ศัพท์ทางดาราศาสตร์
          A Star (เอ-สตาร์) ดาวฤกษ์ที่สเปคตรัมชนิด A มีสเปคตรัมดูดกลืนของไฮโดรเจนเด่นชัด มีอุณหภูมิผิวราว 7500 เคลวิน ที่ A9 และ 9900 เคลวินที่ A0 เป็ดาวสีขาวมีขนาดประมาณ 1.8 ถึง 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวประเภทนี้ได้แก่ Sirius Vega Altair Deneb
         Absolute Magnitude (แอ๊บ-โซ-ลูด-แมค-เน-จูด) ค่าแมกนิจูดสัมบูรณ์ แทนด้วย M เป็น การวัดความสว่างของดาวฤกษ์ เมื่อวัดที่ระยะ ให้อยู่ห่างจากโลก 32.6 ปีแสง หรือ 10 พาร์เสก ซึ่งดาวทั้งหมดจะมีค่าแมกนิจูดสัมบูรณ์อยู่ระหว่าง -5 ถึง +15 ดวงอาทิตย์มีค่าแมกนิจูดปรากฏ -27 และ มีค่าแมกนิจูดสัมบูรณ์ +4.8 ความสัมพันธ์ระหว่างค่า แมกนิจูดปรากฎ กับ แมกนิจูดสัมบูรณ์
                M = m + 5 +5logp
     เมื่อ p คือมุมพารัลแลกซ์ของดาวนั้นมีหน่วยเป็น arc seconds (1/3600 องศา)
     ตัวอย่างเช่น ดาวดวงหนึ่งมีค่าแมกนิจูดปรากฏ 12.6 มีมุมพารัลแลกซ์ 0.5 arc seconds
จงหาค่าแมกนิจูดสัมบูรณ์
แทนค่าสูตร M = 12.60 + 5 +5 log (0.5/3600)
= 17.60 + 5* (-3.85733)
= -1.69

         Absolute temperature (แอ็บ-โซ-ลูด-เทม-เพอ-เร-เจอร์) อุณหภูมิสัมบูรณ์ มีหน่วยวัดเป็นเคลวิน (K) ช่วงย่อยของเคลวินมีค่าเท่ากับ 1 องศาเซลเซียส (C) ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิเคลวิน กับองศาเซลเซียสคือ T= t+273.16 เมื่อ T แทนด้วยอุณหภูมิเคลวิน และ t แทนด้วยองศาเซลเซียส ดังนั้น อุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์จึงมีค่าเท่ากัน -273.16 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสัมบูรณ์มีการใช้กันแพร่หลายในวงการดาราศาสตร์
         Aberration (แอบ-เออะ-เร-ชั่น) มีอยู่ด้วยกันสองความหมาย
1) ตำแหน่งคลาดเคลื่อนของดาวฤกษ์ เป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของโลกเมื่อเทียบกับความเร็วแสง ค้นพบโดย James Bradley เมื่อปี คศ.1729
แบ่งออกเป็น
-Annual Aberration เป็นระยะคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์ ให้ค่าตั้งแต่ 20 arc second ขึ้นไป
- Diurnal Aberration เป็นระยะคลาดเคลื่อนเล็กน้อยที่เกิดขึ้นทางซีกตะวันออก เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งค่ามากที่สุดอยู่ที่ 0.32 arc secconds สำหรับผู้สังเกตที่เส้นศูนย์สูตร และมีค่าเท่ากับศูนย์ที่จุดขั้วโลก
2) ความคลาดเคลื่อนทางแสง จะทำให้ภาพเกิดสีที่ผิดปกติขึ้น ถ้าเกิดขึ้นกับเลนซ์เราเรียกว่า Chromatic Aberration ถ้าเกิดขึ้นกับกระจกโค้งเราจะเรียกว่า Spherical Aberration
         Accretion disk (แอ็ค-ครี-ชั่น-ดิส) คือกลุ่มสะสมของก๊าซรอบๆวัตถุที่มีรัศมีแผ่กว้างออกเป็นเหมือนจานเสียง เกิดขึ้นจากการถ่ายเทมวลสารระหว่างวัตถุที่มีขนาดใหญ่ไปหาวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่นดาวฤกษ์ไปหาดาวนิวตรอน หรือหลุมดำ ซึ่งจะทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากเกิดความร้อนนับล้านองศาและปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมา
         Achromatic Lens (อะ-โคร-มา-ติค-เลนซ์) หรือ achromat เป็นเลนซ์ที่ถูกออกแบบมาให้ลดความคลาดเคลื่อนทางแสง โดยปกติจะใช้เลนซ์ 2 ชิ้นที่ทำจากเนื้อแก้วต่างชนิดกัน มาประกบกันเพื่อให้ได้ผลรวมของแสงตกมาอยู่ที่โฟกัสเดียวกัน
         Active galactic nuclei (AGN) (แอค-ตีฟ-กา-แลค-ติด-นู-คลิ-ไอ) เป็นกาแลกซี่ทั่วไปที่มีหลุมดำ (Black Hole) ขนาดใหญ่กำลังดูดกลืน มวลสาร ของก๊าซโดยรอบอยู่ ซึ่งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลในรูปของสเปคตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงความถี่

         Airglow (แอร์-โกล) ปรากฏการณ์เรืองแสงอ่อนๆของชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งโมเลกุลของชั้นบรรยากาศชั้นบนๆจะถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ เช่นรังสีอุลตร้าไวโอเลท ทำให้โมเลกุลแตกตัวเป็นอิออนแต่อยู่ไม่นานก็จะรวมตัวคืนสภาพเดิมโดยคลายพลังงานออกมาเป็นแสงให้เราเห็น มักจะเห็นหลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว
         Albedo (อัล-บี-โด) เป็นการวัดค่าความสามารถสะท้อนแสง หรือ ความสว่างของวัตถุท้องฟ้า โดยมีค่าตั้งแต่ 1 (มีการสะท้อนแสงได้ดี) จนถึง 0 (การสะท้อนแสงแย่ที่สุด) ในทางดาราศาสตร์ ค่า albedo ถูกใช้ในการคำนวนความสว่างของวัตถุท้องฟ้าด้วย อย่างเช่น ดาวพุธ และดวงจันทร์ มีค่า albodo ต่ำมาก ขณะที่ ดาวเสาร์และดาวบริวารน้ำแข็งของระบบสุริยะชั้นนอก และดาวหาง จะมีค่า albedo สูงเช่นกัน
         Almanac (อัล-มา-แนค) เป็นหนังสือที่บรรจุข้อมูลตำแหน่งของวัตถุบนท้องฟ้าที่สำคัญๆไว้ สำหรับนักดาราศาสตร์และนักเดินเรือ
         Altazimuth (อัล-ตา-ซิ-มุธ) เป็นขาตั้งกล้องดูดาวแบบหนึ่งที่สามารถหมุนไปได้ 2 ทิศทางพร้อมกันคือ
แนวราบ (azimuth motion) และแนวดิ่ง (altitude motion)
         Altitude (อัล-ติ-จูด) เป็นการวัดมุมสูงของวัตถุบนท้องฟ้า เริ่มจากระดับสายตาของผู้สังเกต (Horizontal) 0 องศา สูงขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (Zenith) ค่า 90 องศา ถ้าวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาจะมีค่าเป็นลบ มุมสุงสุดจึงมีค่า 90 องศาเท่านั้น ดูคำว่า Azimuth
         Analemma (แอนนาเลมม่า) เป็นปรากฏการณ์รูปเลข 8 ของตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ของแต่ละวัน ในเวลาเดียวกัน ในรอบ 1 ปี

เนื่องจากในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน ดวงอาทิตย์จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งไม่คงที่บนท้องฟ้า เมื่อเรานำตำแหน่ง ของดวงอาทิตย์แต่ละวันมา plot ต่อๆ กัน จะพบว่ามีลูปที่มาบรรจบกันและเป็นรูปเลข 8 โดยที่ความสูงของเลข 8 เกิดจากแกนเอียงของโลก 23.5 องศา จุดสูงสุดตรงกับ summer solstice และจุดต่ำสุดตรงกับ winter solstice ส่วนความกว้างของเลข 8 เกิดจากค่า eccentricity ของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ นั่นเองAngular Diameter (แอง-กู-ล่า-ได-มิ-เตอร์) เป็นการวัดระยะของวัตถุท้องฟ้าในรูปแบบความกว้างเชิงมุม มีหน่วยเป็นองศา หน่วยย่อยคือ arc minute , arc second ถ้าเราทราบระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับวัตถุท้องฟ้า ก็สามารถคำนวนหาความกว้างจริงของวัตถุท้องฟ้านั้นได้ด้วยหลักตรีโกณมิติ
         Anomaly (อะ-โน-มา-รี่) เป็นการวัดเชิงมุมในการบอกตำแหน่งของวัตถุบนวงโคจรที่เป็นวงรี
         Apparent magnitude (แอบ-พา-เรนท์- แมค-นิ-จูด) เป็นค่าความสว่างของวัตถุบนท้องฟ้าที่เห็นได้จากโลก เรียกว่า ความสว่างปรากฏ ใช้สัญญาลักษณ์ m (ตัวเล็ก) ซึ่งแตกต่างจาก ความสว่างสัมบูรณ์ เพราะวัตถุท้องฟ้าแต่ละชนิดจะมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน
         Aperture(แอบ-เพอ-เจอร์) คือขนาดช่องรับแสงของกล้องโทรทรรศน์ ที่บอกด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนซ์วัตถุ หรือ กระจก primary
         Apochromat (อะ-โพ-โคร-เมท) เลนซ์ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อแก้ปัญหา Chromatic Aberration เช่นกัน แต่มีประสิทธิภาพดีกว่า เลนซ์ Achromat ประกอบด้วยเลนซ์เนื้อแก้วต่างชนิดกัน 3 ชิ้น
         Apsides (แอบ-ไซด์) คือจุดสองจุดบนวงโคจรที่แทนด้วยตำแหน่งใกล้สุด เรียกว่า periapis ตำแหน่งไกลสุดเรียกว่า apapsis ของวัตถุพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น apsides ของโลกคือตำแหน่ง perihelion และ aphelion เส้นที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดนี้เรียกว่า Line of Apsides
         Apex (เอ-แพคป็นจุดบนทรงกลมท้องฟ้าทิศทางที่ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเคลื่อนที่เข้าไปหาด้วยความเร็ว
ประมาณ 19-20 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเราเรียกว่า solar apex อยู่ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิสตำแหน่ง RA18h Dec+30d ส่วนจุดตรงข้ามเรียกว่า antapex อยู่ในกลุ่มดาวนกพิราบ (Columba)
         Aphelion (แอะ-เฟล-เยน) ตำแหน่งไกลสุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิยต์เช่น ดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์ ตรงข้ามกับคำว่า perihelion Apogee (อะ-โพ-จี่) ตำแหน่งไกลที่สุดบนวงโคจรของวัตถุ เช่น ดวงจันทร์ หรือดาวเทียม ที่โคจรเป็นวงรีรอบโลก ส่วนคำคู่กันคือ perigee คือตำแหน่งใกล้โลกที่สุด Arc Minutes (อาค-มิ-นิด) เป็นการวัดระยะเชิงมุมของวัตถุท้องฟ้า มักจะใช้ในการบอกขนาดของวัตถุนั้นๆ โดยที่ 1 arc minute มีค่าเท่ากับ 1/60 องศา ซึ่งก็คือหน่วยย่อยขององศา ที่เรียกว่า “ลิปดา”
         Arc Seconds (อาค-เซค-คอน) เช่นเดียวกับ arc minutes โดยที่ 1 arc second มีค่าเท่ากับ 1/60 arc minute หรือ 1/3600 องศา ซึ่งก็คือหน่วยย่อยขององศา ที่เรียกว่า “ฟิลิปดา”
         Artificial Satellite (อา-ติ-ฟิ-เชียน-แซท-เทอะ-ไลท์) หรือ ดาวเทียม เป็นวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นนำไปโคจรรอบโลก เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านวิทยาศาสตร์ คมนาคม และทางทหาร ดาวเทียมดวงแรกชื่อ สปุคนิค 1 ของรัสเซียส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 4 ตุลาคม 1957
         Ascending Node (แอส-เซน-ดิ้ง-โหนด) จุดตัดของวงโคจร 2 วง ตำแหน่งที่วัตถุเคลื่อนที่จากใต้ขึ้นเหนือ ดูคำว่า
         NodeAspect (เอส-เพค) ตำแหน่งของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ เมื่อมองเห็นจากโลก ดูคำว่า
         Conjunction Elongation Opposition QuandratureAsteroid (แอส-เตอ-รอย) หรือดาวเคราะห์น้อย (Minor planet) เป็นวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็กที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์หลัก ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบชื่อว่า Ceres พบโดย Giuseppe Piazzi เมื่อ 1 มกราคม 1801
         Astrograph (แอส-โตร-กราฟ) กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ถ่ายรูปดาวบนท้องฟ้าในแบบมุมกว้าง เพื่อใช้งานด้านดาราศาสตร์
         Astrometry (แอส-โตร-มิ-ตรี) สาขาหนึ่งของวิชาดาราศาสตร์ ที่ใช้ในการวัดการเคลื่อนที่หรือขนาดหรือตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า เช่น Parallaxes , Proper motions เป็นต้น
         Astrology (แอส-โตร-โล-จี้) วิชาว่าด้วยการศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าสัมพันธ์กับมนุษย์ ที่เราเรียกว่า โหราศาสตร์
         Astrolabe (แอส-โตร-เลป) เป็นเครื่องดาราศาสตร์ในยุคแรกๆ ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณจนถึงศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้ในการเดินเรือ วัดเวลา และการคำนวนการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า astrolabe เป็นเครื่องมือง่ายๆที่ใช้บอกมุมสูง และมุมราบของวัตถุท้องฟ้า
         Astrophysics (แอส-โตร-ฟิ-สิกส์) เป็นวิชาว่าด้วยการศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้า เช่น การแผ่รังสี สนามแม่เหล็ก และความร้อน
         Astronomical unit (AU) (แอส-โตร-โน-มิ-คอล-ยู-นิด) หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ เป็นค่าเฉลี่ยของระยะจากโลกถึงดวงอาทิตย์ มีค่าเท่ากับ 149,597,870 กิโลเมตร มักใช้บอกระยะของวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะของเรา เช่น ดาวเคราะห์ หรือ ดาวหาง ว่าอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เท่าไหร่ หากเป็นวัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะจะใช้หน่วยเป็น ปีแสง (Light year) หรือ พาเสค (Parsec) แทนAtmosphere (แอท-มอส-เฟีย) คือชั้นบรรยากาศหรือก๊าซที่ห่อหุ้มดาวเคราะห์หรือดาวบริวารไว้ถูกกำหนดโดยระยะห่างจากดวงอาทิตย์และเร็วหลุดพ้นของดาวเคราะห์นั้นๆ
         Atmosheric extinction (แอท-มอส-เฟอ-ริค-เอ็กซ์-ทิง-ชั่น)เป็นการลดความสว่างของวัตถุท้องฟ้าเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ยิ่งผู้สังเกตอยู่ต่ำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีผมมากเพราะแสงจะผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาขึ้นด้วย
         Atmosheric refraction (แอท-มอส-เฟอ-ริค- ีรี-แฟ็ลค-ชั่น) ปรากฏการณ์ที่เห็นวัตถุท้องฟ้าอยู่สูงกว่าความเป็นเจริง เกิดขึ้นจากความหนาของชั้นบรรกากาศจะทำให้แสงเกิดการหักเหเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน (สูญญากาศกับชั้นบรรยากาศ) ทำให้เราเห็นดวงอาทิตย์ ด้านทิศตะวันออกก่อนอาทิตย์ขึ้นจริง และยังเห็นดวงอาทิตย์อยู่หลังจากตกลับขอบฟ้าไปแล้ว นอกจากนี้จะทำให้ขนาดของดวงอาทิตย์ใหญ่ขึ้นเล็กน้อยด้วย
         Aurora (ออ-โร-ร่า) ปรากฏการณ์เรืองแสงของชั้นบรรยากาศสูงขึ้นไป 20 ถึง 100 กิโลเมตร บริเวณแถบขั้วโลก ซึ่งเกิดจากอนุภาคในลมสุริยะที่หลุดรอดการจับของสนามแม่เหล็กโลก มากระทบกับอะตอมของออกซิเจน และไนโตรเจน ทำให้ปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นสีแดงและเขียว ออโรร่าที่เกิดแถบซีกโลกเหนือเรียกว่า Aurora Borealis ถ้าเกิดทางแถบซีกโลกใต้ก็เรียวกว่า Aurora Australis
         Autumnal equinox (ออทัมนัล อิคิวน๊อกซ์) ดูเรื่อง EquinoxAzimuth (อะ-ซิ-มุธ) เป็นการวัดมุมในแนวราบของวัตถุท้องฟ้า เริ่มที่ทิศเหนือ 0 องศาไปทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมาที่ทิศเหนืออีกครั้ง 1 รอบมีค่าเท่ากับ 360 องศา

 

 

 

   
     

เว็บไซต์นี้แสดงผลบนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
นายชัยวัฒน์ สวนกระจ่าง เลขที่12 และนางสาวสุรัสวดี มีสัตย์ เลขที่27 ชั้นม5/1
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิมนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์