ต้นมะขามป้อม

 

ชื่อทางพฤกษศาสตร์  :  Emblica  Officinalis
วงศ์  :  EUPHORBIACEAE
ชื่อที่เรียก  :  ทั่วๆ  ไปและภาคกลางเรียก  มะขามป้อม  ทางภาคตะวันออกเรียก  กำทอด
ลักษณะ  :    ต้นมะขามป้อม  เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง  ใบเล็กเป็นฝอยคล้าย
                   ใบสีเสียด  ลำต้นเกลี้ยง  ก้านใบยาว  ยอดปลายใบมีสีแดงเรื่อๆ  ออกดอกเล็กๆ
                    เป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก  สีเขียวเหลืองๆ  มีลูกกลมโตขนาดลูกในหมากดิบ
                    เขื่องๆ  มีสีเขียวอ่อนๆ  เนื้อภายในแบ่งออกเป็น  3  พู  รับประทานมีรสฝาด
                   เปรี้ยวขมหวานระคนกัน  รับประทานเป็นอาหารได้  เนื้อไม้เมื่อยังใหม่ๆ  อยู่เป็น
                   สีแดงคล้ำ  ถ้าทิ้งไว้นานๆ  จะเป็นสีแดงปนน้ำตาล  เสี้ยนสับสนเนื้อค่อนข้างแข็ง
                   และเหลือง  เลื่อยผ่าง่าย  ผึ่งแห้งง่าย  น้ำหนัก 1 ลูกบาศก์ฟุต  หนักประมาณ  50  ปอนด์
การเจริญเติบโต  :  ขึ้นประปรายเป็นหมู่ๆ  ตามป่าราบ  ป่าเบญจพรรณแล้ง  และป่าแดงทั่วๆ  ไป
                               ในประเทศไทย  เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายไม่เลือกดินฟ้าอากาศ  ขยายพันธุ์ได้ด้วยการใช้เมล็ด
ประโยชน์  :  รับประทานเป็นอาหารได้  ทำให้ชุ่มคอ  อมแก้ยากเมื่อเวลาเดินทางแดดร้อนๆ  ได้ดี  พอเรา
                    ดื่มน้ำตามเข้าไปด้วยจะเกิดเป็นรสหวาน  คล้ายได้ผสมกับของหวาน
                    ต้น  นำมาทำเป็นเสาเรือนเล็กๆ  ทำเครื่องมือเล็กๆ  น้อยๆ  ได้
                    เปลือกและใบของมัน  ให้สีน้ำตาลแกมเหลือง  ใช้ยอมผ้าได้
สรรพคุณ  :   ผลสด  รับประทานโดยนำมาจิ้มกับพริกเกลือ  แก้ไอได้ดี แก้ร้อนใน  แก้กระหายน้ำ
                    ผลนำมาปรุงรับประทานแก้ท้องเสีย  ขับปัสสาวะ  ทำเป็นยาหยอดตารักษาโรคเยื่อ
                    ตาอักเสบ  ผลอ่อน  ทำให้เนื้อหนาบริบูรณ์  ผลแก่  มีรสเปรี้ยวฝาดขม  แก้ไข้เจือลม
                    แก้เสมหะ  แก้ไข้เพื่อเสมหะ  ผลแก้ตากแห้ง  นำมาต้มกินแก้ไข้  แก้ไอ