จากการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรในภาคเหนือทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชาวเขาหลายหมู่บ้าน บริเวณดอยปุย เมื่อกว่า ๒๐ ปีมานี้ ทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย
ก่อนที่จะจัดตั้งโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรตามหมู่บ้านชาวเขาบริเวณดอยปุย ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น และทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงได้ทรงสนับสนุนงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาว โดยได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒ แสนบาท สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า สวนสองแสน) พร้อมทั้งทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตานุทูตพิจารณาให้ความช่วยเหลือ อันเป็นผลให้หลายประเทศให้ความสนใจช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และได้จัดส่งพันธุ์ไม้นานาชนิดมาให้ทดลองปลูก โครงการหลวงจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒

วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการก่อตั้งโครงการหลวงจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่ว่า

          "… เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่งสามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก"

 
   

เว็บไซต์นี้แสดงได้ดีบนความละเอียด 800x600 Medium Text Size
เพื่อเข้าแข่งขันการพัฒนาเว็บไซต์ เนื่องในวัน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2549"
ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก