สมัยโรมัน (ROMAN)

         หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนารูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียง เดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์ (Chant) โดยมากแล้วแต่ละแห่งจะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบ ที่รับมาตายตัว
นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบ เฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus 205-270 A.D.) และศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.) ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม่ (Neo-Platonic) โพลตินุส ได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจและจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลายหากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร
ในสมัยหลัง ๆ

          การดนตรีได้เสื่อมลงมากเพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่ เหมาะสมและการจัดการบรรเลงดนตรีแบบโอ่อ่าก็ไม่เป็นที่สบอารมณ์หมู่นักปราชญ์ ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนักเช่นการจัดแสดงดนตรีวงมหึมา(Monter concert) ในสมัย ของคารินุส (Carinus 284 A.D.) ได้มีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วยทรัมเปต 100 ชิ้นแตร (Horn)100 ชิ้น และเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก 200 ชิ้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็พูดได้ว่าคึกคักมากสมาคม สำหรับนักดนตรีอาชีพได้รับการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้แก่สมาชิกในรุ่นหลัง ๆ
เมื่อออกุสตุสได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบ พิธีศาสนาและสำหรับงานของราชการด้วยนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์จากจักรพรรดิ เช่น การที่จักรพรรดิ์เนโรประทานวังให้แก่เมเนคราเตส (Menecrates) คีตกวีผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น
         โดยสรุปแล้วโรมันเอาความรู้จากกรีกไปเผยแพร่และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับ สภาพความเป็นจริงในขณะนั้นเพื่อใช้ปลุกใจประชาชนให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันซึ่งจะเป็นผลดีต่อการปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่
จากการค้นพบมรดกทางดนตรีจากแถบตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนเมื่อครั้ง โบราณ โดยเฉพาะจากกรีกโบราณผ่านโรมันเข้าสู่ยุโรปเปิดเผยให้เห็นถึงความรู้ดนตรี ที่มีค่ายิ่งเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แห่งเสียง (Acoustic) ที่กรีกปูทางไว้ให้หลายเรื่องเช่น การกำหนดคุณสมบัติและจัดระเบียบของเสียง ระบบเสียงที่ก่อให้เกิดบันไดเสียงต่าง ๆ หลักในการจัดหมวดหมู่ของลีลาหรือจังหวะ หลักเบื้องต้นในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีรวม ทั้งทำนองเพลงเก่า ๆ ที่สะสมไว้ล้วนมีผลดีต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกต่อไป

บันไดเสียงโบราณ (Church Mode)

         Grout Palisca และ ละเอียด เหราบัตย์ ได้กล่าวถึงบันไดเสียงโบราณ ไว้ว่า … เพลงสวดแต่งขึ้นในระบบของบันไดเสียงโบราณที่เรียกตามหลักวิชาการดนตรีสากล ว่า “ เชอร์ช โมด ” (Church Mode) บันไดเสียงโบราณนี้มีสองประเภท คือ ( ศิลปชัย กงตาล ,2542:50)
        1. ออเธนติค เชอร์ช โมด (Authentic Church Mode) บันไดเสียงประเภทออเธนติคจะเริ่มต้นจากโน้ตขั้นแรกของบันไดเสียงมีชื่อเรียกโน้ตตัวเริ่มต้นนี้ว่า “ ฟินาลิส ” (Finalis) ฟินาลิสทำหน้าที่เหมือนคีย์โน้ต (Key Note) ในปัจจุบันคือเป็นศูนย์รวมของเสียงตามขั้นต่าง ๆ ของบันไดเสียงออเธนติคเชอร์ชโมด ประกอบด้วย 4 บันไดเสียง คือ
1.1 โปรตุส ออเธนติคุส (Protus Authenticus) หรือ (Dorian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มต้นจากโน้ต D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด - เร
1.2 ดิวเตรุส ออเธนติคุส (Deuterus Authenticus) หรือ ฟรีเจียน (Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต E-F-G-A-B-C-D-E หรือ มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร - มี
1.3 ตรีตุส ออเธนติคุส (Tritus Authenticus) หรือ ลีเดียน (Lydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต F – G – A – B – C – D – E – F หรือ ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา
1.4 เตตราร์ดุส ออเธนติคุส (Tetardus Authenticus) หรือ มิกโซลีเดียน (Mixolydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต G – A – B – C – D – E – F – G หรือ ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล
         2. เพลกัล เชอร์ช โมด (Plagal Church Mode) คือ บันไดเสียงโบราณที่เริ่มจากโน้ตที่อยู่ต่ำลงมาจากโน้ตฟินาลิสของโมดออเธนติดในระยะขั้นคู่เสียงคู่ 4 บันไดเสียงโบราณในประเภทเพลกัลนี้มีอยู่เป็นคู่กับบันไดเสียง ออเธนติค โดยมีโน้ตฟินาลิส (Finalis) ตัวเดียวกับออเธนติคเชอร์ชโมด มีอยู่ 4 บันไดเสียง คือ
2.1 โปรตุช ปลากาลิส (Protus Plagalis) หรือ ไฮโปโดเรียน โมด (Hypo – Dorian Mode) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก A – B – C – D – E – F – G – A หรือ ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา โดยมีโน้ต D เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
2.2 ดิวเตรุส ปลากาลิส (Deuterus Plagalis) หรือ ไฮโปฟรีเจียน (Hypo - Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก B – C – D – E - F – G – A – B หรือ ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที โดยมีโน้ตชื่อ E เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
2.3 ตรีตุสปลากาลิส (Tritus Plagalis) หรือ ไฮโปลีเดียน (Hypo – Lydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก C – D – E – F – G – A – B – C หรือ โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
2.4 เตตราร์ดุส ปลากาลิส (Tetrardus Plagalis) หรือ ไฮโปมิกโซลีเดียน (Hypo - Mixolydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)
         บทเพลงแชนท์ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษนี้ มีการนำเครื่องหมายจุด (.) และขีด (-) มาใช้เพื่อแสดงถึงความสูง – ต่ำ ของระดับเสียง จุดและขีดเหล่านี้เขียนอยู่เหนือตัวอักษรมีชื่อเรียกตามวิชาการว่า “ เอ็คโฟเนทิค โนเทชั่น ” (Ecphonetic Notation) การขับร้องเพลงแชนท์นี้ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นการขับร้องแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นบทเพลงแชนท์ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษนี้ มีการนำเครื่องหมายจุด (.) และขีด (-) มาใช้เพื่อแสดงถึงความสูง – ต่ำ ของระดับเสียง จุดและขีดเหล่านี้เขียนอยู่เหนือตัวอักษรมีชื่อเรียกตามวิชาการว่า “ เอ็คโฟเนทิค โนเทชั่น ” (Ecphonetic Notation) การขับร้องเพลงแชนท์นี้ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นการขับร้องแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
         
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
การออกแบบเว็บไซต์กับการพัฒนาชีวิต วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง42202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1