ขี้เหล็ก

ชื่อท้องถิ่น ขี้เหล็กใหญ่ (กลาง) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กเผือก (เชียงใหม่) ขี้เหล็กหลวง (เหนือ) ยะหา (ปัตตานี) ขี้เหล็กจิหรี่ (ใต้) ผักจี้ลี้ (เงี้ยวแม่ฮ่องสอน

ชื่อวิทยาศาสตร ์ Cassia siamea Britt.
ลักษณะของพืช เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดเป็นพุ่มแคบทึบสีเขียวเข้ม เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาล มีรอยแตกตามยาวของลำต้นเป็นร่องตื้น ๆ ใบเป็น ใบประกอบรูปเรียว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ปลายสุดเว้าเล็กน้อย ท้องใบสีซีดกว่าหน้าใบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมเขียว ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่มีสีเหลืองที่ตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบนหนาสีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ดอยู่ภายในหลายเมล็ด
ส่วนที่นำมาเป็นยา ใบ ดอก แก่น ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น กระพี้ทั้ง 5 ด่างไม้

ประโยชน์ทางยา - ใบ รสขม ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ แก้สะอึก ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต ลดความดัน ดับพิษโลหิต โรคกำเดา แก้พยาธิ แก้บิด - ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้อาการนอนไม่หลับ แก้หืด เป็นยาระบาย แก้โลหิต ขับพยาธิ เจริญอาหาร บำรุงประสาท
           - แก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษ ถ่ายในโรคม้ามโต แก้เหน็บชา แก้แสบตา บำรุงโลหิต ขับโลหิต แก้กามโรค ถ่ายพิษทั้งปวง เป็นยาระบาย พอกโลหิต ขับน้ำคาวปลา แก้บวม แก้จุกเสียด แก้เบาหวาน
          - ฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะ
การเพาะปลูก ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ปลูกง่ายและไม่ต้องการการดูแลพิเศษใด ๆ
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

 
   
     
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์