สภาพเศรษฐกิจ

าคเกษตรกรรม
การกสิกรรม มีพื้นที่ใช้ในการกสิกรรม ประมาณร้อยละ 29.72 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยเป็นพื้นที่ทำนามากที่สุดเป็นอันดับ 1 พื้นที่ทำไร่เป็นอันดับ 2 กว่า 70% ของประชากรในจังหวัดมีอาชีพทำกสิกรรม รองลงมาคือ การค้าส่ง ค้าปลีก การบริการ การคมนาคม และการขยส่ง การอุตสาหกรรม และเหมืองแร่ พืชหลักที่สำคัญและเป็นรายได้ของเกษตรกรในจังหวัด มีดังนี้
ข้าว : ปลูกมากที่สุดในอำเภอเมือง ท่ายาง บ้านลาด เขาย้อย บ้าแหลมและชำอำ
สับปะรด : ปลูกมากบริเวณ ชะอำ ท่ายาง หนองหญ้าปล้อง และแก่งกระจาน
ข้าวโพดเลี้ยวสัตว : ปลูกมาแถวที่ราบเชิงเขา นอกจากนี้ยังมีปลูกข้าวโพดหวานหรือข้าวโพดรับประทานด้วยแต่ไม่มากนัก แหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายางและหนองหญ้าปล้อง
มันสำปะหลัง : มีปลูกในจังหวัดเพชรุบรี แถบอำเภอชะอำ บ้านลาด และท่ายาง
อ้อย : ปลูกมากในเขตอำเภอชะอำ ท่ายาง หนองหญ้าปล้อง และอำเภอแก่งกระจานแถบบริเวณที่ราบเชิงเขานอกเขตพื้นที่ชลประทาน
ฝ้าย : พื้นที่เพาะปลูกเขตอำเภอท่ายาง หนองหญ้าปล้อง ชะอำ และแก่งกระจาน
ถั่วเขียว : มีปลูกแถบทุกอำเภอ แต่ปลูกมากในอำเภอท่ายาง
มะนาว : ปลูกมากในเขตอำเภอท่ายาง บริเวณที่ได้รับน้ำจากชลประทานตลอดทั้งปี ส่วนอำเภออื่นมีปลูกน้อย
มะม่วง : ในบรรดาไม้ผลที่ปลูกในเขตจังหวัดเพชรบุรี มะม่วง เป็นผลไม้ที่เกษตรกรนิยมเพาะปลูกมากที่สุดและมีการขยายตัวเร็วที่สุด พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง ท่ายาง และแก่งกระจาน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ เขียวเสวย ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้ หนังกลางวันและอื่น ๆ มีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศทางด้านมาเลเซีย สิงค์โปร์ โดยพ่อค้าในท้องถิ่นเอง ส่งออกทางรถยนต์ผ่านทางภาคใต้ของประเทศ
ชมพู่เพชร : ปลูกมากแถบโค้งน้ำหักในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี บริเวณวัดชมพูพนต่อเนื่องไปจนถึงวัดบันไดทอง
กล้วย : ปลูกได้ทุกอำเภอ ส่วนใหญ่จะปลูกมากในเขตอำเภอท่ายาง แก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ กล้วยไข่ กล้วยหอม

การปศุสัตว์ เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่เป็นส่วนมาก รองลองมาได้แก่ โค เป็ด และสุกร ตามลำดับ โดยเฉพาะโค ปัจจุบันมีการเลี้ยงมาก ทั่งโคนม โคเนื้อ โคเนื้อเลี้ยงมากในเขตอำเภอเมือง ท่ายาง ชะอำ บ้านลาด และแก่งกระจาน ส่วนโคนมมีเลี้ยงมากในเขตอำเภอชะอำ ท่ายาง อำเภอเมืองและบ้านแหลม เป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากอาชีพการเกษตร


การประมง จังหวัดเพชรุบรี มีแหล่งน้ำจำนวนมากที่สามารถใช้ในการประมง ได้ทั้งแหล่งน้ำจีดทั่วไปและอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ซึ่งเป็นแหล่งประมงน้ำจีดที่สำคัญของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนว จึงทำให้มีประชาชนประกอบอาชีพการประมงน้ำจีด และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย และการประมงทะเล ซึ่งจังหวัดเพชรบุรีมีอาณาเขตติดกับทะเลอ่าวไทย ด้านตะวันออกประมาณ 82 กิโลเมตร ในเขตท้องที่อำเภอเขาย้อย บ้านแหลม เมือง ท่ายาง และชะอำ การทำประมงส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านแหลม ในส่วนของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีการเพาะเลี้ยงใน 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ชะอำ บ้านแหลม และเขาย้อย

เกลือ มีการทำนาเกลือในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านแหลม และชะอำ


ภาคอุตสาหกรรม


การอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งของประชากรในจังหวัด โดยสามารถทำรายได้ให้จังหวัดเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทางการเกษตร มีผลทำให้ระดับรายได้ไม่คงที่ เนื่องจากมีการผันแปรตามความต้องการของภาวะตลาดทั่งภายในและต่างประเทศ โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของจังหวัด คือ โรงงานสีข้าว รองลงมาเป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก ประเภอุตสาหกรรมในครอบครัว เช่น โรงทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน โรงงานน้ำแข็ง โรงงานถนอมผัก โรงงาผลไม้กวน หรือ ตากแห้ง โรงงานโม่เกลือ โรงงานซ่อมเครื่องรถยนต์ เป็นต้น ตั้งอยู่ในเขตอำเภอต่าง ๆ

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีเงินทุนเกินกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 3 โรงงาน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชะอำ คือโรงงานทำสับปะรดกระป๋อง 2 แห่ง และโรงงานปูนซีเมนต์ 1 แห่ง และมีอุตสาหกรรมโรงแรมหลายแห่งอีกด้วย โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง รองลงมาคือ ท่ายาง บ้านลาด ชะอำ และบ้านแหลม ส่วนอำเภอหนองหญ้าปล้องและแก่งกระจานมีโรงงานตั้งอยู่น้อย เนื่องจากระบบสาธารณูปโภคยังขยายไม่เพียงพอ

การทำเหมืองแร่ พื้นที่ทำเหมืองแร่ของเพชรบุรี อยู่ในเขตอำเภอท่ายาง หนองหญ้าปล้องและเขาย้อย แร่ที่ค้นพบ และผลิตได้ ได้แก่ หินปูน ดินดาน ลิกไนท์ ฟลูออไรท์ ควอตซ์ ดีบุก และหินอ่อน

การพาณิชยกรรม ชาวจังหวัดเพชรุบรีมีการประกอบธุรกิจ การพาณิชยกรรม การค้าส่ง และค้าปลีก การรับจ้างทำของ รับเหมาก่อสร้าง ตลอดจนการให้บริการเกี่ยวกับสินค้าประเภทต่าง ๆ มีจุดศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ



หน้าหลัก

กลุ่มที่ 9 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์