วันสำคัญต่างๆทางศาสนา
         วิสาขบูชา

       วันวิสาขบูชา เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษ ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับ เมืองเทว ทหนคร ณ ที่นั้น พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของ พระเจ้าสุทโธทนะได้ประสูตร พระโอรสพระองค์หนึ่ง ครั้นประสูติแล้วได้ ๕ วันพระเจ้าสุทโธทนะทรงทำมงคลพิธีขนานพระนามว่า ั"สิทธัตถราชกุมาร"เมื่อสิทธัตถราชกุมารทรงพระเจริญขึ้น ได้รับการศึกษาในสำนักครูวิสามิตรจนจบวิทยาการที่อาจารย์สอนให้ ครั้นพระขนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทำพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพาราชบุตรีของพระเจ้าสุปพุทธะ กษัตริย์กรุงเทวทหะ สิทธัตถราชกุมารเสวยสุขสมบัติอยู่ตลอดกาล จนพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา มีพระโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า"ราหุล"สิทธัตถราชกุมารไม่พอพระทัย ในการอยู่เป็นฆราวาส ท่านตริตรองถึงชีวิต ของคน เล็งเห็นว่าล้วนแล้วไปด้วยทุกข์ จึงหาอุบายที่จะให้พ้นทุกข์ เรื่องอยากพ้นทุกข์นั้นมีด้วยกันทุกคน แต่อุบายที่จะให้พ้นทุกข์ มีต่างๆกันตามความ เห็นของคนสามัญเห็นว่าถ้ามั่งมีก็พ้นทุกข์ถ้ามียศมีอำนาจก็พ้นทุกข์ ผู้ที่ชอบดื่มเหล้านึกว่า ถ้ามีเหล้าดื่มอยู่เสมอแล้ว ก็จะละลายความทุกข์ให้หมดไป เหมือนน้ำละลายดินสอพอง แต่ทั้งนี้ก็ไม่พ้นทุกข์กันไปได้ ทุกข์มีอยู่เสมอ ถึงจะมั่งมี มียศ มีอำนาจบริบูรณ์ก็ยังไม่เห็นพ้นทุกข์กันไปได้ จึงเป็นอันว่า คนสามัญหาอุบายแก้ทุกข์ ไม่สำเร็จ ยิ่งไปแก้ทุกข์ก็ยิ่งทับถมหนักขึ้น เพราะแก้ไม่ถูกทาง ส่วนสิทธัตถราชกุมารหาอุบายแก้ทุกข์ได้สำเร็จ คือ ทรงตัดสิน พระทัยสละโภคสมบัติยศศักดิ์ อำนาจวาสนา เสียโดยสิ้นเชิงทรงค้นหาความบริสุทธิ์อันเป็นรากฐานแห่งความดีทั้งหลายในที่สุดพระองค์ได้บรรลุ ุคุณวิเศษอันเป็นเหตุให้หมดทุกข์ทรงพบความสุขอันแท้จริงในเมื่อ พระชนม์ได้ ๓๕ พรรษาที่เราเรียกว่า ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือนวิสาขะในระหว่างนี้พระองค์ได้ทรงเผยแพร่ประกาศศาสนธรรมให้แพร่หลายไปใน หมู่พุทธศาสนิกชน ่ พระองค์ไม่ได้อยู่ว่างคำสอนของพระองค์มุ่งให้ตั้งอยู่ในความสงบ ความสามัคคี การหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบเป็นต้น
       พระองค์ทรงบำเพ็ญอยู่เช่นนี้ตลอด ๔๕ พรรษา ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว ณ ระหว่างใต้ต้นรังทั้งคู่ในเมืองกุสินารา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรทมผินพระเศียรไปทางทิศอุดร บรรทมโดยข้างเบื้องขวา พระหัตถ์ซ้ายหยียดตรงทาบกับพระองค์เบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายันไว้กับพระเศียรเบื้องขวา ตั้งพระบาทเบื้องซ้ายทับพระบาทเบื้องขวามีพระสติสัมปชัญญะมั่นคง ทรงบรรทมครั้งนี้เป็นอวสาน เรียกว่า"อนุฏฐานไสยา"แปลว่า "นอนอย่างไม่ลุกต่อไปอีก"สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระคุณ ๓ ประการ คือ พระองค์ทรงรู้ดีรู้ชอบ เป็นพระปัญญาคุณประการหนึ่ง พระองค์ทรงบริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นพระบริสุทธิคุณประการหนึ่ง พระองค์ทรงสงสารสั่งสอน ผู้อื่น เป็นพระกรุณา คุณประการหนึ่ง ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้วในวันวิสาขะนี้เองตามที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญ ยิ่งนัก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าของเราได้ประสูติ คือ เกิด ได้ตรัสรู้ คือ สำเร็จ ได้ปรินิพพานคือ ดับทั้ง ๓ อย่างนี้ในวันวิสาขบุรณมีตรงกันเมื่อมาถึงวันเช่นนี้ทุกปี เราคิดถึง พระพุทธเจ้าจึงพร้อมใจกันบูชาพระองค์ในวันวิสาขะ จึงเรียกกันว่า"วิสาขบูชา" แต่ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเรียกว่า"วิสาขบุรณมีบูชา"แปลว่า"การบูชาพระ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ"แต่ยาวไป เราจึงเรียกให้สั้นว่า"วิสาขบูชา" เมื่อถึงวันเช่นนี้ควรตั้งข้อกำหนดลงไปว่า วันเช่นนี้ตรงกับวันประสูติวันตรัสรู้วันปรินิพพาน ของพระพุทธองค์แล้วบูชานึกน้อมถึงคุณพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ตามความเข้าใจของตน ความจริง พระพุทธองค์ถึงจะประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ห่างปีกัน คือ จากปีประสูติ มา ๓๕ ปี จึงได้ตรัสรู้
       ต่อมาอีก ๔๕ ปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่ก็ตรง ในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ถ้าพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานในวันต่างๆ กัน หน้าที่ของเราผู้เป็นพุทธศาสนิกชนก็จะต้องทำการบูชาใหญ่ต่างๆกันได ้ทั้ง ๓ คราว นี่เป็นการอัศจรรย์นักหนาที่วันสำคัญได้ตรงกันทั้ง ๓ ครา เราจึงได้ทำการบูชาใหญ่กันเพียงปีละครั้งแต่ว่าตั้งข้อกำหนดไว้ถึง ๓ อย่างรวมกันไปในคราวเดียว การทำวิสาขบูชา เป็นภารกิจที่ทำได้ง่ายมาก เพราะมีเพียงปีละครั้งเท่านั้นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หากขาดการทำพิธีบูชาพระในวันเช่นนี้ ก็ดูเป็นนับถือพระแต่เพียงชื่อชีวิตจิตใจมิได้เป็นอย่าง ผู้นับถือพระ ท่านแต่ก่อนชั้นปู่ย่าตายายของเราที่หนักแน่นในคุณพระ แม้กำลังนอนเจ็บอยู่กับที่ เมื่อได้ทราบว่า เป็นวันวิสาขบูชา ท่านก็ประนมมือ ยกขึ้นสาธุระลึกถึงคุณพระ ที่ทุพพลภาพยกมือขึ้นไม่ไหวก็ตั้งใจระลึกถึงคุณพระเป็นอารมณ์ ทำใจให้แจ่มใสไม่ระส่ำระสายในเวลาเช่นนี้ลูกหลาน ของท่านที่รู้ระเบียบมักจะ จุดธูปเทียนดอกไม้ จุดบูชาให้ท่านเสร็จ แล้วก็แจ้งให้ท่านทราบ ท่านก็อนุโมทนาและสาธุเหมือนได้จุดบูชาเองหรือไม่เช่นนั้น ท่านก็ฝากธูปเทียนดอกไม้ให้แก่ใครผู้หนึ่งไป บูชาแทน ท่านผู้ที่หนักแน่นในคุณพระเช่นนี้ ที่อยู่ใกล้ๆวัดได้ยินเสียงระฆังถนัด ในเวลาไม่เจ็บไข้แม้มิใช่วัน วิสาขบูชาเมื่อได้ยินเสียงระฆังนัดไหว้พระประจำวัน ถึงกำลังรับประทานอาหารอยู่ ท่านก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นจริยวัตรของท่าน การทำดังนี้ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ ท่านทำด ้วยความเลื่อมใสจริงๆ
       อนึ่ง การทำวิสาขบูชานี้ ปรากฏว่า ได้ทำมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ดังปรากฏตามตำนานที่กล่าวไว้ว่า"อันพระนครสุโขทัยราชธานีถึงวันวิสาขะ นักขัตฤกษ์ครั้งใดก็สว่างไสว ไปด้วยแสงประทีปเทียนดอกไม้เพลิง และสลับสลอนไปด้วยธงชายและธงผ้าไสวไปด้วยพู่พวงดวงดอกไม้กรองร้อยห้อย แขวนหอมตลบไปด้วยกลิ่นสุคนธสรวยรื่น เสนาะสำเนียง เสียงพิณพาทย์ฆ้องกลองทั้งทิวาราตรี มหาชนชายหญิงพากันมากระทำกองการกุศล เหมือนจะเผยซึ่งทวารพิมานฟ้าทุกช่อชั้น"นั้แสดงว่าในครั้งกระโน้นทำวิสาขบูชาเป็นการ สนุกสนาน เพิ่มพูนศรัทธาปสาทะในวันเช่นนี้อย่างมากมาย แต่มาในชั้นกรุงเก่า ยังไม่พบหลักฐานว่า ได้ทำกันมาอย่างไร มาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑ เข้าใจว่า มีพิธีวิสาขบูชา เพราะปรากฏในกาพย์เห่เรือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังไม่ได้เถลิงสิริราชสมบัติ ว่า
คำนึงถึงเดือนหก ทั่วทายกตามโคมเคย งานสุดนุชพี่เอย ได้เห็นกันวันบูชา
       แต่ในรัชกาลที่ ๑ นี้ ไม่ปรากฏชัดว่า ได้ทำกันเป็นแบบแผนอย่างไรมาสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงปรากฏว่าได้มีพิธีวิสาขบูชาเป็นแบบแผนขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชดำริกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุพระนคร โปรดให้รื้อฟื้นการวิสาขบูชาขึ้นใหม่ เมื่อปีฉลู นพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐ เป็นครั้งแรกที่ได้ทำกัน เป็นแบบแผนขึ้นมีพระราชกำหนดเรียกว่า"พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา" ได้ทรงเกณฑ์ข้าราชกาลให้ร้อยดอกไม้มาแขวนไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันละร้อยพวงเศษ ทั้งประกาศไปตามอำเภอและกำนันให้ ้ป่าวร้องบอกราษฎรรักษาศีล ให้ชวนกันไปฟังเทศน์ เลี้ยงพระ ให้จุดโคมตามประทีปบูชาทั้งในพระอารามและตามบ้านเรือนทั่วไป มาถึงรัชกาล ที่ ๓ ได้จัดมีเทศน์ปฐมสมโพธิในวันวิสาขบูชา ซึ่งยังคงใช้เทศน์อยู่จนบัดนี้ ใจความในปฐมสมโพธิ ว่าด้วยเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงเกณฑ์ให้เจ้านาย ข้าราชการ ตั้งโต๊ะเครื่องบูชาตามรอบเฉลียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการครึกครื้นสนุกสนานมาก จนเกิดเล่นเครื่องโต๊ะลายครามกันขึ้น เมื่อการเล่นเครื่องโต๊ะจืดจางลง ได้โปรดให้เปลี่ยนใหม่เกณฑ์ให้ข้าราชการทำ โคมตราตำแหน่งมาแขวนตามศาลาราย และพระระเบียง โดยรอบ เป็นการเอิกเกริกยิ่งนัก สมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการฝ่ายในเดินเทียนและสวดมนต์ที่พระพุทธรัตนสถานก็ยืนอยู่ที่ เช่น เลขาธิการพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา ซึ่งเคยมีมาแต่ก่อนก็คงยืนอยู่ที่ เช่นเลขาธิการพระราชวังได้บอกบุญไปยังกระทรวงทบวงกรมต่างๆเพื่อแจ้งให้ข้าราชการผู้มีจิตศรัทธาปราถนาจะแต่งตามประทีปโดยเสด็จ พระราชกกุศล จะทำโคมตราหรือเทียนไปจุดเป็นพุทธบูชาที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามก็ได้ นี้เป็นพระราชพิธีเนื่องในวันวิสาขบูชา ส่วนที่พุทธศาสนิกชน ทั่วๆไปทำกันในวันเช่นนี้ ก็คือนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาตามวัด แล้วประชุมกันตั้งแถวให้เป็นระเบียบกล่าวคำบูชาพระ คำบูชาพระนั้นมีหัวหน้าเป็น ผู้ว่านำ เมื่อจบใจความของคำบูชา ต่อนั้นไปก็จัดแถวเดินประทักษิณเวียนขวาพระสถูปหรือพระปฏิมา ๓ รอบเรียกว่า"เดินเวียนเทียน"
       การเดินเวียนเทียนในขณะนั้น ข้อสำคัญต้องรักษามรรยาทและจิตใจให้สุภาพและแน่วแน่อย่าทำไปเพราะเห็นแก่สนุกเฮฮาเบียดเสียดกัน การทำ เช่นนี้เสียมาก ไม่ทำดีกว่าเมื่อจะทำทั้งทีก็ทำให้เป็นกุศลขึ้น ในรอบสามนึกถึงพระสังฆคุณ เมื่อเสร็จการเวียนเทียน ก็นำเครื่องสักการะวางไว้ตามที่ที่จัดไว้ แล้วไปในพระอุโบสถ ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์และฟังเทศน์ เป็นลำดับไป เรื่องที่พระเทศน์ในวันนั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวแก่ประวัติของพระพุทธเจ้า การเทศน์ในวันนั้นมีไปจนตลอดรุ่ง และผู้ฟังที่มีศรัทธาก็อยู่ฟังเทศน์จนตลอดรุ่งเหมือนกัน เป็นการอุทิศร่างกายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ในวันนั้นจริงๆนี้เป็นพิธีทำวิสาขบูชาของพุทธศาสนิกชนใน

   
     วัน"มาฆบูชา"
       วันมาฆบูชา เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ซึ่งโดยปรกติทำกันในกลางเดือน ๓ ปีใด มีอธิกมาสคือเดือนแปดสองแปด ก็เลื่อน ไปกลางเดือน ๔ วันมาฆะนี้เพิ่งทำกันขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำตามแบบ โบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า.-
       ๑. วันนั้น เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์ ๒. ท่านเหล่านั้น ล้วนได้รับอุปสมบทจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓. ท่านเหล่านั้น ไม่มีใครเชื้อเชิญบังเอิญมาเอง และ ๔. วันนั้นเป็นวันมาฆบุรณมีพระจันทร์ ์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์ พร้อมกันเป็นองค์ ๔ เรียกว่า"จาตุรงคสันนิบาต" นับว่า เป็นการอัศจรรย์ใน พระ พุทธศาสนา ที่เหตุการณ์ทั้ง ๔ นี้มี ีบรรจบกันในวันนั้นพุทธศาสนิกบัณฑิตจึงได้ถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ นั้นให้เป็น ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา อนึ่ง ในวันนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเทศน์โอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ซึ่งเป็น มหาสังฆนิบาต คือ ประชุมสงฆ์หมู่ใหญ่ ใจความของโอวาทปาติโมกข์นั้น ก็คือ แสดงหัวข้อคำสอนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๓ ประการคือ.-
       สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำความชั่วทุกชนิด ๑
       กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำแต่ความดี ๑
       สจิตฺตปริโยทปนํ การทำใจให้ผ่องแผ้ว ๑
       เอตํ พุทฺธานสาสนํ สามประการนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       พิธีนี้ชื่อเรียกเป็น ๒ อย่าง คือ มาฆบูชาบ้าง จาตุรงคสันนิบาตบ้าง ดังเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ในวันเช่นนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์แก่ พระสงฆ์ประชุมกันในตอนบ่าย ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์นับว่า เป็นวันประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเลือกเอากรุงราชคฤห์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนานั้น น่าจะเห็นว่าเพราะพระองค์ทรงเห็นความมั่นคงของ พระศาสนา แล้ว เนื่องด้วยพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใส เพราะการตั้งสมาคมต้องการตั้งสมาคมต้องอาศัยความนิยมนับถือของประชาชนเป็นใหญ่ เมื่อมีผู้นิยมนับถือแล้ว สมาคมที่ตั้ง ขึ้นก็เจริญหากไม่มีผู้นิยมนับถือก็ย่อมเสื่อม ฉะนั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสแล้วก็มั่นใจว่า จะเจริญ อีกประการหนึ่งก็ต้องการจะอาศัยกำลังของพระเจ้าพิมพิสาร ด้วยเพราะสมาคมที่ตั้งขึ้นแล้วจะดำรงยั่งยืนอยู่ได้ต้องได้รับความอุปถัมภ์บำรุงเพียงพอ ถ้าขาดผู้อุปถัมภ์ก็หมดกำลัง ตั้งอยู่ไม่ได้ต้องเลิกล้มไป อย่างเดียวกับวัดวาอาราม หรือสมาคมต่างๆในบัดนี้ เมื่อพอใจได้ว่า จะไม่ล้มด้วยเหตุผลตามที่ ี่กล่าวมานั้น พอจะชี้ให้เห็นถึงการที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาใน- กรุงราชคฤห์ เป็นครั้งแรกด้วยเหตุที่วันนี้เป็น วันสำคัญ เป็นวันประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้มั่นคงถาวร ตราบเท่าวันนี้ จึงได้จัดเป็นพระราชพิธิอย่างหนึ่ง ซึ่งพระมหากษตริย์ทรงบำเพ็ญพระ ราชกุศลสืบๆ กันมาเป็นประจำตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ตลอดมา การพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์นั้น ปรากฏในเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนมีดังนี้.-
       "เมื่อถึงวันมาฆเวลาเช้า พระสงฆ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาส ดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการแล้ว พระสงค์สวดทำวัตรเย็น- เหมือนอย่างที่วัดแล้วจึงให้สวดมนต์ต่อไป มีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบ ทรงจุดเทียนตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๔๐ เล่ม เท่าจำนวนพระอรหัต์ที่มาประชุม ครั้งนั้น มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ๑ เป็นเทศนาทั้งภาษามคธ และภาษาไทย เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่างๆ - เทศน์จบพระสงฆ์ที่สวด ๓๐ รูปนั้นรับสัพพีเป็นเสร็จการ
       อนึ่งวันมาฆะ นี้ถ้าถูกครราวเสด็จพระราชดำเนินไปประพาสที่ใดๆเช่นพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็ทรงทำมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆขึ้น อีกส่วนหนึ่งต่างหาก นอกจากในพระบรมมหาราชวัง"นี้เป็นการกุศลส่วนของพระมหากษัตริย์ส่วนที่พุทธศาสนิกชน อื่นๆจะบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆะนี้ มีประเพณีว่าให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปในวัดพอได้เวลาพระสงฆ์ประชุมพร้อมกัน ยืนหันหน้าตรงต่อพระสถูปหรือ พระปฏิมา บรรดาฆราวาสก็ยืนตั้งแถวให้เป็นระเบียบอยู่หลังพระสงฆ์ จุดธูปเทียนที่เตรียมไป ยืนตรงประนมมือถือเครื่องสักการะพระสงฆ์ผู้ใหญ่ใน ที่ประชุมนั้น กล่าวนำคำบูชา แล้วทั้งหมดว่าตามด้วยความตั้งใจแน่วแน่ตรงต่อวัตถุที่เคารพบูชานั้น

 
       วันอาสาฬหบูชา
       อ าสาฬหะ คือ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้มีอยู่อย่างไรจะได้นำพุทธประวัติตอน หนึ่งมาเล่าต่อไปนี้
       นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ คือ        สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะอันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่ตลอด ๗ วัน
       สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วันที่ ประทับยืนนั้น ปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิสิมสสเจดีย์"
       สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์แล้วทรงจงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ ี่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"
       สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"
       สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอยู่ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้นทรงแก้ปัญหาของ พราหมณ ์ ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

       สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลาพญานาคมาวงขด ล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญความสงัดและความไม่เบียดเบียนกันว่า เป็นสุบในโลก สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจาก อุกกลชนบทมาถึงที่นั้นได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวายพระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว
สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสกนับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาลทรงพิจารณาสัตวโลก
       เมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จีงท้อ พระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมีตอนนี้แสดงถึงบุคคล๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ

       ๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่งสอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่
จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น

       ๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น
       ๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยง จากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป
       ๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและ เต่า
        เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้วจะมีอยู่ก็ แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักต์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็นพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการ ตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะ ประทานปฐมเทศนา แก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา ๗-๘ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฎว่าพอตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง พระพุทธองค์ก็เสด็จ ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสีอันเป็นที่อยู่แห่งปัจจวัคคีย์  พอเสด็จเข้าราวป่าพวกปัญจจวัคคีย์นั้นได้เห็นจึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่รับบาตรจีวรจะตั้งไว้ให้เพียงอาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์กลายเป็นคนมี ความมักมากหมดความเพียรเสียแล้ว พอพระองค์เสด็จถึง ต่างก็พูดกับพระองค์โดยไม่เคารพพระองค์ตรัสห้ามและทรงบอกว่าพระองค์ตรัสรู้แล้วจะแสดงธรรมสั่งสอนให้ฟัง
พราหมณ์ทั้ง ๕ ก็พากันคัดค้านลำเลิกด้วยถ้อยคำต่างๆ ที่สุดพระองค์จึงทรงแจงเตือนให้รำลึกว่า พระองค์เคยกล่าวเช่นนี้มาในหนหลังบ้างหรือ ? พราหมาณ์ทั้ง๕ ระลึกได้ ต่างก็สงบตั้งใจฟังธรรมทันที ค่ำวันนั้น พระองค์ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง ๕ รุ่งขี้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ        พระองค์ทรงเริ่มแสดงธัมม-จักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์นั้นโดยใจความคือทรงยกที่สุด ๒ ฝ่าย ได้แก่ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินใน กามสุข ทั้ง ๒ นี้นับว่า เป็นของเลวทราม ไม่ควรเสพเฉพาะทาง สายกลางเท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมัตนะ ทำการงานชอบ
๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
       สรุปด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่
       ๑. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ  ๒. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์  ๓. นิโรธิความดับทุกข์
 ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
       ชี้ให้เห็นโดยปริวรรตและอาการต่างๆ ว่า เมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้โดยชอบถึงความหลุดพ้นและสุดชาติสุดภพแน่นอนขณะที่พระองค์ ทรงแสดงธรรมนี้อยู่  ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางปัญญาพระองค์ทรงทราบจึงเปล่างพระอุทานว่า "อัญญสิๆ" "อัญญสิๆ" (โกณฑัญญะรู้แล้วๆ)เพราะพระองค์ทรงอุทานนี้ภายหลังท่านโกณฑัญญะ จึงได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชา พระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตาม พระพุทธองค์ตามพุทธประวัติที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ คือ

๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสตา
๒. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
๓. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาในวันนั้น
๔. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะพระสังฆรัตนะ

 
 
 
 
 
 

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี บนความละเอียด  800 x 600 pixels Text  Size  Medium
นายทศพร พวงสมบัติ  เลขที่ 2  และนางสาวสุทธิลักษณ์ ไหมทอง เลขที่ 20
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1  โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
Copyright © 2004 ; All right reserved.