การพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ จัดทำโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม

ประเพณี – วัฒนธรรม

ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองนครสวรรค์ที่สืบทอดกันมา ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นการเฉลิมฉลองเพื่อความเป็นศิริมงคลเป็นเวลา 3วัน หลังตรุษจีน ในงานจะมีขบวนแห่ต่าง ๆ เช่น การเชิดสิงห์โต การแห่มังกร เอ็งกอพะบู๊ ขบวนนางฟ้า เจ้าแม่กวนอิม ล่อโก๊ว และการแสดงอื่น ๆ แห่แหนไปตามถนนสายสำคัญ ในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์รอบตลาดปากน้ำโพ การแห่มังกรทองในงานนี้นั้นมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไปทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศในด้านความยิ่งใหญ่ มโหฬารสวยงามวิจิตรการตา ทั้งนี้เนื่องจากการแห่มังกรของชาวปากน้ำโพ ใช้คนเชิดที่มีความชำนาญและต้องฝึกซ้อมมาดี ถึง 150 - 170 คน ตัวมังกรยาว 57 - 60 เมตร และตกแต่งประดับประดาตัวมังกรด้วยไฟหลากสีตลอดลำตัวอย่างสวยงาม ลักษณะการเชิดมังกรทองสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ การแสดงมีทั้งการพันเสา พ่นไฟ ฟ่นน้ำ และบางปีก็ลงไปเล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ชมด้วย ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการแสดงเป็นการแสดง

ประเพณีแข่งเรือยาว
สมัยก่อนในช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปีวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอเมืองฯ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ จะร่วมกันจัดให้มีการแข่งเรือขึ้นประจำทุกปี การแข่งเรือยาวจะสนุกสนาน และครึกครื้นด้วยเสียงจากกองเชียร์ต่าง ๆ เรือที่เข้าแข่งขันแต่ละลำจะแสดงออกถึงความสามัคคีและความสามารถของฝีพาย ปัจจุบันจังหวัดนครสวรรค์ได้ฟื้นฟูประเพณีการแข่งขันเรือยาวเป็นประเพณีประจำปีของจังหวัด มาตั้งแต่ปี 2537 เรือที่เข้าร่วมการแข่งขันมีทั้งเรือยาวใหญ่ และเรือยาวเล็ก ชิงถ้วย