คุณภาพของผู้เรียน
         การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์
 ที่เน้นไปสู่การสร้างองค์ความรู้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน  ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมหลากหลายทั้งเป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคลโดยผู้สอนมีบทบาทในการวางแผลการเรียนรู้  กระตุ้น แนะนำ ช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
        คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์เมื่อจบช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
  ผู้เรียนที่จบช่วงชั้นที่ 3ควรมีความรู้ความคิดทักษะกระบวนการและจิตวิทยาศาสตร์ดังนี้
 1.เข้าใจลักษรธและองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของการทำงานของระบบต่างๆการถ่ายทอดทางพันธุกรรมวิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
 ในสิ่งแวดล้อม
 2.เข้าใจสมบัติและองค์ประกอบของสารลายสารบริสุทธิ์ การเปลี่ยนแปลงของสารในรูปแบบ ของการเปลี่ยนสถานะการเกิดสารละลายและเกิดปฏิกิริยาเคมี
 3.เข้าใจแรงเสียดทานโมเมนต์ของแรงการเคลื่อนที่แบบต่างๆในชีวิตประจำวัน กฏการอนุรักษ์พลังงานการถ่ายโอนพลังงานสมดุลความร้อนการสะท้อนารหักเหและความเข้มของแสง
 4.ข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางไฟฟ้า หลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้า และหลักการบื้องต้นของวงจรอิเล็กทรอนิคส์
 5.เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกแหล่งทรัพยากรธรณีปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนบรรยากาศปฎิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลที่มีต่อสิ่งต่างๆบนโลกความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ
 6.เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีการพัฒนาและผลของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อ
คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
 7.ตั้งคำถามที่มีการกำหนดและควบคุมตัวแปร คิดคาดคะเนคำตอบแนวทาง วางแผลและลงเมื่อสำรวจตรวจสอบวิเคราะห์และปริมาณความสอดคล้องของข้อมูลและสร้างองค์ความรู้
 8.สื่อสารความคิดความรู้จากผลสำรวจตรวจสอบโดยการพูดเขียนจัดแสดงหรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 9.ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตและการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมการทำโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ
 10.แสดงถึงความสนใจมุ่งมั่นรับผิดชอบรอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ให้ได้ผลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
 11.ตระหนักในคุณค่าและความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพแสดงความชื่นชมยกย่องและเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น

 12.แสดงถึงความซาบซึ้งห่วงใยมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่ามีส่วนร่วมในการพิทักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
 13.ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และแสดงความคิดเห็นของตนและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

        คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์เมื่อจบช่วงชั้นที่4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6)

  ผู้เรียนที่จบช่วงชั้นที่ 3ควรมีความรู้ความคิดทักษะกระบวนการและจิตวิทยาศาสตร์ดังนี้
 1.เข้าใจกระบวนการทำงานของเซลล์และกลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
 2.เข้าใจกระบวนการถ่ายทอดพันธุกรรมการแปรผันมิวเทชันวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมต่างๆ
 3.เข้าใจกระบวนการความสำคัญและผลเทคโนโลยีชีวภาพต่อคนสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
 4.เข้าใจชนิดและจำนวนอนุภาคที่เปฌนส่วนประกอบโครงสร้างอะตอมของธาตุการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเขียนสมการเคมีปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี

 5.เข้าใจชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและสมบัติต่างๆ
 6.ข้าใจชนิดสมบัติและปฏิกิริยาที่สำคัญของพอลิเมอร์และของสารชีวโมเลกุล
 7.เข้าใจความสำคัญระหว่างปริมาณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบต่างๆสมบัติของเครื่องกลคุณภาพของเสียงและการได้ยินสมบัติประโยชน์และโทษของแม่เหล็กไฟฟ้ากัมมันตรังสีและพลังงานนิวเคลียร์
 8.เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกและปรากฎการณ์ทางธรณีที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
 9.เข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะแกแลกซีเอกภพและความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ
 10.เข้าใจความสัมพันธ์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่างๆและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ผลต่อเทคโนโลยีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

 
   
     
       
 

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000