หน้าแรก
บทคัดย่อ
บทนำ
บทเอกสาร
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทดลอง
การทดลองกลุ่มที่1ทำนาข้าวตามปกติ
การทดลองกลุ่มที่2ทำนาข้าวพันธุ์c75
การทดลองกลุ่มที่3ใช้สารเคมีลูบ
การทดลองกลุ่มที่4ทำนาดำ
การทดลองกลุ่มที่5พักดิน
ผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
บรรณานุกรม
ภาพการทดลอง
ผู้จัดทำ
 

บันทึกผลการทดลอง
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืชของเกษตรกร
1.ทำข้าวพันธุ์ C75 วิธีทำคือ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เผาฟางปล่อยน้ำเข้านา นำรถไถมาไถและปั่นดินในนา หมักเทือกไว้ 3-7 วัน ปล่อยน้ำออกแล้วหว่านข้าวที่มีระยะการเก็บเกี่ยวเพียง 80 วัน
2.ใช้สารเคมีลูบ วิธีทำคือ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เผาฟางปล่อยน้ำเข้านา นำรถไถมาไถและปั่นดินในนา หมักเทือกไว้ 3-7 วัน ปล่อยน้ำออกแล้วหว่านข้าวแต่พอระยะที่ใกล้จะออกรวง ผสมยาฆ่าหญ้ากับน้ำแล้วนำผ้ามาชุบแล้วนำไปพันกับไม้ไผ่ยาวประมาณ2เมตรแล้วนำไปลูบ
3.ทำนาดำ วิธีทำคือเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เผาฟางปล่อยน้ำเข้านา นำรถไถมาไถและปั่นดินในนา หมักเทือกไว้ 3-7 วัน แต่ไม่ต้องปล่อยน้ำ นำกล้าข้าวที่เพาะไว้ไปปักดำในนาข้าว โดยใช้แรงงานคนในการปักดำแทนการว่านนาตม
4.พักดิน วิธีทำคือ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จไม่ต้องเผาฟาง ปล่อยให้ข้าววัชพืชขึ้น ปล่อยน้ำเข้านา ใช้รถไถไถและปั่นหมักไว้ 1 เดือนเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เผาฟางปล่อยน้ำเข้านา นำรถไถมาไถและปั่นดินในนาหมักเทือกไว้3-7วันปล่อยน้ำออกแล้วหว่านข้าว
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบกำหนดแผนผังพื้นที่ในการทดลองตามแนวการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืชของเกษตรกร
ได้แผนผังตามที่ออกแบบโดยใช้พื้นที่ในการทดลอง 1,500 ตารางวา

ถนน

ถนน








                   =   ทำนาข้าวตามปกติ
                    =   ทำนาข้าวพันธุ์ C75
                   =   ใช้สารเคมีลูบ
               =   ทำนาดำ
               =   พักดิน

ขั้นตอนที่ 3 ทดลองวิธีการที่ใช้แก้ปัญหาข้าววัชพืช
จากตารางที่ 1พบว่ากลุ่มดำนาได้ผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มพักดิน
กลุ่มทำนาข้าวปกติ กลุ่มที่ใช้สารเคมีลูบ และกลุ่มทำข้าวพันธุ์ C75 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตข้าวที่ได้ในแต่ละวิธี             


กลุ่มที่

ปริมาณผลผลิตที่ได้ (kg)

รวม

เฉลี่ย

หมายเหตุ

แปลงที่ 1

แปลงที่2

แปลงที่ 3

1.ทำนาข้าวตามปกติ

150

143

181

474

158

ข้าวพันธุ์สุพรรณ 3

2.ทำข้าว พันธุ์ C75

125

126

116

367

122.3

ข้าวพันธุ์ C75

3.ใช้สารเคมีลูบ

111

172

133

416

138

ข้าวพันธุ์สุพรรณ 3

4.ทำนาดำ

231

220

228

679

226.3

ข้าวพันธุ์สุพรรณ 3

5.พักดิน

186

194

211

591

197

ข้าวพันธุ์สุพรรณ 3

 

 

 

 


จากตารางที่ 2 พบว่ากลุ่มที่ลงทุนน้อยที่สุดคือ กลุ่มทำข้าวพันธุ์ C75 กลุ่มพักดินและกลุ่มทำนาข้าวปกติ ตามลำดับ ลงทุนในจำนวนเงินที่สูงเท่ากัน
กลุ่มที่ใช้สารเคมีลูบ และดำนา ตามลำดับ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบการลงทุนในการปลูกข้าวแต่ละกลุ่ม( 1 ไร่/กลุ่ม )


กลุ่มที่

การลงทุน

รวมเป็นเงิน(บาท)

ข้าวปลูก/กล้าข้าว  (บาท)

สารกำจัด
ศัตรูพืช
  (บาท)

สารเคมี
ลูบข้าว
  (บาท)

ปุ๋ย บำรุงข้าว
(บาท)

ยาฮอร์โมน
(บาท)

แรงงาน/เครื่องจักร(บาท)

รถเกี่ยวข้าว
(บาท)

แรงงานคน  (บาท)

รถไถแทร็กเตอร
(บาท)

ปุ๋ย 46-0-0 (บาท)

ปุ๋ย 15-15-15 (บาท)

1.ทำนาข้าวตามปกติ

630

65

-

150

240

60

500

25

200

1,870

2.ทำข้าวพันธุ์ C75

600

65

-

150

240

60

500

25

200

1,840

3.ใช้สารเคมีลูบ

630

65

420

150

240

60

500

25

200

2,290

4.ทำนาดำ

300

-

-

150

240

60

500

1,000

200

2,450

5.พักดิน

630

65

-

150

240

60

500

25

200

1,870

 

 

 

 

จากตารางที่ 3พบว่า กลุ่มที่ 1 ทำนาข้าวตามปกติ ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว105วัน กลุ่มที่ 2 ทำข้าวพันธุ์ C75ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว 80 วันกลุ่มที่ 3 ใช้สารเคมีลูบ ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว 105 วัน กลุ่มที่ 4 ดำนา ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว 105วัน
กลุ่มที่ 5 พักดิน ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว 105วัน
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบพันธุ์ข้าวและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว


กลุ่มที่

พันธุ์ข้าว

ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว (วัน)

หมายเหตุ

1.ทำนาข้าวตามปกติ

สุพรรณ  3

เดือนกันยายน - เดือนมกราคม 
วันที่ 11 ก.ย.51-วันที่ 4 ม.ค.52 105 วัน

-ใช้การหว่าน

2.ทำข้าว พันธุ์ C75

พันธุ์ C75

เดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน
วันที่ 11 ก.ย. 51 – วันที่ 20 พ.ย. 51  80 วัน

-ใช้การหว่าน
-ใช้พันธุ์ข้าวที่มีระยะการเก็บเกี่ยว80 วัน

3.ใช้สารเคมีลูบ

สุพรรณ 3

เดือนกันยายน - เดือนมกราคม
วันที่ 11 ก.ย.51-วันที่4ม.ค. 52   105 วัน

-ใช้การหว่าน
-เมื่อข้าววัชพืชออกรวง เริ่มลูบข้าวัชพืช

4.ทำนาดำ

สุพรรณ 3

เดือนกันยายน - เดือนมกราคม
วันที่ 11 ก.ย.51-วันที่ 4 ม.ค. 52     105 วัน

-ใช้แรงงานคนในการดำนา
-เพาะกล้า

5.พักดิน

สุพรรณ 3

เดือนกันยายน - เดือนมกราคม
วันที่ 11 ก.ย.51-วันที่ 4 ม.ค. 52      105 วัน

-ใช้การหว่าน
-ใช้เวลาในการพักดิน 2 เดือน

 

 

 

 

 

 


จากตารางที่ 4 และกราฟที่ 4 พบว่า กลุ่มที่ 1 ทำนาข้าวตามปกติ และกลุ่มที่ 4 ดำนา เมื่อตวงข้าว 1 ลิตร จะได้น้ำหนักเท่ากัน และได้ปริมาณมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่ 2 ทำข้าวพันธุ์ C75 กลุ่มที่ 3 ใช้สารเคมีลูบ และ กลุ่มที่ 5 พักดิน เมื่อตวงข้าว 1 ลิตร ได้น้ำหนักเท่ากัน ในปริมาณที่ลดลงมา
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบน้ำหนักข้าวเมื่อตวงเป็นลิตร


กลุ่มที่

อัตราการตวง  (ลิตร)

กิโลกรัม

1.ทำนาข้าวตามปกติ

1

0.6

2.ทำข้าวพันธุ์ C75

1

0.5

3.ใช้สารเคมีลูบ

1

0.5

4.ทำนาดำ

1

0.6

5.พักดิน

1

0.5

 
   
     
   
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความละเอียด 800X600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค