การละเล่นของผู้ใหญ่ คำว่า "ผู้ใหญ่" ในสมัยก่อนหมายถึง ผู้ซึ่ง ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ค่านิยมในสมัยก่อนนั้น เด็กหญิง ชายพอเข้าสู่วัยรุ่นจะถูกแยกจากกัน นับตั้งแต่ ความเป็นอยู่ในครอบครัวและในสังคมทั่วไป การละเล่นในวัยนี้จึงมักจะเล่นแยกเป็นหญิงฝ่าย หนึ่ง ชายฝ่ายหนึ่งเป็นส่วนมาก การเล่นเฉพาะ ชายก็มีบ้าง ปัจจุบันการเล่นแบบสากลเข้ามาแทนที่ การละเล่นแบบไทยจึงมีอยู่น้อยมาก การละเล่นของผู้ใหญ่ในชีวิตประจำวัน มักจะเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนมากเป็น เกษตรกร โดยเฉพาะในภาคกลางจะเกี่ยวกับการ ทำนาเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ทำงานเคร่งเครียด ก็มีการเล่นไปด้วยเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และ เป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้หยอกล้อสนิทสนม ฉะนั้นการเล่นในชีวิตประจำวันจึงเป็นประเภท เพลงพื้นเมือง ซึ่งมีการโต้ตอบกัน เป็นเพลง ใช้ปฏิภาณในทางภาษา เนื้อหาจะเกี่ยวกับสภาพ ของงานนั้นๆ แม้ผู้ใหญ่ที่มีอายุเกินวัยหนุ่มสาว ก็เล่นสนุกสนานไปด้วย การละเล่นประเภทนี้จะนำมาเสนอเฉพาะ ภาคกลาง ซึ่งแสดงความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน

แม้ ในยามทำงานก็นำลักษณะนี้มาใช้ให้เป็น ประโยชน์ในการทำให้เกิดความสนุกสนานคลายความ เหนื่อยยาก รูปแบบของการประพันธ์เป็นรูปกลอน หัวเดียว คือ ลงสัมผัสท้ายคำกลอนเป็นเสียง เดียว และมีการร้องซ้ำคำ คงจะเพื่อให้มีเวลาคิด โต้ตอบ และเพื่อให้ผู้อื่นร่วมสนุกร้องเป็นลูกคู่ ด้วย ทุกคนมีส่วนร่วมในการเล่น ผู้ที่มีความ สามารถในการละเล่นแบบนี้ ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อเพลง ถ้าเป็นหญิงเรียกว่าแม่เพลง แต่น่า เสียดายที่ในปัจจุบันนี้ศิลปะเพื่อความบันเทิง กลายรูปเป็นการแสดงชนิดหนึ่งใช้ชม ผู้ฟังมิ ได้มีอารมณ์สนุกสนานไปด้วย อีกประการหนึ่งก็ เพราะวิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป เครื่องทุ่นแรง เข้ามาแทนที่ การละเล่นเหล่านี้จึงค่อยๆ หมดไป แต่ถ้าจะอนุรักษ์และส่งเสริมให้ถูกทางโดย สร้างความเข้าใจในคุณค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของ การละเล่นบางอย่าง เลือกสรรนำไปปรับใช้ให้ เหมาะสมกับสังคมนั้นๆ ก็จะเป็นประโยชน์ในการ สร้างความเป็นไทยให้อยู่ในจิตใจของคนไทย ตลอดกาล การละเล่นเพลงพื้นเมือง การเล่นเพลงพื้นเมือง เพลงพื้นเมืองที่ เล่นกันในชีวิตประจำวันต่อไปนี้ เป็นเพลงที่ เล่นกันในเวลาเกี่ยวข้าวที่ชาวบ้านจะมารวมกัน
การเล่นเพลงเต้นกำ (รำเคียว)
          ช่วยกันทำงานด้วยอัธยาศัยไมตรีตามวัฒนธรรม ไทย จึงมีการเล่นสนุกสนานตามโอกาส การร้อง เล่นกันนั้น ใครร้องเพลงเป็นและเสียงดี ก็จะ เป็นต้นเสียง เพลงที่ร้องเล่นกันตอนเกี่ยวข้าวก็จะมีเพลง เกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง และเพลงเต้นกำ (รำ เคียว) เป็นต้น เพลงเกี่ยวข้าว เป็นเพลงโต้ตอบกันขณะ เกี่ยวข้าวกลางนา ร้องไปทำงานไป มีลูกคู่รับ เป็นทอดๆ เพลงร้อยชั่ง เป็นเพลงซึ่งร้องโต้ตอบกัน ขณะเกี่ยวข้าว โต้ตอบกันไปเรื่อยๆ มีลูกคู่รับ ตัวอย่าง เพลงร้อยชั่ง "ตัวพี่รักน้องหวัง จะมาขอ ทั้งแม่ทั้งพ่อเขาว่ายังเล็ก (เอื้อน) เล่น กะโหลกกะลา (ลูกคู่รับวุ้ยวุ้ย) ตามประสาเด็กเด็ก เอย แม่ร้อยชั่งเอย"

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความระเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียน นวมินทราชูทิศ มัชฌิม สพท. นครสวรรค์ เขต 1
การแข่งขันการสร้างเว็บไซด์ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคเหนือ ปี 2551 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง