หน้าแรก
บทคัดย่อ
บทนำ
บทเอกสาร
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทดลอง
การทดลองกลุ่มที่1ทำนาข้าวตามปกติ
การทดลองกลุ่มที่2ทำนาข้าวพันธุ์c75
การทดลองกลุ่มที่3ใช้สารเคมีลูบ
การทดลองกลุ่มที่4ทำนาดำ
การทดลองกลุ่มที่5พักดิน
ผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
บรรณานุกรม
ภาพการทดลอง
ผู้จัดทำ
 

ข้าววัชพืช
เป็นปัญหาใหม่คุกคามการทำนาที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่ได้ระบาดไปทั่วพื้นที่นาข้าวในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่า 2 ล้านไร่แล้ว และคาดว่าจะลุกลามขยายพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มระดับความเสียหายรุนแรงขึ้นไปอีก หากไม่มีมาตรการกำจัดควบคุมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
การระบาดของข้าววัชพืชในประเทศไทย
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 เริ่มพบข้าววัชพืชระบาดรุนแรงในนาข้าวจังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า “ข้าวนกหรือข้าวหาง” เนื่องจากนกชอบมากินและเมล็ดมีหางยาว เมื่อสุกแก่เมล็ดของข้าววัชพืชจะร่วงเกือบหมดก่อนเกี่ยว ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย นอกจากนั้นเมล็ดข้าวสารของข้าวปลูกเริ่มมีสีแดง เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตข้าวที่มีการระบาดของข้าววัชพืชในระดับต่างๆ พบว่า เมื่อมีจำนวนต้นข้าววัชพืชในแปลงนามากกว่า 40 % ผลผลิตข้าวจะลดลงมากกว่าครึ่ง มีบางแปลงที่มีข้าวหางขึ้นหนาแน่นมากในพื้นที่ 1 ตารางเมตร เหลือต้นข้าวปลูกเพียง 3 ต้น ในขณะที่มีต้นข้าวหางถึง 800 ต้น ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100 % ชาวนาบางรายต้องกำจัดทิ้งทั้งแปลงด้วยการตัดไปเลี้ยงวัวบ้าง พ่นสารกำจัดวัชพืชฆ่าทิ้งทั้งแปลงบ้าง เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นเช่น แห้ว และผลไม้แทนบ้าง
มีรายงานการศึกษาพบว่า พบข้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ กับข้าวปลูก และมีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะมีการศึกษาพบว่าอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่าจะอยู่ระหว่าง 2-3% ลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญแพร่พันธุ์ในแปลงปลูกมักจะมีลักษณะ ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา คือ เปลือกเมล็ดมีสีดำ หรือน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง เมล็ดหางยาวหรือสั้นและเมื่อสุกแก่จะร่วงเกือบทั้งหมด ข้าวลูกผสม(spontanea from) เหล่านี้ คือ “ข้าวหาง ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวนก ข้าวลายหรือข้าวแดง” นั่นเอง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับชื่อที่เรียกต่างกันตามท้องถิ่น จึงขอใช้ชื่อเรียกรวมกันว่า “ข้าววัชพืช” เพื่อให้ได้ความหมายตรงกันว่าเป็นข้าวที่ชาวนาไม่ต้องการ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Weedy Rice”
ลักษณะและประเภทของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชเจริญเติบโตได้เร็วกว่าข้าวปลูกจนสูงล้มทับต้นข้าว มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี เช่น ปรับต้นให้เตี้ยลงเท่าข้าวปลูก เพื่อให้รอดพ้นจากการตัดออกดอกและสุกเร็วกว่าข้าวปลูก ปลายเมล็ดมีหางยาว ทั้งสีขาวและแดงเปลือกเมล็ดสีดำ หรือ สีน้ำตาลลายแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มากเมล็ดข้าววัชพืช สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน 2 -12 ปี และเมล็ดที่หล่น ลงบนดินไม่ได้งอกขึ้นมาพร้อมทีเดียวกันทั้งหมด การกำจัดข้าววัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีประเภทของข้าววัชพืชมีดังนี้
1.ข้าวหาง หรือ ข้าวนก
2.ข้าวดีด หรือ ข้าวเด้ง
3.ข้าวแดง หรือ ข้าวลาย
สาเหตุการระบาดข้าววัชพืช
1.เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของข้าววัชพืช
2.เมล็ดข้าววัชพืชติดไปกับอุปกรณ์ทำนา เช่น รถเกี่ยวนวดข้าว
ลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียหายของข้าววัชพืช
1.เจริญเติบโตได้เร็วกว่าข้าวปลูก แย่งอาหารและคลุมพื้นที่ ทำให้ข้าวปลูกไม่เติบโต หรือตาย หรือไม่ให้ผลผลิต
2.มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี
3.มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งทางพันธุกรรม(ลักษณะแฝงภายในที่ยังไม่แสดงให้เห็น) และทางกายภาพ(มองเห็นได้จากภายนอก)ทุกชั่วอายุ (Generation) เนื่องจากมีความสามารถในการผสมข้าม (Cross Pollinations)
4.เมล็ดที่ร่วงหล่นสะสมอยู่ในดินพื้นที่ปลูกและงอกเป็นวัชพืชในฤดูต่อๆ ไป
5.เมล็ดจะพักตัว และมีชีวิตอยู่ในดินได้นานถึง 12 ปี
6.เมล็ดสามารถงอกได้แม้อยู่ใต้ดินลึก 15 เซนติเมตร
7.ปลายเมล็ดทั้งสีขาวและแดง มีหางยาว
8.มีการผสมข้ามและอัตราการผสมติดสูงมาก
9.เปลือกเมล็ดสีดำ หรือลายน้ำตาลแดง
10.เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มาก
ปัญหาที่พบในการทำนา
1.ศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก แมลงสิง บั่ว หนอนกอแถบลาย หนอนห่อใบข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีครีม
2.โรคที่เกิดกับข้าว ได้แก่ โรคใบหงิก โรคหนอนกอ โรคเชื้อรา โรคกาบใบแห้ง โรคราหลุม โรคใบสีส้ม
3.น้ำท่วม ปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังในนาข้าวนั้น จะมีผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับต้นข้าว ก็ขึ้นอยู่กับระดับน้ำที่ท่วมต้นข้าว ลักษณะของน้ำที่ท่วมขัง และระยะเวลาที่น้ำขังอยู่ในนา จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
4.วัชพืชในนาข้าว ได้แก่ ข้าววัชพืช หญ้าลิเก หญ้าดอกขาว หญ้าดอกแดง หญ้าดอกตอก แหวหมู หญ้าตีนนก หญ้าใบกว้าง หญ้าใบแคบ หญ้าตีนกา หญ้าลัดเขียด หญ้าดอกพริกไทย หญ้าหนวดปลาดุก หญ้ากระดูกไก่ โสน ผักปอดนา และ ผักแว่น
วิธีการดูแลข้าว
ทำนาข้าวตามปกติ
1.หลังจากหว่านข้าวได้ 7-9 วัน จะเริ่มฉีดยาคลุม
2.หลังจากฉีดยาคลุม 3 วัน เริ่มสูบน้ำเข้าแปลงนาให้พอประมาณ (ค่อนต้นข้าว) และอย่าให้แห้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้ตะไคร่น้ำจับหน้าดิน หญ้าจึงไม่ขึ้น
3.หลังจากนั้น 20 -25 วัน เริ่มใส่ปุ๋ย (จะเป็นปุ๋ย 46-0-0 หรือปุ๋ยที่ต้องการใส่ก็ได้)
4.ประมาณ 30 วัน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าหนอนฆ่าแมลง เนื่องจากใส่ปุ๋ยแล้วข้าวก็จะงามหนอนจะมากัดกินข้าว
5.ประมาณ 45 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จึงต้องหว่านปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ถ้าใส่เกิน 45 วันข้าวดูดซึมไม่หมด ทำให้ข้าวแก่ช้า
6.ประมาณ 50 -60 วัน ต้องฉีดยาฮอร์โมนหรือยาเร่งรวงข้าวและต้องคอยระวังเพลี้ยสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยพวกนี้จะมาดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าว
7.เมื่อข้าวออกรวงหมดแล้วฉีดยาเร่งเต่งหรือยาฮอร์โมนประมาณ 1 – 2 ครั้ง
8.เมื่อข้าวเริ่มเหลืองหางต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด
9.เมื่อข้าวอายุครบกำหนดหรือข้าวเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วก็ทำการเก็บเกี่ยว
การดูแลข้าวพันธุ์ C75
1.หลังจากหว่านข้าวได้ 7-9 วัน จะเริ่มฉีดยาคลุม
2.หลังจากฉีดยาคลุม 3 วัน เริ่มสูบน้ำเข้าแปลงนาให้พอประมาณ (ค่อนต้นข้าว) และอย่าให้แห้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้ตะไคร่น้ำจับหน้าดิน หญ้าจึงไม่ขึ้น
3.หลังจากนั้น 20 -25 วัน เริ่มใส่ปุ๋ย (จะเป็นปุ๋ย 46-0-0 หรือปุ๋ยที่ต้องการใส่ก็ได้
4.ประมาณ 30 วัน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าหนอนฆ่าแมลง เนื่องจากใส่ปุ๋ยแล้วข้าวก็จะงามหนอนจะมากัดกินข้าว
5.ประมาณ 45 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จึงต้องหว่านปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 ถ้าใส่เกิน 45 วันข้าวดูดซึมไม่หมด ทำให้ข้าวแก่ช้า
6.ประมาณ 50 -60 วัน ต้องฉีดยาฮอร์โมนหรือยาเร่งรวงข้าวและต้องคอยระวังเพลี้ยสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยพวกนี้จะมาดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าว
7.เมื่อข้าวออกรวงหมดแล้วฉีดยาเร่งเต่งหรือยาฮอร์โมนประมาณ 1 – 2 ครั้ง
8.เมื่อข้าวเริ่มเหลืองหางต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด
9.เมื่อข้าวอายุครบ 80 วัน หรือข้าวเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วก็ทำการเก็บเกี่ยว
การดูแลข้าวนาดำ
1.หลังจากดำนาได้ 20 -25 วัน เริ่มใส่ปุ๋ย (จะเป็นปุ๋ย 46-0-0 หรือปุ๋ยที่ต้องการใส่ก็ได้)
2.ประมาณ 30 วัน ฉีดยาฆ่าหญ้าฆ่าหนอนฆ่าแมลง เนื่องจากใส่ปุ๋ยแล้วข้าวก็จะงามหนอนจะมากัดกินข้าว
3.ประมาณ 45 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งท้อง จึงต้องหว่านปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 ถ้าใส่เกิน 45 วันข้าวดูดซึมไม่หมด ทำให้ข้าวแก่ช้า
4.ประมาณ 50 -60 วัน ต้องฉีดยาฮอร์โมนหรือยาเร่งรวงข้าวและต้องคอยระวังเพลี้ยสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยพวกนี้จะมาดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าว
5.เมื่อข้าวออกรวงหมดแล้วฉีดยาเร่งเต่งหรือยาฮอร์โมนประมาณ 1 – 2 ครั้ง
6.เมื่อข้าวเริ่มเหลืองหางต้องปล่อยน้ำออกจากแปลงนาให้หมด
7.เมื่อข้าวอายุครบกำหนดหรือข้าวเหลืองหมดทั้งแปลงแล้วก็ทำการเก็บเกี่ยว
ส่วนการทดลองครั้งนี้ มุ่งเน้นที่จะศึกษาเปรียบเทียบวิธีการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืชของเกษตรกร หมู่บ้านตาขีด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
เพื่อหาข้อสรุปวิธีการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืชที่ดีที่สุด เพื่อนำมาใช้กับการปลูกข้าวของเกษตรกรในอำเภอของผู้จัดทำ

   
     
   
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความละเอียด 800X600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค