ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                   ใบเตยหอมเป็นพืชสมุนไพร  ในอดีตนิยมนำใบเตยหอม มาประกอบอาหารและทำขนมหวานใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว  หรือนำไปแต่งกลิ่นและสีของขนม  จะเห็นได้ว่าเราใช้สมุนไพรเตยหอมมากมาย  ใบเตยมักจะขึ้นในที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ  ใบจะงอกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น  มีสีเขียว  รูปเรียวยาวคล้ายหอกและมีกลิ่นหอมเย็น  ไม่มีดอก  ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ  ใบเตยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ  ช่วยลดการกระหายน้ำเพราะเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ
กระดาษสาเป็นกระดาษชนิดหนึ่ง  ที่ทำมาจากต้นกระดาษสาซึ่งต้นปอสา เป็นพืชเส้นใยในตระกูลเดียวกับหม่อนและขนุนนิยมปลูกมากในภาคเหนือ  ต่อมา ได้มีการพัฒนากระดาษสาทำเป็นลวดลายและมีสีต่างๆ อย่างหลากหลาย  แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย  เช่น ทำกล่องกระดาษ  ที่คั่นหนังสือ  กระดาษห่อของขวัญ  ปกสมุดไดอารี่  ถุงกระดาษ  ฯลฯ
ในปัจจุบันกระดาษสานอกจากจะมีราคาแพงและมีความสวยงามแล้ว  ยังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค  คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะนำใบเตยมาทำเป็นกระดาษสา  เพราะใบเตยเป็นพืชที่มีเส้นใยสูง  จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาทำเป็นกระดาษสาเหมือนกับวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ

จุดมุ่งหมายของโครงงาน

                   1.   เพื่อหาสูตรที่เหมาะสมสำหรับการทำกระดาษสาจากใบเตยหอมโดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษโรเนียว และกระดาษกล่องเป็นส่วนผสม
                   2.   เพื่อเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา

สมมติฐานของโครงงาน

                   ใบเตยสามารถนำมาทำเป็นกระดาษเหมือนกับต้นปอสาได้

ประโยชน์ของโครงงาน

                   1.   ได้สูตรที่เหมาะสมในการทำกระดาษสาจากใบเตยโดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์กระดาษโรเนียว  และกระดาษกล่องเป็นส่วนผสม
                   2.   ได้ผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากกระดาษสา

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 17 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม