ข่า

ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก
ชื่อวิทยาศาสตร ์ Languas galangal (L.) stuntZ

ลักษณะของพืช ลำต้นที่อยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า เหง้ามีข้อและปล้องที่ชัดเจน เนื้อในสีเหลือง และมีกลิ่นหอมเฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดิน สูงได้ถึง 2 เมตร ใบสีเขียวออกสลับข้างกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาวนวล ด้านในของกลีบดอกมีสีประสีแดงอยู่ด้านหนึ่ง
ผลรูปร่างกลมรี เปลือกเเข็ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดหรือแห้ง

ประโยชน์ทางยา เหง้าข่ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบอยู่มาก มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่สดหรือแห้งขนาดเท่าหัวแม่มือ (สดหนัก 5 กรัม แห้งหนัก 2 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้วิธีปรุงเป็นอาหารรับประทานก็ได้ นอกจากนั้นยังนำมารักษาเกลื้อนได้ โดยใช้เหง้าสดฝนกับเหล้าโรงหรือตำแล้วแช่แอลกอฮอล์ จากนั้นนำมาทาบริเวณที่เป็น
การขยายพันธ ุ์ ปลูกโดยใช้เหง้า
การเพาะปลูก ขึ้นได้ในดินทั่วไป

   
     
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์