หน้าแรก
บทคัดย่อ
บทนำ
บทเอกสาร
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทดลอง
การทดลองกลุ่มที่1ทำนาข้าวตามปกติ
การทดลองกลุ่มที่2ทำนาข้าวพันธุ์c75
การทดลองกลุ่มที่3ใช้สารเคมีลูบ
การทดลองกลุ่มที่4ทำนาดำ
การทดลองกลุ่มที่5พักดิน
ผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
บรรณานุกรม
ภาพการทดลอง
ผู้จัดทำ
 
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันชาวนากำลังประสบปัญหากับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะ ต้นกล้า วัชพืชชนิดนี้มีมีชื่อสามัญว่า “ข้าววัชพืช” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ข้าวดีด ข้าวเด้ง ซึ่งจัดเป็นวัชพืชชนิดร้ายแรงในนาข้าว ข้าววัชพืชเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติกับข้าวปลูกเกิดเป็นลูกผสม ข้าววัชพืชจำแนกตามลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิดคือ 1.ข้าวหางหรือข้าวนก 2.ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง 3.ข้าวลายหรือข้าวแดง ในระยะเริ่มต้นของการระบาดข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียง ไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา 2,3 ฤดูเท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้น ปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าวปลูก ข้าววัชพืชจะมีลักษณะที่ทำความเสียหายแก่ข้าว คือ เจริญเติบโตรวดเร็วและสูงข่มต้นข้าวที่ปลูก แล้วยังออกดอกเร็วและเมล็ดร่วงหล่นในแปลงนาก่อนการเก็บเกี่ยว
เพื่อพร้อมที่จะงอกในฤดูกาลต่อไป จากลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นวัชพืชข้าวแดงจะปะปนในผลผลิตข้าวและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวนาถูกตัดราคาข้าวไปไม่ต่ำกว่าเกวียนละ 200–800 บาท ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้ไปศึกษาในพื้นที่ๆประสบปัญหาข้าววัชพืช พบว่าเกษตรกรใช้วิธีลดปัญหาข้าววัชพืชที่แตกต่างกันจึงเกิดแนวคิด ที่จะศึกษาเปรียบเทียบวิธีการ ต่าง ๆ ที่เกษตรกรใช้ลดปัญหาข้าววัชพืชและหาวิธีที่ดีที่สุด
จุดประสงค์
1.ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการแก้ปัญหาข้าววัชพืชของเกษตรกร
2.ศึกษาและเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากวิธีการแก้ปัญหาข้าววัชพืชในแต่ละวิธี
สมมติฐาน
วิธีการดำนาลดปัญหาการระบาดของข้าววัชพืชได้ดีที่สุด
ตัวแปรต้น
วิธีการแก้ไขปัญหาข้าววัชพืช
ตัวแปรตาม
ผลผลิตของข้าวที่ได้
ตัวแปรควบคลุม
พืชที่แปลงนา/เวลา/สภาพแวดล้อม
สถานที่ที่ใช้ในการทดลอง
พื้นที่นา 1,500 ตารางวา ณ หมู่บ้านตาขีด ต.ตาขีด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
   
     
   
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความละเอียด 800X600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค