ดูดาวหางมาคโฮลส์ฉลองปีใหม่

ประกาศชื่ออย่างเป็นทางการของดาวหางดวงนี้ว่า C/2004 Q2 (Machholz) เป็นดาวหางคาบยาวที่มีวงโคจรเป็นพาราโบลิค มีแนวโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (perihelion) ที่ระยะ 1.20 au. ในวันที่ 24 มกราคม 2548 และจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มกราคม 2548 ที่ระยะ 0.34 au.หรือประมาณ 51 ล้านกิโลเมตร . หลังจากที่ได้ยืนยันตำแหน่งที่แน่นอนของดาวหางดวงนี้ 25 ตำแหน่ง องค์การดาราศาสตร์สากล หรือ IAU ก็ประกาศชื่ออย่างเป็นทางการของดาวหางดวงนี้ว่า C/2004 Q2 (Machholz) เป็นดาวหางคาบยาวที่มีวงโคจรเป็นพาราโบลิค มีแนวโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (perihelion) ที่ระยะ 1.20 au. ในวันที่ 24 มกราคม 2548 และจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มกราคม 2548 ที่ระยะ 0.34 au.หรือประมาณ 51 ล้านกิโลเมตร (เทียบกับเมื่อครั้งที่ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดเมื่อปี พศ.2546 0.37 au.) โดยมีความสว่างที่คาดการณ์ไว้ว่าจะสว่างสูงสุดแมกนิจูด 4 ซึ่งอาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในคืนที่ฟ้ามืดสนิท
การค้นพบ ดาวหางมาคโฮลส์ ถูกค้นพบโดย Donald E. Machholz, Jr นักดูดาวสมัครเล่นชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 6 นิ้ว F/8 ที่ซื้อไว้ตั้งแต่เมื่อตอนคริสต์มาสปี 1968 ตอนที่ค้นพบดาวหางดวงนี้มีความสว่างแมกนิจูด 10 ขนาดกว้างเชิงมุม 2 arc minuites เป็นดาวหางดวงที่ 10 ของเขา นับตั้งแต่การค้นพบครั้งล่าสุดเมื่อปี คศ.1994 ช่วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมาเขาใช้เวลาค้นหาดาวหางดวงใหม่ 1,457 ชั่วโมงแล้วความพยายามของเขาก็สำเร็จ
Donald E.Machholz อยู่โคลแฟกซ์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เริ่มสนใจล่าดาวหางมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยค้นพบดาวหางดวงแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2521 มาคโฮลส์พบดาวหามาแล้ว 9 ดวง โดยพบจากกล้องสะท้อนแสงขนาด 10 นิ้ว 4 ดวง จากกล้องสองตาขนาด 5 นิ้วที่ทำขึ้นเอง 4 ดวง และจากกล้องหักเหแสงขนาด 5 นิ้วอีก 1 ดวง

การมองหาดาวหาง
ดาวหางมาคโฮลส์ถูกค้นพบครั้งแรกขณะอยู่ในกลุ่มดาวแม่น้ำอิริดานุส แต่มีความสว่างน้อยมากแมกนิจูด 11 โดยประมาณ ทำให้การมองหาดาวหางนี้ช่วงแรกๆจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนกระทั่งย่างเข้าปลายปีราวเดือนธันวาคม ดาวหางดวงนี้จะเริ่มมีความสว่างมากขึ้น ซึ่งตลอดช่วงต้นเดือนธันวาคม 47 ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวแม่น้ำอิริดานุสตลอดเวลา มีความสว่างแมกนิจูด 5.5 ถึง 5.0 โดยประมาณ สามารถมองเห็นได้จากกล้องสองตา แต่หลังจากวันที่ 27 ธันวาคม 47 ดาวหางจะเริ่มเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาววัว (Taurus) ซึ่งในวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 48 ดาวหางจะมีความสว่างราว 4.2 ซึ่งน่าจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าในคืนท้องฟ้ามืดสนิท และจะเห็นง่ายขึ้นเมื่อใช้กล้องสองตาหรือกล้องส่องทางไกล โดยอยู่ห่างจากดาวอัลเดบารานหรือดาวตาวัวราว 10 องศา
ในวันที่ 5 มกราคม 48 เป็นวันที่ดาวหางอยู่ใกล้โลกที่สุดและจะมีความสว่างมากที่สุดแมกนิจูดประมาณ 4.1 โดยดาวหางจะขยับไปทางกระจุกดาวลูกไก่อยู่ห่างจากกระจุกดาวลูกไก่ราว 5 องศา ซึ่งในวันที่ 7-8 มกราคม 48 ดาวหางจะเฉียดกระจุกดาวลูกไก่มากที่สุด ห่างราว 3 องศา ซึ่งจะเป็นอีกวันหนึ่งที่นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ทั้งหลายเฝ้ารอคอยการเก็บภาพไว้
ต่อจากนั้นดาวหางจะเคลื่อนไปทางกลุ่มดาวเปอร์เซอุส โดยมีความสว่างลดลงเล็กน้อย ซึ่งในวันที่ 16 มกราคม 48

ดาวหางจะเฉียดดาวแปรแสงที่ชื่อว่า "อัลกอร์" ห่างราว 1.5 องศา เรายังคงสามารถมองเห็นดาวหางได้อีกเป็นเวลานานจนถึงปลายเดือนมกราคม วันที่ 24 วันที่ดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ความสว่างราวแมกนิจูด 4.6 แล้วดาวหางจะเคลื่อนที่อย่างช้าๆไปทางขั้วฟ้าเหนือในเดือนมีนาคม 48 และความสว่างของดาวหางก็เริ่มลดลงเหลือแมกนิจูด 6 ซึ่งจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการดูดาวหางมาคโฮลส์อยู่ระหว่างกลางเดือนธันวาคม 47 ถึงกลางเดือนมกราคม 48 ตั้งแต่เวลา 2 ทุ่มขึ้นไป โดยสังเกตกลุ่มดาวนายพรานเป็นหลัก ถ้าเราได้เห็นดาวสามดวงของกลุ่มดาวนายพรานได้เมื่อไหร่ก็จะเริ่มเห็นดาวหางมาคโฮลส์แล้ว...

 

   
     

เว็บไซต์นี้แสดงผลบนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
นายชัยวัฒน์ สวนกระจ่าง เลขที่12 และนางสาวสุรัสวดี มีสัตย์ เลขที่27 ชั้นม5/1
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิมนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์