ตอนที่  1  การหาสูตรที่เหมาะสมการทำกระดาษสา

          จากการทดลองคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองหาสูตรที่เหมาะสมกับการทำกระดาษสา  ได้ใช้กระดาษโรเนียว  กระดาษกล่องและกระดาษหนังสือพิมพ์  โดยมีใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม   ผลการทดลองปรากฏ  ดังตาราง  1

ตาราง  1  แสดงผลการทดลองการผสมใบเตยหอมกับกระดาษชนิดต่าง ๆ

กลุ่ม

ประเภท

ปริมาณใบเตยหอม
( กรัม )

ปริมาณกระดาษ
( กรัม )

ผลการทดลอง

1

กระดาษโรเนียว

200

50

ดี

2

กระดาษกล่อง

200

50

ปรับปรุง

3

กระดาษหนังสือพิมพ์

200

50

ดีมาก

4

ใบเตยหอม ( ตัวควบคุม )

200

-

พอใช้

          จากตาราง  1  พบว่า  กระดาษสาที่ทำจากใบเตยหอมกับกระดาษหนังสือพิมพ์   อัตราส่วน  200  :  50  กรัม  มีคุณภาพดีที่สุด  รองลงมา  คือ  ใบเตยหอมกับกระดาษโรเนียว  และใบเตยหอมผสมกระดาษกล่อง ตามลำดับโดยใช้ใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม ( control )

 

เกณฑ์การทดลองการผสมใบเตยหอมกับกระดาษชนิดต่าง ๆ
          ดีมาก   หมายถึง   เยื่อกระดาษมีเนื้อละเอียด  ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
          ดี    หมายถึง   เยื่อกระดาษส่วนใหญ่มีเนื้อละเอียด  ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัวและประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
          พอใช้  หมายถึง   เยื่อกระดาษบางส่วนมีเนื้อละเอียด  ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
          ปรับปรุง  หมายถึง   เยื่อกระดาษเนื้อไม่ละเอียด  ผิวไม่เรียบ  ไม่มีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน

ตอนที่  2 การเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา

                   จากการทดลองคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา  ผลการทดลองปรากฏ  ดังตาราง  2

ชนิดของสี

ปริมาณสีของกระดาษ
แต่ละประเภท ( กรัม )

ผลการทดลอง

สีผสมอาหาร

15

พอใช้

สีย้อมผ้า

15

ดีมาก

สีโปสเตอร์

15

ดี

          จากตาราง  2  พบว่า  สีที่ใช้ผสมในการทำกระดาษสากระดาษสาที่มีคุณภาพดีที่สุด  ได้แก่  สีย้อมผ้า  รองลงมาคือ  สีโปสเตอร์และสีผสมอาหาร  ตามลำดับ 

เกณฑ์การเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา
          ดีมาก           หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  มากกว่า ร้อยละ  95
          ดี                 หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  ร้อยละ  85
          พอใช้          หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  ร้อยละ  65
          ปรับปรุง      หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  น้อยกว่า ร้อยละ  50

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 17 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม