรากทานตะวัน มีเนื้อเยื่อ  3  ชั้น ดังนี้
          1.เนื้อเยื่อชั้นผิว(Epidermis)  เซลล์เรียงตัวแถวเดียว และ ผนังบางไม่มีคลอโรพลาสต์บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ขนราก
          2.คอร์เทกซ์(cortex)  เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นผิว ประกอบด้วย เนื้อเยื่อพาเรงคิมา  ซึ่งทำหน้าที่ในการสะสมอาหารและน้ำเป็นส่วนใหญ่ ชั้นในสุดของ cortex จะเป็นเซลล์แถวเดียวเรียกว่า  ชั้นในสุดของ cortex  (endodermis) เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีผนังหนา เพราะมีสารซูเบอรินหรือลิกนินมาสะสมอยู่ด้านข้าง   แต่จะมีช่วงผนังเซลล์บางแทรกอยู่ตรงกับแนวของท่อไซเล็ม
          3.สตีล(stele)เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อผิวชั้นในเข้าไป stele ในรากจะแคบกว่าในลำต้น ประกอบด้วยชั้นต่างๆ  ดังนี้
               3.1 เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของสตีล (pericycle) เป็นเซลล์ผนังบางขนาดเล็กมี 1-2  แถว พบเฉพาะในรากเท่านั้น                     เป็นแหล่งกำเนิดของรากแขนง
               3.2. มัดท่อลำเลียง(vascular bandle)ประกอบด้วย xylem อยู่ตรงใจกลางเรียงเป็นแฉก  โดยมี phloem                     อยู่ระหว่างแฉก มี vascular cambium คั่นระหว่าง  xylem กับ phloem

 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42